HomeCOVID-19เฟดยังเดินหน้าทุ่มเงินสู้กับไวรัส-โควิด ประคองเศรษฐกิจสหรัฐ

เฟดยังเดินหน้าทุ่มเงินสู้กับไวรัส-โควิด ประคองเศรษฐกิจสหรัฐ

งบดุล Fed พุ่งทะลุ 5.3 ล้านล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรก เพิ่มขี้นจากเดิม 650,000 ล้านดอลลาร์ หลังจากที่ได้เข้ามาแทรกแซงตลาดการเงินสูงถึง 1.2 ล้านล้ายดอลลาร์เพียงแค่ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา หรือคืดเป็นสัดส่วน 5.6% ของ GDP ท่ามกลางการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาในสหรัฐพุ่งขึ้นเป็นอันดับ 1 ของโลกมากกว่า 85,000 ราย

จากจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกที่มากถึง 531,708 ราย และมีผู้เสียชีวิต 24,,053 รายในจำนวน 175 ประเทศ  

ขณะที่ Fed กลายเป็น Big Player ทุ่มเงินปั๊ม QE4-QE5 จนถึง QE infinity แต่ Fed ปฏิเสธการใช้นโยบายอัดฉีดเงินระยะสั้นที่เริ่มมาตั้งแต่กลางเดือนกันยายน 2019 ว่าเป็นการดำเนินการแทรกแซงตลาดเงินแบบที่เรียกว่า Repo Operation ส่วนตลาดเชื่อว่าเป็น QE4 เนื่องจาก Fed มีการใช้เงินก้อนโต ซึ่งทำให้ภาระในงบดุล Fed เพิ่มขึ้นเป็น 4.1 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา

- Advertisement -

ก่อนทะยานแตะระดับ 4.6 ล้านล้านดอลลาร์ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จนกระทั่ง Fed ออกมายอมรับเมื่อกลางเดือนมีนาคม ด้วยการประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 1.0% สู่ระดับ 0.0-0.25% พร้อมกับเตรียมวงเงิน QE5 อีก 750,000 ล้านดอลลาร์ซื้อบอนด์รัฐบาลสหรัฐและตราสารการเงินที่เรยกว่า MBS  (Mortgage-Backed Securities) 

ต่อมา Fed ออกมายืนยันจะใช้ QE infinity ที่ไม่จำกัดวงเงินในการเข้าซื้อบอนด์รัฐบาลสหรัฐและ MBS โดยที่มีรายงานว่า ในช่วงวันที่ 19-25 มีนาคมนั้น Fed ได้เข้าซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวรวมกันถึง 587,000 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับ 2.7% ของ GDP ที่มีขนาดเท่ากับ 21.4 ล้านล้านดอลลาร์ โดย Fed ได้เข้าซื้อบอนด์รัฐบาลสหรัฐ 375,000 ล้านดอลลาร์ และเป็นการซื้อ MBS วงเงิน 212,000 ล้านดอลลาร์

ส่งผลให้ฐานะงบดุลของ Fed มีภาระพุ่งทะลุหลัก 5.3 ล้านล้านดอลลาร์ ทำให้มีการประเมินกันว่า หาก Fed ยังคงมีภาระการแทรกแซงตลาดหุ้นและตลาดเงินด้วยการเพิ่มสภาพคล่องในระดับ 625,000 ล้านดอลลาร์ต่อสัปดาห์แล้ว 

งบดุล Fed อาจจะพุ่งทะยานถึง 10 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเฉียด 50% ของ GDP สหรัฐในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการที่เศรษฐกิจสหรัฐต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในที่สุด แต่ความเสี่ยงของ Fed จะยังคงเผชิญหน้ากับความผันผวนตลาดการเงินสหรัฐอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน

โดยที่เจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) กล่าวยืนยันว่า Fed กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อชาวอเมริกัน ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เคยปรากฎให้เห็นมาก่อน เพื่อสนับสนุนให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่ง เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้ไม่ใช่ช่วงขาลงของเศรษฐกิจแบบที่เคยเห็นกัน

เนื่องจากหากสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาได้เร็วเท่าไหร่ ชาวอเมริกันก็จะมีความเชื่อมั่น ทำให้ภาคธุรกิจกลับมาเปิดอีกครั้ง โดยที่แรงงานสามารถกลับไปทำงาน และผู้บริโภคมีความเกี่ยวกับนการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐได้เปิดเผยภาวะการจ้างงานล่าสุดมีคนตกงานมากถึง 3.3 ล้านคน

ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกจะหดตัวลงในปี 2020 ก่อนที่จะฟื้นตัวในปี 2021 สาเหตุจากภาคธุรกิจหยุดการผลืตชั่วคราว  รวมถึงการสั่งห้ามการเดินทางทั่วโลกของรัฐบาลในแต่ละประเทศ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

โดยที่คริสตาลินา จอร์จีวา ผู้อำนวยการ IMF ได้กล่าวกับผู้นำกลุ่มประเทศ G-20 ผ่านการประชุมทางไกลเมื่อวันพฤหัสฯ พร้อมกับเรียกร้องให้กลุ่ม G-20 ออกมาตรการสนับสนุนด้านการคลังอย่างมีเป้าหมายที่เจาะจง เพื่อช่วยเหลือภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบให้สามารถกลับมาเดินเครื่องโดยเร็ว

ในการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาอาจต้องใช้เวลานานหลายปีจึงจะสามารถเอาชนะผลกระทบจากการล้มละลายของภาคธุรกิจ รวมถึงการเลิกจ้างงานทั่วโลก โดยเฉพาะในช่วงที่กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ยากลำบากจากวิกฤติด้านสาธารณสุข การชะงักงันของเศรษฐกิจโลก และการเคลื่อนย้ายเงินทุนไหลเข้าสู่สินทรัพย์ที่ปลอดภัย

ทั้งนี้ ผลสรุปของผู้นำกลุ่มประเทศ G-20 ที่ซาอุดิอารเบียทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพนั้นได้ตกลงกันว่า จะร่วมมือกันในการระดมเงินทุน 5 ล้านล้านดอลลาร์เพื่อสกัดกั้นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ยังคงมีแนวโน้มยืดเยื้ออยู่ในขณะนี้

Business Today
Business Todayhttps://businesstoday.co
Supporting Thailand's business communities./ FB Page: Business Today Thai/ Social: Business Today Thai (สำหรับ Twitter, YouTube, Telegram)/ LINE: @Business today/ เว็บที่เกี่ยวข้อง: Thailand Today: www.thailandtoday.co/ FB: Thailantoday.co (English)/ Thailand Today News: www.thailandtoday.news/ FB: Thailandtoday.news (Mandarin Chinese)

Latest

ติดตามข่าวสารอัพเดททันใจจาก Businesstoday ได้โดยกรอกอีเมลด้านล่าง

Related News