ส.อ.ท. เผย 3 อันดับแรกของกิจการที่ใช้มาตรา 75 ได้แก่ ภาคการผลิต, โรงแรมและภัตตาคาร, บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าและบริการทางธุรกิจ ส่งผลให้ลูกจ้าง ว่างงาน แล้วกว่า 3.3 ล้านรายในช่วงครึ่งปีแรก
นายสุชาติ จันทรนาคราช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานคณะอนุกรรมการมาตรการแรงงาน COVID-19 กล่าวว่า สถานการณ์การว่างงานและเลิกจ้างปัจจุบันมีแรงงานที่ถูกพักจ้างจากสถานประกอบการที่ใช้มาตรา 75 หยุดกิจการชั่วคราว จำนวน 4,458 แห่ง ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ ต.ค. 2562 – ก.ค. 2563 ส่งผลกระทบต่อลูกค้า 896,330 คน และลูกจ้างที่ว่างงานจากกรณีลาออก เลิกจ้าง จากการปิดกิจการ 332,060 คน รวมถึงผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 ที่ใช้สิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน 62% จำนวน 1,369,589 คำร้อง ซึ่งคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นอีกในช่วงเดือน ส.ค. – ต.ค. 2563 หากมีการขยายมาตรการกว่าอีก 800,000 คน รวมแล้วจะมีลูกจ้างในระบบที่ได้รับผลกระทบ ว่างงาน แล้วกว่า 3,397,979 คน
ทั้งนี้ 3 อันดับแรกของกิจการที่ใช้มาตรา 75 ได้แก่ ภาคการผลิต, โรงแรมและภัตตาคาร, บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าและบริการทางธุรกิจ ตามลำดับ
ขณะที่ ภาคเอกชนขอเสนอมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือเยียวยา 7 ข้อได้แก่
1.ลดเงินสบทบประกันสังคมทั้งฝั่งนาย้างและลูกจ้างเหลือ 1% จนถึงวีนที่ 31 ธ.ค. 2563
2.เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยจาก 90 วัน เป็น 150 วัน พร้อมทั้งขยายระยะเวลาขอรับสิทธิประโยชน์ จากเดิมที่จะสิ้นสุด 31 ส.ค. 2563 เป็น 31 ธ.ค. 2563
3.เร่งพิจารณาอนุมัติให้สามารถปรับการจ้างงานเป็นรายชั่วโมงได้ โดยคิดค่าจ้างในอัตรา 40-41 บาท/ชั่วโมง ระยะเวลาจ้างขั้นต่ำ 4-8 ชม./วัน
4.ขอให้ภาครัฐเร่งพิจารณาการรับรองอบรมออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการจัดอบรม ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545
5.ขอปรับอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 เหลือ 0.01%
6.โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ 0.1% ต่อปี
7.จัดสรรกองทุนเยียวยาผู้ประกอบการเพื่อรักษาเสถียรภาพการจ้าง โดยให้เงินเยียวยาแก่ลูกจ้างผ่านนายจ้าง
นอกจากนี้ ขอให้สำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาบรรจุโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนประสิทธิภาพแรงงาน Upskill/Reskill ให้อยู่ภายใต้กรอบบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ (งบ 400,000 ล้านบาท) เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุค New Normal
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ส.อ.ท. ชี้ดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรม 3 เดือนหน้า ยังกังวลโควิดระบาดระลอก 2