HomeEditor's Pickอะไรจะเกิดขึ้น เมื่อทั่วโลกเตรียมกระตุ้นเศรษฐกิจ อัดฉีดเงินเข้าระบบ

อะไรจะเกิดขึ้น เมื่อทั่วโลกเตรียมกระตุ้นเศรษฐกิจ อัดฉีดเงินเข้าระบบ

รัฐบาลในหลายประเทศเตรียมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ ด้วยการใช้เงินจำนวนมหาศาล เพื่อรับมือกับผลกระทบจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง จนอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ท่ามกลางธนาคารกลางต่างๆ ต้องผ่อนคลายนโยบายการเงินด้วยการลดดอกเบี้ยลง และยังคงถูกกดดันให้อัดฉีดสภาพคล่องออกสู่ตลาดการเงินผ่านการใช้นโยบาย QE หรือ Quantitative Easing เหมือนกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในปี 2007

เริ่มจากรัฐบาลเยอรมกำหนดวงเงิน 50,000 ล้านยูโร สำหรับกระตุ้น GDP ที่ส่งสัญญาณเข้าสู่ภาวะถดถอยช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เนื่องจาก GDP ที่ขยายตัวติดลบ 0.1%  ไปแล้วนั้น หากยังประสบกับอัตราการเติบโตที่ติดลบต่อเนื่องในไตรมาสที่ 3 ก็จะเป็นสัญญาณที่บ่งชี้การเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างภาวร

- Advertisement -

[restrict]ขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เตรียมการปรับลดภาษีเงินได้ให้กับลูกจ้างรายเดือน รวมถึงภาษีอีกหลายประเภท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่าผู้นำสหรัฐได้ออกมายืนยันว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะไม่ตกอยู่ในภาวะถดถอยก็ตาม แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญกลับกังวลถึงเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปลายปีนี้และปีหน้า

นอกจากนี้ ประธานาธิบดีทรัมป์ยังเรียกร้องให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทำการลดดอกเบี้ยลงอีก 1% พร้อมกับการใช้ QE เพื่อเป็นการผ่อนคลายทางการเงินที่ทำให้นักลงทุนในตลาดหุ้นวอลล์สตรีทเกิดความเชื่อนมั่นมากขึ้น

ส่วนธนาคารกลางจีน ก็เตรียมมาตรการทางการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นการประกาศใช้ดอกเบี้ยเงินกู้ของลูกค้าชั้นดี (Lending Prime Rate) หรือ 1-year LPR ลงที่ 4.25% จากระดับ 4.31% และ 5-year LPR ลดลงสู่ระดับ 4.85%.

ทั้งนี้ มีรายงานว่า ทางการจีนกำลังจับตาและตรวจสอบการซื้อขายที่ผิดปกติของบรรดาธนาคารและบริษัทโบรกเกอร์ที่เชื่อว่า ทำการปั่นการซื้อขายตราสารหนี้เพิ่มขึ้นจำนวนมาก เพื่อพยายามที่จะให้มีธุรกรรมทางการเงินขนาดใหญ่ที่เรียกว่า X-Bond

หลังจากที่พบว่า ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ของ China Development Bank ได้พุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม แต่ต่อมาปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ดังกล่าวได้ร่วงลง 1 ใน 3

สำหรับการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนกันยายน คาดว่าจะมีการออกมาตรการแพ็กเกจใหญ่มากระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในยุโรป ทั้งการลดดอกเบี้ยที่มีอัตราการติดลบมากขึ้น รวมถึงการนำเอานโยบายอัดฉีดเม็ดเงิน QE เพิ่มขึ้นกลับมาใช้อีก

การปะชุมดังกล่าวจะเป็นการประชุมครั้งแรกของคริสติน ลาร์การ์ด ที่จะเข้ารับตำแหน่งประธาน ECB ต่อจากมาริโอ ดรากี ที่กำลังจะครบเทอมในเดือนตุลาคมนี้

สหภาพยุโรป (EU) นอกจากจะต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องแล้ว และอาจเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยด้วยนั้น ยังต้องเผชิญหน้ากับสงครามการค้ากับสหรัฐ โดยล่าสุดประธานาธิบดีทรัมป์มั่นใจว่า สหรัฐจะสามารถบรรลุการเจรจาเพื่อเรียกเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์จาก (EU) ได้อย่างแน่นอน

โดยที่ความหมายของผู้นำสหรัฐก็คือ ถึงเวลาที่ EU ต้องลดภาษีให้กับสหรัฐบ้าง เนื่องจากความได้เปรียบทางการค้า โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา

นักลงทุนทั่วโลกยังคงจับตานโยบายกระตุ้นในอีกหลายประเทศ ทั้งสิงคโปร์ ญี่ปุ่น อังกฤษ กำลังเตรียมมาตรการสำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอังกฤษที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย หากต้องถอนตัวจากสหภาพยุโรปโดยไม่มีข้อตกลง Brexit ส่วนญี่ปุ่นซึ่งมีอัตราผลตอบแทนบอนด์รัฐบาลติดลบที่ 0.242%

รวมทั้งตลาดยังได้จับตามองไปยังนโยบายของอีกหลายประเทศในยุโรปที่มีความเสี่ยงจากสัญญาณอัตราผลตอบแทนบอนด์รัฐบาล (บอนด์ยีลด์) ที่ติดลบมากขึ้น ทั้งรัฐบาลฝรั่งเศสที่มีบอนด์ยีลด์ -0.3865% เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ สวีเดนมีบอนด์ยีลด์ และเยอรมนีที่มีบอนด์ยีลด์ติดลบมากที่สุดถึง 0.667%

ทางด้านรัฐบาลไทยเตรียมแผนใช้เงิน 316,000 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังปีนี้ เพื่อพยุง GDP ทั้งปีให้มีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 3% โดยเป็นการปรับลดของกระทรวงการคลังจากคาดการณ์ไว้เดิมที่ 3.8% หลังจากที่การส่งออกตกต่ำลงในปีนี้มาติดลบที่ระดับ -0.9%

ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็เตรียมปรับลดคาดการณ์จีดีพีปีนี้ในเดือนกันยายน จากระดับที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ 4.2% เทียบกับจีดีพีที่มีการขยายตัวในปีที่แล้วที่ระดับ 4.1% [/restrict]

Business Today
Business Todayhttps://businesstoday.co
Supporting Thailand's business communities./ FB Page: Business Today Thai/ Social: Business Today Thai (สำหรับ Twitter, YouTube, Telegram)/ LINE: @Business today/ เว็บที่เกี่ยวข้อง: Thailand Today: www.thailandtoday.co/ FB: Thailantoday.co (English)/ Thailand Today News: www.thailandtoday.news/ FB: Thailandtoday.news (Mandarin Chinese)

Latest

ติดตามข่าวสารอัพเดททันใจจาก Businesstoday ได้โดยกรอกอีเมลด้านล่าง

Related News