ดูเหมือนว่าคนในรัฐบาลจะชื่นชมกับนโยบาย”ชิม ช้อป ใช้”ว่าประสบความสำเร็จเกินเป้า แถมรัฐมนตรีบางคนออกมากล่าวหาคนที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบายนี้ว่า เอื้อประโยชน์กลุ่มทุนว่าเป็นพวกล้มรัฐบาล
จะเอื้อประโยชน์นายทุนหรือไม่ก็รู้ๆกันอยู่
ยิ่งก่อนหน้านี้มีข่าวปรากฏตามสื่อที่มีภาพรถเข็นสินค้าในห้างโมเดิร์นเทรดแห่งหนึ่งแถวย่านหลักสี่ถูกลูกค้าทิ้งระเกะระกะหน้าเคาท์เตอร์จ่ายเงินเพราะไม่พอใจระบบที่ใช้ในโครงการชิมช้อบใช้ล่มกะทันหันกลายเป็นภาระพนักงานต้องมาเก็บของ ในรถเข็นเต็มไปด้วยของกินของใช้ในบ้านที่ถูกทิ้งกระจัดกระจาย คงเป็นการฟ้องด้วยภาพได้อย่างดี
[restrict]ทั้งนี้ ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ นอกจากร้านธงฟ้าประชารัฐแล้วยังมีร้านโมเดิร์นเทรด ห้างสรรพสินค้าทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดเข้าร่วมด้วยส่วนหนึ่ง ร้านค้าในท้องถิ่นในชุมชนจะมีพลัดหลงเข้ามาบ้างก็ไม่มากเพราะกติกายุ่งยาก เมื่อปล่อยให้ยักษ์ใหญ่ทันสมัยมีสินค้าให้เลือกเยอะแยะๆสะดวกสบายเข้าร่วมโครงการ ไม่ต้องบอกก็รู้เวลาคนไปเที่ยวต่างจังหวัดเขาจะเลือกไปใช้บริการที่ไหน คงไม่มีใครไปเสียเวลาตระเวนหาร้านร้านค้าในชุมชนหรือร้านค้าในท้องถิ่นว่าร้านไหนเข้าร่วมชิมช้อปใช้ให้เสียเวลา
ฉะนั้นอย่าแปลกใจว่าทำไมรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจไปกี่รอบไม่รู้ว่ากี่รอบแต่เศรษฐกิจระดับล่างถึงไม่กระเตื้องซักที เพราะเงินที่ใส่ลงไปแล้วถูกดูดเข้ามาหากลุ่มทุนรายใหญ่ในส่วนกลางไม่กี่รายนั่นเอง รัฐบาลก็ดูเฉพาะตัวเลขสุดท้ายว่า เม็ดเงินที่ใส่ลงไปนั้นไปกระตุ้นให้ จีดีพี.โตขึ้น
แต่ไม่ได้ดูว่า จีดีพี.ที่โตขึ้นนั้นไปตกอยู่ในกระเป๋าใคร
ไม่เถียงว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจก็จำเป็น แต่ไม่ใช่กระตุ้นแบบง่ายๆชั้นเดียวเชิงเดียวอย่างที่ทำอยู่ ทำให้อดนึกถึง”เงินผันคึกฤทธิ์”เกือบสี่สิบปีที่แล้วที่กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการสร้างแรงงานให้ชนบท ให้ชาวบ้านมีเงินจับจ่ายใช้สอยในชุมชนจบโครงการชาวบ้านมีบ่อน้ำ มีถนนไว้ใช้ กรณี”มิยาซาวา”หลังต้มยำกุ้งที่คนหัวเราะเยาะที่เอาเงินไปจ้างคนดายหญ้าตัดต้นไม้ริมถนน ทาสีโรงเรียน แต่นั่นก็สอนให้ชาวบ้านรู้จักทำงานแลกเงินไม่ได้เงินมาฟรีๆ
ในช่วงยี่สิบปีมานี้หลายๆรัฐบาลมักจะใช้นโยบาย “ลด แลก แจก แถม”แบบกระหน่ำซัมเมอร์เซลเพราะง่ายได้ผลเร็ว แต่อย่าลืมว่าวิธีนี้ได้แค่ชั่วครั้งชั่วคราวเงินหมุนไม่กี่รอบก็หมดแรงก็ต้องกระตุ้นกันใหม่ไม่ไปเรื่อยๆไม่จบไม่สิ้น
แม้ว่าชิมช้อปใช้เงินกระตุ้นไม่มากด้วยวิธี”เอาเหยื่อล่อปลา”แจก1พันล่อให้คนออกมาเที่ยวต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าทำให้มีเม็ดเงินไปกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แต่ถามหลายๆคนบอกว่าได้ 1พันถือว่ารัฐบาลแจกเงินให้ใช้ฟรีๆไม่คิดจะไปเที่ยวต่อ
นำผลได้ผลเสียหักกลบลบกันคงจะได้ผลระยะสั้นๆเฉพาะหน้าแต่จะเสียหายระยะยาวเพราะสอนให้ชาวบ้านฟุ่มเฟือย แทนที่จะส่งเสริมให้ชาวบ้านรู้จัก”การออม”รู้จักประหยัดใช้ชีวิตแบบพอเพียง ไม่ใช่สร้างนิสัยรับของฟรีโดยที่ไม่ต้องทำงาน
อย่างที่รู้ๆระเบิดเวลาลูกใหญ่ที่สุดของประเทศคือ”หนี้ครัวเรือน”ที่พุ่งสูง”ติดอันดับต้นๆของโลกราวๆ 78.8%ของจีดีพี.หากรวมหนี้อื่นๆจะสูงถึง130-140% ของจีดีพี.นับว่าอันตรายอย่างยิ่งและไม่รู้ว่าจะระเบิดเมื่อไหร่
สินเชื่อที่เป็นปัญหาที่สุดคือ”สินเชื่อเพื่อการบริโภค”สะท้อนว่าคนไทยเป็นหนี้เพราะการจับจ่ายใช้สอยที่แบงก์แข่งกันปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ย0%ล่อใจสะท้อนว่าคนไทยเป็นหนี้เพราะการจับจ่ายใช้สอย
รัฐบาล ควรจะมีนโยบายจูงใจเศรษฐีที่แห่ไปเที่ยวเมืองเมืองนอกมีจิตสำนึกรักบ้านเกิด หันมาเที่ยวเมืองไทยดีกว่า แจกเงินชาวบ้านให้ใช้อย่างที่ทำอยู่ตอนนี้[/restrict]