ประเทศมากกว่าครี่งหนึ่งในกลุ่ม G-7 ใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ติดลบ หลังพบว่ารัฐบาล 4 ใน 7 ประเทศทั้งเยอรมนี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และอิตาลี ได้ออกบอนด์ที่ให้อัตราผลตอบแทนติดลบแลัว
สัญญาณที่เกิดขึ้นบ่งชี้ว่า แนวโน้มที่รัฐบาลในประเทศต่างๆ ทั่วโลกจะออกบอนด์โดยใช้อัตราดอกเบี้ยที่ให้ผลตอบแทนติดลบมีมากขึ้น หลังจากมีปัจจัยที่นำไปสู่ความเชื่อว่า เศรษฐกิจโลกจะเผชิญหน้ากับภาวะถดถอยในข่วงสิ้นปีนี้ หรือปีหน้า
ในปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่มีการนโยบายดอกเบี้ยติดลบจากการออกบอนด์รัฐบาลนั้นมีจำนวนรวมกันมากถึง 16 ล้านล้านดอลลาร์
จากรายงานของ FactSet ณ วันที่ 21 สิงหาคมที่ผานมา พบว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วขนาดใหญ่ 7 ประเทศทั้งเยอรมนี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และอิตาลี ทำการออกบอนด์รัฐบาลที่มีการซื้อขายในตลาดการเงินขณะนี้ ล้วนแต่ให้ผลตอบแทนในอัตราที่ติดลบ
โดยเฉพาะรัฐบาลเยอรมนีได้ทำการออกบอนด์ที่ให้ผลคอบแทนติดลบรวม 13 ประเภท ที่ประกอบด้วยบอนด์ระยะสั้นอายุ 6 เดือน บอนด์ประเภทระยะปานกลาง 1-10 ปี รวมทั้งบอนด์ระยะยาวอายุ 15 ปี และ 30 ปี
ขณะที่บอนด์รัฐบาลฝรั่งเศสและญี่ปุ่นที่ให้อัตราผลตอบแทนติดลบทั้งระยะสั่นอายุ 6 เดือน บอนด์รัฐบาลระยะปานกลาง 1-10 ปี และบอนด์ระยะยาวอายุ 15 ปี ยกเว้นบอนด์ระยะยาวอายุ 30 ปีที่ยังคงมีผลตอบแทนเป็นบวก นอกจากนี้ อิตาลีเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ออกบอนด์รัฐบาลที่ให้ผลตอบแทนเป็นลบสำหรับประเภทระยะสั้นอายุ 6 เดือน และระยะปานกลางอายุ 1-2 ปี
ทั้งนี้ สหรัฐและอังกฤษ 2 ประเทศที่เป็นสมาชิกในกลุ่ม G-7 แม้จะยังคงมีอัตราผลตอบแทนบอนด์รัฐบาลทุกประเภทเป็นบวก แต่ตลาดการเงินมีความเชื่อว่า แนวโน้มเศรษฐกิจทั้งอังกฤษและสหรัฐส่อเดินหน้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอนาคตอันใกล้นี้เช่นกัน เนื่องจากอังดฤษจะเผชิญหน้ากับภาวะเศรษฐกิจถดถอยหากต้องถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปโดยไร้ข้อตดลง Brexit ในเดือนตุลาคมนี้
ส่วนสหรัฐซึ่งประสบกับการที่เกืดภาวะที่เรียกว่า Inverted yield เนื่องจากอัตราผลตอบแทนบอนด์ (บอนด์ยีลด์) รัฐบาลอายุ 10 ปีเคลื่อนตัวลงแตะระดับ 1.52-1.55% ซึ่งต่ำกว่าบอนด์อายุ 2 ปียืนที่ 1.56% โดยเกิดขึ้นถึง 3 ครั้งนับตั้งวันที่ 15 สิงหาคมเป็นต้นมา และถึงแม้จะเกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่นักวิเคราะห์ของ Credit Suisse คาดว่า แนวโน้มจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยกับสหรัฐในช่วงเวลาที่มีค่าเฉลี่ย 22 เดือนหลังจากที่เกิด Inverted yield แล้ว
อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กลับชื่นชมต่อรัฐบาลเยอรมนี โดยทวีตข้อความโจมตีธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อีกครั้งหนึ่ง โดยถามหาว่าเฟดอยู่ที่ไหน เมื่อตลาดบอนด์เยอรมนีมีอัตราผลตอบแทนติดลบ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะรัฐบาลเยอรมนีไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยสำหรับบอนด์ และยังได้รับดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินที่มาจากประชาชน
ในขณะที่สหรัฐมีเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งกว่า และมีเครดิตดีกว่า กลับต้องจ่ายดอกเบี้ย รวมทั้งเงินดอลลาร์แข็งค่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ กำลังส่งผลกระทบต่อการส่งออก ทั้งที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ
นอกจากนี้ รายงานล่าสุดในวันนี้ เกี่ยวกับฐานะงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐจะมีการขาดดุลสูงกว่า 1 ล้านล้านดอลล์ในปีงบประมาณ 2020 และจะพุ่งขึ้นเป็น 1.7 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วง 10 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งภาวะขาดดุลงบประมาณที่พุ่งสูงขึ้นจะส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐที่ต้องการใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต้องแบกรับภาระจ่ายดอกเบี้ยจำนวนสูงมากอีกด้วย
ดังนั้น แรงกดดันต่างๆ จึงตกอยู่ที่การทำงานของเฟดจะหันมาใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายโดยลดอกเบี้ยใกล้ระดับ 0% และการอัดฉีดเงินผ่าน QE ตามความต้องการของฝ่ายการเมืองหรือไม่ โดยเฉพาะตลาดการเงินที่เฝ้าจับตาคำแถลงของเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดในคืนวันศุกร์นี้ จะต้องตกเป็นแพะรับบาปจากการที่ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทที่ดิ่งตัวลงอย่างรุนแรงช่วงสัปดาห์ก่อนหน้านี้
และยิ่งหากว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะต้องเผชิญกับภาวะถดถอยตามที่นักวิเคราะห์จากธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐหลายแห่งได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
ขณะเดียวกัน ตลาดก็รอดูประธานาธิบดีทรัมป์ที่เตรียมการพบปะเป็นการส่วนตัวกับผู้นำอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย ญี่ปุ่นและแคนาดา ในระหว่างการประชุมกลุ่ม G-7 ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์นี้ นับจากวันเสาร์จนถึงวันจันทร์ที่ฝรั่งเศส เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มเกิดภาวะถดถอย