มองย้อนนโยบายผ่อนคลายทางการเงินและการเข้าแทรกแซงของ 4 ธนาคารกลางทรงอิทธิพลโลก เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา อาจจะไม่ทรงพลังเพียงพอที่จะสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน ท่ามกลางความผันผวนของตลาดหุ้นและตลาดเงินที่ยังคงรุนแรง
เริ่มจากล่าสุด ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีมติเอกฉันท์ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.15% จากระดับ 0.25% สู่ระดับ 0.10% ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หลังจากมีการประชุมฉุกเฉินเมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมา
ถือเป็นการเซอร์ไพรส์ตลาด ทั้งที่ก่อนหน้านี้ BOE เพิ่งประกาศลดดอกเบี้ยฉุกเฉินลงถึง 0.50% จากเดิมที่ระดับ 0.75% สู่ระดับ 0.25% เมื่อวันที่ 11 มีนาคม
ขณะเดียวกัน BOE ยังจะเพิ่มวงเงินในการซื้อบอนด์ ตราสารการเงิน และหลักทรพย์ตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) อีก 200,000 ล้านปอนด์ สู่ระดับ 645,000 ล้านปอนด์ หรือเท่ากับ 752,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมาตรการดังกล่าว BOE ได้เคยนำมาใช้ในช่วงที่เกิดวิกฤติการเงินสหรัฐปี 2008
ขณะที่ธนาคารกางสหรัฐ (เฟด) ยึดนโยบายอัดฉีดเม็ดเงิน QE 5 จำนวนมหาศาลถึง 5 ล้านล้านดอลลาร์ ผ่านหน้าต่างการเงินที่เรียกว่า Repo Facility ในขณะนี้ หลังจากทุ่มเม็ดเงิน QE 5 เข้าแทรกแซงตลาดการเงินสหรัฐด้วยการ ซื้อบอนด์รัฐบาลสหรัฐ ที่มีแนวโน้มของอัตราผลคอบแทนบอนด์ที่ดิ่งลงต่ำอย้่งต่อเนื่อง จนทำให้เสี่ยงต่อการถูกมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภ่วะภดถอยในปีนี้และปีหน้า
เนื่องจากที่ผลตอบแทนบอนด์รัฐบาลสหรัฐระยะ 10 ปีดิ่งลงเกือบหลุดระดับ 0.5% ในชั่วโมงซื้อขายเมื่อตันสัปดาห์นี้ ในทิศทางเดียวกับผลตอบแทนบอนด์ระยะยาว 30 ปี ที่ดิ่งลงแตะ 1.72%
พร้อมๆ กับการประกาศลดดอกเบี้ยฉุกเฉิน 2 ครั้งซ้อนกันถึง 1.50% จนดอกเบี้ยนโยบายหรือ Fed Find Rate ดิ่งลงใกล้ระดับ 0% โดยอบู้ระหว่าง 0.0-0.25%
เฟดยังร่วมมือกับธนาคารกลางหลายประเทศเพื่อเพิ่มสภาพคล่องและแก้ปัญหาภาวะขาดแคลนดอลลาร์ในตลาดเงินทั่วโลก ผ่านทางการทำข้อตกลงสวอปกับธนาคารกลาง อย่างเช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บราซิล เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ สวืตเซอร์แลนด์ แคนาดา และเม็กซิโก
นอกเหนือจากสวอปไลน์ที่มีกับ ECB BOE และ BOJ โดยข้อตกลงสวอปนี้จะมีอายุ 6 เดือน ทั้งนี้ ข้อตกลงสวอปที่เฟดได้กำหนดไว้กับธนาคารกลางแห่งละ 60,000 ล้านล้านดอลลาร์ ยกเว้นข้อตกลงกับธนาคารกลางเดนมาร์ก นอร์เวย์ และนิวซีแลนด์ ที่มีวงเงินประเทศละ 30,000 ล้านดอลลาร์
ส่วน ECB ประกาศโครงการ QE ใหม่ในการซื้อหลักทรัพย์ หุ้นกู้รวมถึงตราสารเชิงการพาณิชย์ ของทั้งภาคและธนาคาร รวมถึงบอนด์ของรัฐบาลฝยกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ในปี 2020 รวมเป็นวงเงิน 750,000 ล้านยูโร หรือราว 820,000 ล้านดอลลาร์
ภายใต้นโยบายซื้อสินทรัพย์ที่ชื่อว่า โครงการซื้อสินทรัพย์ฉุกเฉินเพื่อรับมือกับโรคระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนา และมีเป้าหมายในการทำให้ดอกเบี้ยปรับตัวลดลง เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซน
โดยรับประกันว่าธนาคารพาณิชย์จะสามารถปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับภาคธุรกิจและผู้บริโภค นอกจากนี้ ทางด้านสภาบริหารของ ECB ได้ระบุในแถลงการณ์ถึงการเพิ่มขนาดและขยายเวลาการซื้อสินทรัพย์ดังกล่าว หากมีความจำเป็น
สำหรับ BOJ ซึ่งเป็นอีก 1 ธนาคารกลางใหญ่ที่เน้นดำเนินนโยบายผ่อนคลายการเงินเชิงปริมาณ ล่าสุดมีรายงานว่า ได้เข้าแทรกแซงตลาดหุ้นด้วยการเข้าซื้อกองทุน ETF (Exchange Traded Fund)
เพื่อเพิ่มสภพคล่องและพยุงตลาดหุ้นญี่ปุ่นในช่วงที่ตลาดหุ้นเกิดความผันผวนและดิ่งตัวลงอย่างรุนแงนั้น เป็นจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าตัวจากจำนวน 6 ล้านล้านเยน เป็น 12 ล้านเยน ท่ามกลางการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาในขณะนี้
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงกังวลต่อความเสี่ยงของเศรษฐกิจที่ตกต่ำลง พร้อมกับความผันผวนรุนแรงในตลาดหุ้นและตลาดเงินทั่วโลก จนมีการแทขายสินทรัพย์ทางการเงินทั่วโลก รวมทั้งสัญญาทองคำและน้ำมัน เพื่อเพิ่มการถือเงินสดในสกุลเงินดอลลาร์จนขาดสภาพคล่องของเงินดอลลาร์อย่างรุนแรง
โดยส่งผลตรงกันข้ามที่ทำให้คลาดหุ้นเกิดการปั่นป่วนอย่างหนัก เพราะนักลงทุนถูก เรียก Margin Call ในการซื้อขายหุ้นทั่วโลกเป็นจำนวนมากถึง 12 ล้านล้านดอลลาร์ นำมาซึ่งการดิ่งตัวของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทที่ดิ่งลงจากการเทขายอย่างหนัก โดยเฉพาะดาวโจนส์ที่ดิ่งลงอย่างรุแรงเกือบ 3,000 จุดเมื่อค่ำคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา
ในขณะที่อีกด้านของธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปี ที่ระดับ 4.05% และคงอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปี ที่ระดับ 4.75% ในวันศุกร์
สวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ และยังตรงกันข้ามกับทิศทางธนาคารกลางทั่วโลกที่ประกาศลดดอกเบี้ยฉุกเฉินเพื่อรับมือกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา