อีไอซี ปรับลดจีดีพีเหลือ 3.1% จากเดิม 3.3% จากผลกระทบสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน อาจกระทบการส่งออกไทย -1.6% ในปีนี้ นายยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า”อีไอซีปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 62 เหลือขยายตัว 3.1% จากประมาณการเดิมที่ 3.3% โดยมีสาเหตุหลักจากภาคการส่งออกสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาวะสงครามการค้าและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นสำคัญ” โดยเศรษฐกิจโลกในข่วงที่เหลือของปียังมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง จากภาวะการค้าและการลงทุนของโลกที่ชะลอลงจากความไม่แน่นอนด้านนโยบายการค้าโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะภาวะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่มีระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้นในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งสหรัฐฯ ได้ปรับเพิ่มอัตราภาษีจาก 10% เป็น 25% ในส่วนจองสินค้าจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่จีนก็มีมาตรการตอบโค้ด้วยการขึ้นภาษีสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในอัตรา 5-25% เข่นกัน และแม้ล่าสุดการประชุม G20 ช่วงปลายเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ทางจีนและสหรัฐฯ ได้พักรบจากการขึ้นภาษีลงชั่วคราว แต่ยังมีโอกาสที่ตะกลับมาปะทุและทวีความรุนแรงในช่วงข้างหน้า ทั้งนี้จากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้ธนาคารกลางหลายแห่ง เริ่มส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายขึ้น อย่างไรก็ดี คาดว่านโยบานผ่อนคลายดังกล่าวจะทำได้เพียงพยุงเศรษฐกิจเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ อีไอซีจึงมีการปรับลดประมานการอัตราขยายตัวของมูลค่าการส่งออกเป็นหดตัวที่ -1.6% จากเดิมที่คาดว่าตะขยายตัวได้ 0.6% รวมทั้งได้ปรับลดคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวเหลือ 40.1 ล้านคน หรือคิดเป็นการขยายตัว 4.8% และลดประมาณการค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวของนักท่องเที่ยวตามการชะลอของเศรษฐกิจในหลายประเทศและการแข็งค่าของเงินบาท ขณะที่การใช้จ่ายในประเทศได้ชะลอตามอุปสงค์ด้านต่างประเทศเช่นกัน การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวตามการหดตัวของการส่งออก การชะลอตัวของโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่จากมาจรการ LTV และความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ยังกังวลต่อประสิทธิภาพในการผลักดันและประสานนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลผสมใหม่ ทางด้านการบงทุนภาครัฐ อีไอซี คาดว่า การลงทุนด้านการก่อสร้างยังสามารถขยายตัวได้ 7% แต่จะถูกฉุดด้วยการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรที่ไตรมาสแรกหดตัวกว่า -11.7% แบบปีต่อปี นอกจากนี้ ยังมีควาทเสี่ยงเพิ่มเติมจากการจัดทำงบประมาณปี 63 ที่มีแนวโน้มล่าช้าไป 3 เดือน ซึ่งจะส่งผลกระทยต่อการเบิกจ่ายงบลงทุนในโครงการที่ยังไม่ก่อหนี้ผูกพันและโครงการใหม่ สำหรับการบริโภคภาคเอกชน แม้จะได้รับแรงสนับสนุนจากการจ้างงานที่ขยายตัวและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งในส่วนที่เกิดขึ้นแล้วในไตรมาส 2 และเพิ่มเติมหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ แต่มีแนวโน้มชะลอตัวจากปีก่อนที่ 3.9% ตามการชะลอตัวของการใช้จ่ายสินค้าคงทนโดยเฉพาะการซื้อรถยนต์ที่ขยายตัวสูงในช่วงก่อนหน้านี้ ภาระครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง รวมทั้งมีความเสี่ยงที่การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่หดตัวต่อเนื่อง ด้านนโยบายการเงิน อัไอซีคาดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะคงอยู่ที่ 1.75% ในปี 62แต่มีโอกาสที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) จะบดดอกเบี้ยลง 0.25% หากเศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าที่คาด ความพยายามของ กนง. ในการทยอยปรับดอกเบี้ยขึ้นให้กลับไปสู่จุดดุลยภาพ และเพื่อเพิ่มความสามารถในการดำเนินนโยบาย คงต้องชะลอตัวออกไปตามเศรษฐกิจที่ขะลอกว่าคาด และมีความเสี่ยงด้านต่ำมากขึ้น รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ระดับต่ำกว่าขอบล่างของเป้าหมายนโยบายการเงิน อย่างไรก็ดี จากการประชุมของ กนง. รอบล่าสุดประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะชะลอลงชั่วคราวในปีนี้ก่อนจะเร่งตัวขึ้นในปีหน้า ตลอดจนยังแสดงความกังวลต่อเสถียรภาพระบบการเงินภายใต้ภาวะดอกเบี้ยต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเด็นหนี้ครัวเรือนที่เร่งตัวขึ้น และการประเมินความเสี่ยงที่ต่ำเกินไป อีไอซี จึงประเมินในกรณีฐานว่า กนง. จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 1.75% ในข่วงครึ่งปีหลังของปีควบคู่กับการใช้มาตรการเฉพาะจุด เพื่อดูแลปัญหาเสถียรภาพระบบการเงิน อีไอซีประเมินว่าหากเศรษฐกิจไทยปี 62 ชะลอลงมากกว่าที่คาดและขยายตัวค่ำกว่า 3% กนง. มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายบง 0.25% ในช่วงปลายปีนี้เพื่อเพิ่มแรงกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังคาดว่าค่าเงินบาทจะยังได้รับแรงกดดันด้านแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง จากแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารหลักและธนาคารกลางในภูมิภาค ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยที่เกินดุลสูงสุด ตลอดจนเงินทุนที่เคลื่อนย้ายที่เข้ามาเป็นช่วงๆ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ที่ 30-31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงที่เหลือของปี ส่วนปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปจากทั้งภายในและภายนอก แม้ล่าสุดหลังการประชุม G20 สถานการณ์สงครามการค้าจะปรับตัวดีขึ้นบ้าง จากการที่สหรัฐฯประกาศว่าจะไม่ขึ้นภาษีเพิ่มเติมกับสินค้าจีน แต่ความเสี่ยงด้านสงครามการค้ายังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการประเมินในแง่ที่เลวร้ายที่สุดอาจทำให้การส่งออกไทยหดตัวมากถึง -3.1% และการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอาจชะลอลงมาอยู่ที่ 2.7% นอกจากนี้ปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่ต้องจับตาคือความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ เช่น Brexit และความขัดแย้งสหรัฐฯและอิหร่าน ที่อาจทำให้เกิดความผันผวนในตลาดเงินและตลาดโภคภัณฑ์ของโลกได้ ขณะที่ความเสี่ยงในประเทศมาตากความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยแม้ว่ารัฐสภาจะสามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้แล้ว แต่รัฐบาลใหม่ยังมีความท้าทายอีกมาก ทั้งในเรื่องเสถียรภาพและความสามารถในการผลักดันนโยบาย เนื่องจากเสี่ยงระหว่างรัฐบาลและฝ่ายค้านมีจำนวนใกล้เคียงกัน