HomeEditor's Pick"โลกร้อน-ความเหลื่อมล้ำ" มหันตภัยคุกคามโลก

“โลกร้อน-ความเหลื่อมล้ำ” มหันตภัยคุกคามโลก

IMF เตือนเศรษฐกิจโลกเผชิญหน้าภาวะตกต่ำระลอกใหม่ พร้อมกับชี้ว่าข้อตกลงการค้าสหรัฐและจีนจะทำให้ปัจจัยความไม่แน่นอนทั่วโลกคลายความตึงเครียดก็ตาม แต่สถานการณ์เศรษฐกิจยังคงท้าทายต่อการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลก

คริสตาลินา จอร์จีวา ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้กล่าวในการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ ว่า การลงนามในข้อตกลงการค้าเฟสแรกระหว่างสหรัฐและจีน ถือเป็นสัญญาณที่ดีในขณะนี้ ซึ่งจะช่วยปัจจัยความไม่แน่นอนที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกฝห้มีอัตราความกังวลลดลง

IMF กำลังประเมินถึงผลกระทบในเชิงบวกหลังจากที่มีความแน่นอนในช่วงก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ IMF คาดการณ์ว่า ข้อตกลงการค้าดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีน ให้ขยายตัวที่ระดับ 6.0% ในปี 2020

- Advertisement -

โดยเมื่อเดือนตถลาคมปีที่แล้ว IMF มองว่าความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเนื่องจากผลกระทบจากการขัดแย้งทางการค้าระหว่าง 2 ประเทศจะกระทบ GDP โลกลดลง 0.8% หรือสูญเสียเป็นมูลค่าถึง 700,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2020 จากการประเมินช่วงก้อนหน้านี้ในเดือนพฤศจิกายน 2019

แต่ IMF ยังไม่วางใจต่อประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับภูมิอากาศสูงขึ้นถือเป็เรื่องเร่งด่วน (Climate Emergency) โดยที่มีรายงานระบุว่า ปัญหาโลกร้อนจาก Climate Change อาจจะขัดขวางอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากกว่าครึ่งหนึ่ง

อีกทั้งการเพิ่มมาตรการปกป้องทางการค้าที่จะส่งผลให้อนาคตในอีก 10 ปีข้างหน้า อาจจะต้องเผชิญกับการเดินขบวนประท้วงของประชาชนที่รุนแรงมากขึ้น

รวมถึงความผันผวนของตลาดการเงินโลกที่ยังคงต้องจับตากับปัจจัยความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นในช่วงทศวรรษนี้ ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกกำลังจะผ่านพ้นภาวะที่ชะลอตัวก็ตาม

นอกจากนี้รายงานของ Oxfam ที่เผยแพร่พร้อม ๆ กับการประชุมของ WEF ชี้ว่ามหาเศรษฐกิจโลกจำนวน 2,153 คนมีฐานะที่ร้ำรวยกว่าประชากรทั่วโลกมากกว่า 60% หรือราว 4,600 ล้านคน ซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงความหลื่อมของรายได้ไม่เท่าเทียมกันที่มีช่องห่างมากขึ้นเรื่อยๆ

สะท้อนถึงเศรษฐกิจที่ล้มเหลวที่มีการหล่อเลี้ยงความร่ำรวยของกลุ่มมหาเศรษฐี และธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ก็ไม่คยมีใครตั้งคำถามว่า หากปราศจากนโยบายสาธารณะของรัฐบาลแต่ละประเทศที่ต้องการสร้างความเท่าเทียมให้ตรงจุด การลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนก็ไม่อาจแก้ไขได้

สำหรับเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดองโลกนั้น มีรายงานของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยการคาดการณ์ก่อนที่คณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟดจะมีการประชุมครั้งแรกในช่วงวันที่ 28-29 มกราคมนี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่ำกว่า 2.0% ต่อปี จากการที่ GDP ขยายตัวใน Q4 ปีที่แล้วเพียง 1.2% และ Q1 ปี 2020 ขยายตัวที่ 1.7%

ทั้งที่สหรัฐมีการดำเนินนโยบายการเงินการคลังผ่อนคลาย ทั้งมาตรการอัดฉีดเม็ดเงิน QE ของเฟดที่มากกว่า 400,000 ล้านดอลลาร์ และการลดดอกเบี้ยถึง 3 ครั้งในอัตรา 0.75% ในปีที่แล้ว ยังรวมถึงการใช้นโยบายขาดดุลงบประมาณที่มากถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ในท้ายที่สุด คำถามก็วกกลับมาที่ว่าความท้าทายของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการเงินของผู้นำที่รับผิดชอบทางด้านบริหารประเทศ ที่ร่วมประชุมกับระดับผู้บริหารสูงสุดชององค์กรธุรกิจทั่วโลกถึง 2,500 คนที่ดาวอสในวันนี้ จะยังคงปล่อยให้คนจนกับคนรวยถ่างตัวมากขึ้น หรือจะหันมาร่วมมือกันในการแสวงหาหนทางเพื่อให้เกิดการพิฒนาที่ยั่งยืนด้วยการลดความเหลื่อมล้ำในระยะยาว

Business Today
Business Todayhttps://businesstoday.co
Supporting Thailand's business communities./ FB Page: Business Today Thai/ Social: Business Today Thai (สำหรับ Twitter, YouTube, Telegram)/ LINE: @Business today/ เว็บที่เกี่ยวข้อง: Thailand Today: www.thailandtoday.co/ FB: Thailantoday.co (English)/ Thailand Today News: www.thailandtoday.news/ FB: Thailandtoday.news (Mandarin Chinese)

Latest

ติดตามข่าวสารอัพเดททันใจจาก Businesstoday ได้โดยกรอกอีเมลด้านล่าง

Related News