ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังคงเดินหน้าอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดการเงินสหรัฐนับตั้งแต่ความตึงตัวฉับพลันครั้งล่าสุดในเดือนกันยายนจนถึงขณะนี้เป็นวงเงินมากกว่า 280,000 ล้านดอลลาร์ท่ามกลางความกังวลเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวหนักในปีหน้า
ตลาดกำลังจับตามองว่าสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ตลาดหุเวอลล์สตรีทมีการปรับตัวของผลตอบแทนพุ่งขึ้นเป็นราคาหุ้นเทียมโดยเฉพาะราคาหุ้นที่พุ่งขึ้นในไตรมาส 4 ปีนี้ของตลาดดัชนี S&P 500 ซึ่งเป็นตลาดหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐหลังจากที่ดัชนีหุ้น S&P 500 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปีสูงถึง 23% และทำนิวไฮที่ 3,093 เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
การปั๊มเม็ดเงินก้อนใหม่ในรอบนี้ส่งผลให้ฐานะงบดุลของเฟดกลับมาพุ่งขึ้นแตะระดับ 4.07 ล้านล้านดอลลาร์อีกครั้งนับจากเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ถึงแม้ว่าเฟดจะไม่ยอมรับว่าเม็ดเงินใหม่นั้นไม่ใช่ QE ซึ่งเป็นนโยบายผ่อนคลายการเงินเชิงปริมาณ (Quantitative Easing)ก็ตาม
นอกจากนี้เฟดยังกังวลต่อภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่ดิ่งตัวลงโดยสะท้อนจากยอดการขายรถ truck and trailer ที่ซบเซาลงอย่างหนักระหว่าง 50-70%
ขณะเดียวกันจากข้อมูลของเฟดยังพบว่าภาคการธนาคารมีความอ่อนแอลงเนื่องจาก 12 ธนาคารสฟรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีสถานะที่เป็น Global Banks ทำรายได้จากธุรกรรมทางการเงินลดลงในปีที่แล้วถึง 110,000 ล้านดอลลาร์คล้ายกับช่วงหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินสหรัฐปี 2008 นั้นรายได้ของธนาคารดังกล่าวร่วงลงถึง 149,000 ล้านดอลลาร์กลายเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ถูกจับตามองในขณะนี้ด้วย
ขณะที่บรรยากาศช็อปปิ้งออนไลน์ในวันคนโสดหรือ Singles’ Day ผ่าน e-commerce ของ Alibaba ในวันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายนพุ่งทะลุถึง 158,310 ล้านหยวนหรือ 22,630 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเพียง 9 ชั่่วโมงแรกเป็นการเพิ่มขึ้น 25% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนยังคงเป็นแรงกระตุ้นกำลังซื้อของ Alibaba อย่างได้ผล
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ทั่วโลกพากันกังวลถึงกำลังซื้อจะหดตัวตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงจากความเสี่ยงของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนที่เกิดความตึงเครียดตลอลดช่วง 18 เดือนมานี้
ในปีที่แล้ว e-commerce ของ Alibaba ในวัน 11.11 Singles’ Day วันเดียวสามารถทำยอดจำหน่ายได้ถึง 30,000 ล้านดอลลาร์เป็นการจำหน่ายในสหรัฐ 7,900 ล้านดอลลาร์และเป็นการยอดจำหน่ายที่มากกว่า 2 เท่าของ e-commerce ที่มียอดจำหน่ายรวมกันเพียง 14,200 ล้านดอลลาร์ที่เป็นช่วงเทศกาลการจับจ่ายในวัน Black Friday and Cyber Monday ของสหรัฐเสียอีก
ท่ามกลางการชะลอตัวของภาพรวมเศรษฐกิจและการค้าโลกมีความเสี่ยงขาลงมากขึ้นแต่กำลังซื้อของประชาชนทั่วโลกยังคงเป็นเครื่องจักรสำคัญที่ประเทศต่าง ๆพยายามจะกระตุ้นเพื่อช่วยประคับประคองเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้ต่อเนื่อง
แต่ดูเหมือนว่าล่าสุดกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ห่วงหนี้ทั่วโลกทะยานแตะ 188 ล้านล้านดอลลาร์หรือเท่ากับ 230% ของจีดีพีโลกโดยคริสตาลินา จอร์จีวา กรรมการผู้จัดการใหญ่ของ IMF ระบุว่าหนี้ท่วมโลกดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นจากปี 2016 ที่แตะระดับ 164 ล้านล้านดอลลาร์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ของภาคเอกชน
โดยเฉพาะหนี้ของภาครัฐในประเทศที่พัฒนาแล้วเพิ่มขึ้นในระดับสูงสุดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะที่หนี้ภาครัฐในประเทศตลาดเกิดใหม่อยู่ในระดับสูงสุดหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษปี 1980-1990
ทั้งนี้ IMF เตือนว่าหนี้ท่วใโลกทั้งที่เป็นหนี้ครัวเรือน หนี้ภาคธุรกิจและหนี้รัฐบาลทั่วโลกล้วนเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจจึงสมควรที่ธนาคารกลางทั่วโลกจะดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นโดยเฉพาะมาตรการปล่อยกู้ที่ต้องมีความโปร่งใส รวมทั้งเตรียมการปรับโครงสร้างหนี้ของทั้งภาคธนาคารและนอกภาคธนาคาร (Non Bank) เพื่อรับมือความเสี่ยงที่จะตามมา