สำรวจคนไทยช่วง กินเจ 63 ใช้จ่ายราว 11,000 บาทตลอดเทศกาล หากเทียบเป็นสักส่วนคนไทยเฉลี่ยใช้จ่ายเงินไปกับการทำบุญมากกว่าซื้ออาหารเจถึงกว่า 90% และคนใช้แอปฯเดลิเวอรี่สั่งอาหารมากขึ้น
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยแพร่ผลสำรวจ พฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจ ซึ่งตรงกับวันที่ 17 – 25 ตุลาคม 2563 โดย สำรวจระหว่างวันที่ 28 กันยายน – 2 ตุลาคม 2563 จำนวนทั้งสิ้น 1,393 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่าในปีนี้คนไทยเชื้อสายจีน ระบุว่าจะกินเจถึง 77% และอีก 23% ระบุว่าไม่กิน ส่วนคนไทยที่ไม่มีเชื้อสายจีน ระบุว่าจะกินเจเพียง 16.6%
โดยคำตอบของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า สาเหตุที่ไม่กินเจ ส่วนหนึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นในสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย , มองว่าอาหารเจแพง , รสชาติไม่อร่อย เป็นต้น ซึ่ง 1.9% มีการระบุเหตุผลด้วยว่า “กลัวอ้วน”
ทั้งนี้เมื่อถามผู้ที่กินเจ พบว่า 37.1% ระบุว่า กินเจเป็นบางมื้อเท่านั้น เฉลี่ยประมาณ 6 มื้อ ตลอดเทศกาล และอีก 62.9% ระบุว่าจะกินเจตลอด 9 วัน ของ เทศกาล
หัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจคือ สัดส่วนคนไทยที่กินเจและไม่ได้ไปซื้ออาหารด้วยตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ จากการที่มีบริการรับ-ส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ เช่น Grab , Line Man และ Food Panda ซึ่งคิดเป็น 23.6% ของผู้กินเจและตอบแบบสอบถามทั้งหมด
เมื่อถามถึงสาเหตุว่า อะไรเป็นปัจจัยที่จะทำให้วัตถุดิบ/อาหารเจในปีนี้มีราคาที่สูงขึ้น 45.2% เชื่อว่าเป็นเพราะค่าครองชีพที่สูงขึ้น , 25.5% เชื่อว่าเกิดจากพ่อค้า-แม่ค้า ปรับราคาขึ้น และ 18.9% เชื่อว่าเกิดจากโควิด-19 เลยทำให้ราคาแพง
จากผลสำรวจดังกล่าว “ค่าใช้จ่ายโดยรวมในช่วงเทศกาลกินเจ” ของคนไทย พบว่า เฉลี่ยตลอดเทศกาลคนไทยจะใช้จ่ายไปกับค่าอาหารเจ คนละ 1,016.19 บาท , ทำบุญ 2,863.52 บาท , ค่าเดินทางไปทำบุญต่างจังหวัด 3,762.71 บาท และ ค่าที่พักขณะไปทำบุญ 4,722.63 บาท รวมและปี 2563 คนไทยจะใช้จ่ายเงินในเทศกาลกินเจ ราว 11,469.34 บาท
เมื่อถามต่อว่า ผู้ที่เดินทางไปทำบุญที่ใดมากที่สุด พบว่า 33.9% จะเดินทางไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในจังหวัดอุดรธานี หนองคาย ขอนแก่น , 23.2% จะเดินทางไป ภาคเหนือ ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์
พิษณุโลก , 19.6% จะเดินทางไป ภาคใต้ ในจังหวัดชลบุรี ระยอง สุพรรณบุรี อีก 7.2% จะเดินทางไปทำบุญในจังหวัดปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร