ญี่ปุ่นถือครองบอนด์รัฐบาลสหรัฐมากที่สุดแตะระดับ 1.12 ล้านล้านดอลลาร์ ขึ้นเป็นอันดับ 1 แซงจีนซึ่งตกลงไปอยู่อันดับ 2 ที่ระดับ 1.11 ล้านล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังสหรัฐได้เปิดเผยฐานะรัฐบาลต่างชาติที่ทำการถือครองบอนด์รัฐบาลสหรัฐ ซึ่งหมายถึงประเทศที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดสิ้นสุด ณ เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ได้เปลี่ยนมือจากจีนกลายเป็นญี่ปุ่น โดยมีจำนวนที่เพิ่มขึ้น 2,000 ล้านดอลลาร์จากเมื่อเดือนก่อนหน้า อย่างมีนัยสำคัญนับจากเดือนตุลาคม 2016
เนื่องจาก ในช่วงหลายปีมานี้ จีนถือเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของรัฐบาลสหรัฐจากการเข้าถือครองบอนด์ที่เคยพุ่งทะลุสูงถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ และมีสัดส่วนเพิ่มสะสมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในช่วงที่เกิดปะทุของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน
รัฐบาลจีนได้ลดสัดส่วนการถือครองบอนด์รัฐบาลสหรัฐลงทุกเดือนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางปี 2018 เรื่อยมา ทำให้นักวิเคราะห์ในตลาดการเงินมองว่า การดำเนินการของจีนดังกล่าว อาจใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งเพื่อตอบโต้สหรัฐ
ถ้าสงครามการค้ายังคงตึงเครียดและรุนแรง รวมทั้งลุกลามเป็นสงครามค่าเงิน (Currency War) แล้ว ก็อาจจะเกิดภาวะการเทขายบอนด์รัฐบาลสหรัฐจำนวนมาก จนทำให้เงินดอลลาร์ดื่งตัวลงอย่างหนัก ซึ่งก็จะเป็นชนวนของสงครามการเงินในที่สุด
อบ่างไรก็ตาม ทางการจีนได้ออกมายืนยันเป็นระยะว่าจะไม่เทขายบอนด์รัฐบาลสหรัฐอย่างรุนแรง เพราะไม่ต้องการให้นำไปสู่วิกฤติการเงิน แต่บรรยากาศของตลาดการเงินโลกยังอ่อนยวบลง และมีความผันผวนรุนแรงมากขึ้น
ขณะที่ล่าสุด เมื่อวันจันทร์ที่ 5 สิงหาคมนั้นประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และกระทรวงการคลังสหรัฐ ได้กล่าวหาจีนปั่นเงินหยวนอ่อนค่า ซึ่งทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมด้านการค้ากับประเทศคู่ค้า โดยที่เงินหยวนร่วงลงหลุดแตะ 7 หยวนต่อดอลลาร์ ถือเป็นการอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 11 ปี
ด้วยข้อกล่าวหาดังกล่าว ทำให้เกิดการเทขายหุ้นทั่วโลกอย่างรุนแรง โดยถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะการตกต่ำของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทที่ร่วงถึง 5% ในช่วงสัปดาห์ก่อน ทำให้มีการโยกเงินจากตลาดหุ้นเข้าตลาดบอนด์ระยะยาว หลังจากที่สงครามการค้าและสงครามค่าเงินได้ส่งผลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง จนอาจจะกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจถอถอย
เพราะนอกจากแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงแล้ว ยังมีการยืนยันจากฝั่งยุโรปและเอเชีย เมื่อเยอรมนีที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรปเกิดการหดตัวของจีดีพีที่ติดลบ 0.1% ในไตรมาส 2 ขณะที่ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของจีนตกลงต่ำสุดในรอบ 17 ปีเมื่อเดือนกรกฎาคม ส่งสัญญาณให้ความกังวลต่อภาวะเซรษฐกิจโลกถดถอยมีมากขึ้น
จนทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกถล่มทลายจากแรงขายทิ้งหุ้นของนักลงทุนทั่วโลกที่ตื่นตระหนก จนดัชนัหุ้นดิ่งลงมากกว่า 3% ของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทใน 1 วันเมื่อวันพุธที่ 14 สิงหาคม รวมถึงตลาดหุ้นในยุโรปและเอเชียดิ่งลงมากกว่า 2% ในว้นเดียวเช่นกัน
ถึงแม้ว่า สหรัฐจะประกาศเลื่อนการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนที่เพิ่มขึ้น 10% เป็นมูลค่า 300,000 ล้านดอลลาร์ออกไปเป็นวันที่ 15 ธันวาคม จากที่กำหนดไว้เดิมในวันที่ 1 กันยายน แต่นักลงทุนยังคงตื่นกลัวกับการที่ผลตอบแทนบอนด์ระยะยาวของรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี เคลื่อนไหวตกต่ำลงอย่างรุนแรงแตะที่ 1.556% ซึ่งต่ำกว่าบอนด์ระยะสั้นอายุ 2 ปีที่อยู่ในระดับ 1.561%
ที่เรียกว่าเกิดภาวะ Inverted Yield ซึ่งทำให้ตลาดมองว่า ภาวะเศรษฐกิจถอถอยที่อาจจะเกิดขึ้นส่งผลในระยะยาว จนเกิดวิดฤตการณ์ทางการเงินเหมือนกับช่วงปี 2007 โดยเฉพาะบอนด์รัฐบาลสหรัฐอายุ 30 ปี ที่ดิ่งลงหลุดระดับ 2% แต่ระดับ 1,972% เป็นประวัติการณ์ครั้งแรก
โดยที่บอนด์ยิลด์รัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปียังคงอ่อนตัวแตะ 1.552% ในวันพฤหัสฯ ขณะที่บอนด์ยิลด์ 10 ปีของรัฐบาลเยอรมนีติดลบในอัตราเพิ่มขึ้นเป็น -0.712% จากที่เคย -0.516% และอายุ 30 ปีกลายเป็น -0.22% ล้วนบ่งชี้สัญญาณเศรษฐกิจโลกจะเกิดภาวะถดถอยมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังปีนี้