HomeOpinionsเงินดอลลาร์แข็งค่า สวนทางเศรษฐกิจย่ำแย่

เงินดอลลาร์แข็งค่า สวนทางเศรษฐกิจย่ำแย่

ดอลลาร์แข็งค่า โดยดัชนีเงินดอลลาร์เฉียดระดับ 100 ที่ 99.60 ในระหว่างแวลาซื้อขายช่วงตันชั่วโมงเมื่อวันอังคาร ซึ่งสวนทางกับตัวเลขเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจากการที่ดัชนีการผลิตอุตสาหกรรมร่วงลงต่ำสุดในรอบ 10 ปี

ล่าสุดดัชนีค่าเงินดอลลาร์ หรือ Dollar index อยู่ที่ระดับ 99.17 หลังจากที่แข็งค่าขึ้นไปแตะที่ 99.60 ช่วงระหว่างชั่วโมงซื้อขายในวันอังคาร โดยที่ Dollar index จะถูกถ่วงน้ำหนักไว้ในตะกร้าเงินที่ประกอบด้วยสกุลเงินต่างๆ  ราว 16 สกุลเงิน

ท้งนี้ Dollar index ที่ระดับ 100 เป็นดัชนีที่ใช้วัดเสถียรภาพของเงินดอลลาร์ หากว่าสูงกว่าระดับ 100 จะชี้ว่าดอลลาร์แข็งค่าเงินกว่าปัจจัยความเป็นจริงหรือ Overvalue แต่ถ้าต่ำกว่าระดับ 100 ก็ถือว่าเงินดอลลาร์นั้นอ่อนค่าเกินไป หรือ Undervalue

[restrict]อย่างไรก็ตาม Dollar index เคยอ่อนค่าลงไปแตะระดับดัชนีที่ 70-80 มาแล้วในช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินเมื่อปี 2008 หลังจากที่เศรษฐกิจผ่านพ้นวิกฤติและค่อยมีการฟื้นตัวนับตั้งแต่ปี 2012 โดยที่เงินดอลลาร์ค่อยๆ แข็งค่าอย่างต่อเนื่องจนเฉียดเข้าใกล้แตะระดับดัชนี 100 อีกครั้ง เคลื่อนไหวที่ดัชนี 99.22 ในช่วงบ่ายวันพุธ

- Advertisement -

ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับเงินยูโร โดยอยู่ที่ระดับ 1.0924 ดอลลาร์ต่อ 1 ยูโร เมื่อค่าเงินยูโรอ่อนค่าจากการที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีการใช้มาตรการผ่อนคลายดารเงินด้วยการลดดอกเบี้ย

และการอัดฉีดเม็ดเงินผ่าน QE อีกเดือนละ 20,000 ล้านยูโร เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่อาจจะเข้าสูภาวะถดถอย จากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และแรงกดดันจากสงครามการค้า

นอกจากนี้ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงที่อ่อนค่าลงอย่างจนแตะระดับ 1.2230 ดอลลาร์ จากผลกระทบที่อังกฤษอาจจะต้องออกจากสหภาพยุโรปแบบไร้ข้อตกลง Brexit ในวันที่ 31 ตุลาคมนี้

รวมถึงทิศทางเงินหยวนที่อ่อนค่าลงแตะ 7.15-7.18 หยวนต่อดอลลาร์เนื่องจากเศรษฐกิจจืนที่เติบโตช้าลง รวมทั้งความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นจากผลกระทบของสงครามการค้ากับสหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์ล่าสุดยังคงแข็งค่าขึ้น 3.09% จากช่วงต้นปี และแข็งค่ามากขึ้น 3.54% ในช่วง1ปีที่ผ่านมา กลายเป็นเรื่องที่ทำให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทวีตข้อความโจมตีเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อีกครั้งหนึ่งเกี่ยวกับนโยบายและเฟดที่ปล่อยให้ดอลลาร์แข็งค่ามากเกินไป จนทำให้ผู้ผลิตสหรัฐได้รับผลกระทบ เพราะดอกเบี้ยเฟดมีอัตราที่สูงเกินไป โดยที่เฟดยังไม่รู้ตัว

ทั้งที่มีการเปิดเผยตัวเลขภาคการผลิตทางด้านอุตสาหกรรมของสหรัฐต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปี โดยเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ในเดือนกกันยายนอยู่ที่ระดับ 47.8 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2009 และลดลงจากระดับ 49.1 ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

ดัชนีภาคการผลิตอุตสาหกรรมหากลดลงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ถือเป็นการบ่งชี้ภาวะหดตัวของภาคการผลิตของสหรัฐ และเป็นการหดตัวเป็นเดือนที่ 2 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี หลังจากที่มีการขยายตัวติดต่อกัน 35 เดือน

จากการที่ภาคธุรกิจมีความกังวลต่อสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ส่งผลให้คำสั่งซื้อเพื่อการส่งออกหดตัวลงตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ขณะที่การบริโภค คำสั่งซื้อใหม่ และการสต็อกสินค้าคงคลังเพื่อส่งออกและนำเข้าก็หดตัวลง เพราะการที่ภาคธุรกิจสหรัฐมีความเชื่อมั่นลดลงนั้นเอง[/restrict]

Business Today
Business Todayhttps://businesstoday.co
Supporting Thailand's business communities./ FB Page: Business Today Thai/ Social: Business Today Thai (สำหรับ Twitter, YouTube, Telegram)/ LINE: @Business today/ เว็บที่เกี่ยวข้อง: Thailand Today: www.thailandtoday.co/ FB: Thailantoday.co (English)/ Thailand Today News: www.thailandtoday.news/ FB: Thailandtoday.news (Mandarin Chinese)

Latest

ติดตามข่าวสารอัพเดททันใจจาก Businesstoday ได้โดยกรอกอีเมลด้านล่าง

Related News