ความกังวลต่อสงครามการค้า รวมถึงภาวะเศรษฐกิจสหรัฐและโลกถดถอยยังคงมีอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่อัตราผลตอบแทนบอนด์รัฐบาลสหรัฐระยะยาวดิ่งลงลึก และอยู่ต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนบอนด์ระยะสั้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันอังคาร ซึ่งถือเป็นภาวะผิดปกติของตลาดการเงิน
โดยเฉพาะเมื่อบอนด์รัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ร่วงลงสู่ระดับ 1.447% ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2007 ขณะที่อัตราผลตอบแทนบอนด์ระยะสั้นอายุ 2 ปีทรงตัวที่ 1.522% ได้ฉุดให้อัตราผลตอบแทนบอนด์อายุ 30 ปี ร่วงลงหลุดระดับ 2% หลังจากที่เคยเกิดขึ้นเมื่อจันทร์ที่ 19 สิงหาคม จนส่งผลให้ตลาดการเงินเกิดความปั่นป่วนทั่วโลก โดยเฉพาะตลาดหุ้นที่ถล่มทลายจากแรงเทขายของนักลงทุน
ความตื่นกลัวต่อความปั่นป่วนในตลาดบอนด์รัฐบาลสหรัฐเกิดขึ้นระลอกใหม่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ส่งผลให้ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปรับตัวลดลง ทั้ง 3 ตลาดหลัก ถึงแม้ว่าในช่วงเริ่มต้นของตลาดจะถูกปลุกด้วยกระแสข่าวที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ระบุว่า รัฐบาลจีนได้โทรหา เพื่อให้เปิดการเจรจาข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐและจีนรอบใหม่
[restrict]แต่โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนได้ออกมาปฏิเสธข่าวถึง 2 ครั้งในวันจันทร์และวันอังคาร พร้อมกับยืนยันว่า รัฐบาลจีนไม่ได้เป็นฝ่ายเริ่มตนเพื่อให้เกิดการเจรจาข้อตกลงการค้าร อย่างที่ผู้นำสหรัฐได้ออกมาให้ข่าว รวมทั้งเป็นที่น่าเสียใจที่สหรัฐยังคงเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นต่อสินค้านำเข้าจากจีน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทั้ง 2 ฝ่าย
สำหรับความผันผวนของอัตราผลตอบแทนบอนด์รัฐบาลสหรัฐ ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดยังคงเกิดภาวะที่เรียกว่า Inverted Yield ที่ดิ่งตัวลงลึกอีก เมื่ออัตราผลตอบแทนบอนด์รัฐบาลสหรัฐ อายุ 10 ปี มีการเคลื่อนไหวล่าสุดในวันนี้อยู่ที่ระดับ 1.486% หลังจากดึงลงลึกสุดที่ระดับ 1.443% เมื่อวันอังคาร ขณะที่อัตราผลตอบแทนบอนด์ระยะสั้นของรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปียืนที่ระดับ 1.522%
การทิ้งตัวของอัตราผลตอบแทนบอนด์อายุ 10 ปีรอบนี้ได้ฉุดให้อัตราผลตอบแทนบอนด์รัฐบาลสหรัฐอายุ 30 ปี ร่วงลงต่ำกว่า 2% มาแตะที่ 1.982% และยังส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ปิดในวันอังคารที่ 25,777 ร่วงลง 120.93 จุด หรือ 0.47% ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 2,869 ลดลง 0.32% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,826 ลดลง 0.34%
ทิศทางของ Inverted yield ดังกล่าวเคยเกิดขึ้นในช่วงปี 2005-2007 นำมาสู่วิกฤติการเงินสหรัฐ และเศรษฐกิจถดถอยในช่วงเวลาต่อมา ขณะที่ Moody’s Investor Service ได้คาดการณ์ว่า สถาบันการเงินเพื่อการลงทุนทั่วโลกหรือ Global Investment Banks จะตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าวช่วง 12-18 เดือนข้างหน้านี้ ตัวอย่างเช่น Goldman Sachs, JP Morgan, HSBC และ Deutsche Bank
จากผลการศึกษาของ Moody’s ยังชี้ว่า เศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจะสวนทางกับทิศทางของหนี้ภาคธุรกิจที่มีแนวโนมพุ่งสูงขึ้น ทำให้ตันทุนทางการเงินของบรรดา Investment banks พุ่งขึ้น จนกดดันให้มีความเสี่ยงสูงขึ้นด้วย พร้อมกับได้ลดอันดับแนวโน้มของ Global Investment Banks จากระดับบวก หรือ “Positive” สู่เสถียรภาพ หรือ “Stable”
นอกเหนือจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและทั่วโลกที่อาจจะเข้่าสู่ภาวะถดถอย รวมทั้งความตึงเครียดของปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โดยเฉพาะเฟตุการณ์ชุมนุมประท้วงในฮ่องกง อาจจะส้งให้เกิการโยกย้ายฐานการลงทุนออกจากจีนมากขึ้น
ทั้งนี้ CNBC รายงานอ้างความเห็นของอเล็กซานเดอร์ เฟลด์แมน ประธานและซีอีโอสภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียน กล่าวว่า เวียดนามมักจะถูกระบุว่าเป็นประเทศที่ไดเรับประโยชน์มากที่สุดจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน จากการที่บริษัทสหรัฐอาจตัดสินใจโยกย้านฐานการผลิตออกจากจีน เพื่อหลีกเลี่ยงกำแพงภาษีจากปัญหาสงครามการค้า
แต่เนื่องจากเวียดนามมีตลาดแรงงานที่ตึงตัว ทำให้ธุรกิจสหรัฐกำลังมองหาทางเคลื่อนย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงไทยด้วย โดยอย่างน้อยที่สุด ธุรกิจแบรนด์เนม 3 รายต้องการย้ายฐานการผลิตเข้าสู่ไทย ถึงแม้ว่า ประธานาธิบดีทรัมป์ออกคำสั่งให้บริษัทสหรัฐย้ายฐานการผลิตออกจากจีนในทันที และกลับลงทุนในสหรัฐตามนโยบาย America First ก็ตาม
ตัวอย่างเช่น บริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ฮาร์เลย์ เดวิดสัน ได้เริ่มย้ายฐานการผลิตเข้าสู่ไทยแล้ว โดนเปิดดำเนอนการของโรงงานฐานการผลิตในไทยเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2019 โดยมียอดขายในมาเลเซียเพิ่มขึ้น 181% โดยที่รถจักรยานยนต์ดังกล่าวผลิตจากโรงงานในไทย
นอกจากนี้ การขยายฐานการผลิตของฮาร์เลย์ เดวิดสัน ยังสามารถมีต้นทุนลดลง เนื่องจากไม่ต้องแบกรับกำแพงภาษีจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน จะส่งผลให้ยอดขายในปีนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 7.6%[/restrict]