นับวัน ร้านค้าออนไลน์มีแต่จำนวนมากเพิ่มขึ้นไม่หยุดยั้งและเจ้าของมีทั้งเป็นรายบุคคล เอสเอ็มอี ซึ่งการทำธุรกิจออนไลน์ ก็จำเป็นต้องมีการบริหารเงินบริหารต้นทุนต่างๆเช่นเดียวกับโลกธุรกิจออฟไลน์ สินเชื่อร้านค้าออนไลน์
จากการขยายตัวสูงของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ทำให้การค้าขายออนไลน์ ยังมีความคึกคักมากยิ่งขึ้น ถือเป็นช่องทางการขายที่จำเป็นสำหรับธุรกิจยุคดิจิทัล เพราะสามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการขายให้มากขึ้น ท่ามกลางผู้คนใช้เวลากับโลกออนไลน์เพิ่มขึ้นๆทุกวัน
แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญของโลกพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ คือ “การเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน” เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น เอกสารไม่เพียงพอ ไม่เดินบัญชี ไม่มีหลักประกัน ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน
ลาซาด้า เห็นอุปสรรคของผู้ประกอบการออนไลน์ที่มีสายป่านทางการเงิน “สั้น” ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นร้านค้ารายย่อย จนถึงธุรกิจเอสเอ็มอี จึงได้ผนึกมือกับพันธมิตร 2 สถาบันการเงินไทย ในการเข้ามาช่วยต่อจิ้กซอว์ให้พ่อค้าแม่ขายออนไลน์สามารถขยายธุรกิจให้เติบโตได้บนสนามการค้าออนไลน์แห่งนี้ด้วย สินเชื่อร้านค้าออนไลน์
การรวมตัวกันของอีคอมเมิร์ซและธนาคาร
ในเดือนธันวาคมเป็นเดือนสุดท้ายของปี “ลาซาด้า”ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์รายใหญ่ ในเอเซียแปซิฟิก เดินเกมรุกทิ้งทวนปี 2562 ด้วยการต่อท่อทางการเงินกับ 2 แบงก์พาณิชย์ “ธนาคารกสิรไทย –ธนาคารยูโอบี” เพื่อสนับสนุนสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทย
โดยนายแจ๊ค จาง รองประธานเจ้าหน้าที่บริษัท บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในโลกธุรกิจอีคอมเมิร์ซ แบรนด์สินค้าใหญ่หรือเล็ก ไม่ได้มีผลต่อการประสบความสำเร็จ แต่การมีโอกาสที่เท่าเทียมกัน ด้าน “การเงิน” ต่างหาก จะช่วยยกระดับความสามารถการแข่งขันให้กับผู้ค้าขายออนไลน์
ขณะที่ “ธนาคารกสิกรไทย”ออกมาประกาศ “ปฏิวัติการให้เงินกู้ออนไลน์” เพราะว่า มีการเขื่อมต่อการทำงาน API ของแอปพลิเคชั่น Lazada Seller Center และแอปพลิเคชั่น
K PLUS ของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งจะทำให้กระบวนการพิจารณาปล่อยกู้เงิน สามารถจบได้ภายในแอปพลิเคชั่น และพิจารณารู้ผลอนุมัติได้เร็วใน 1 นาทีด้วย หลังจากนั้นเงินจะเข้าบัญชีผู้กู้
ด้านนายวีรวัฒน์ บัณฑวังกูร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า รูปแบบความร่วมมือที่เกิดขึ้นนี้ เรียกว่า Better Together เพราะจะเข้ามาช่วยสนับสนุนการทำธุรกิจและปลดล็อกข้อจำกัด ให้ผู้ขายที่ทำธุรกิจจริงบนลาซาด้า สามารถเข้าถึงเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำได้ง่ายขึ้น จึงได้ออกสินเชื่อเงินด่วนเพื่อร้านค้า Lazada หรือ Xpress Loan ภายใต้ระบบการทำงานเชื่อมต่อของ 2 แอปฯข้างต้น
สำหรับสินเชื่อเงินด่วนเพื่อร้านค้า Lazada จะเป็นสินเชื่อหมุนเวียน ที่ไม่ต้องใช้หลักประกันเช่นกัน และ ไม่ต้องมีเอกสารให้ยุ่งยาก แถมฟรีค่าธรรมเนียมด้วย
“เราทำงานร่วมกับลาซาด้าในการปล่อยสินเชื่อเงินด่วนเพื่อร้านค้า โดยลาซาด้าจะช่วยคัดกรองลูกค้ามาให้ ซึ่งเขาจะมีดาต้าคนซื้อเยอะอยู่แล้ว ซึ่งก็ยอมรับว่าการปล่อยสินเชื่ออย่างนี้มีความเสี่ยงเหมือนกัน แต่เราก็มีดูข้อมูลจากพันธมิตรเราด้วยว่า ผู้กู้ใช้ชีวิตอย่างไรมาก่อน การทำค้าขายของเขาเป็นอย่างไร เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ของผู้กู้ ทางลาซาด้าจะทำให้เราเห็นชัดเจนว่าผู้กู้เป็นอย่างไร และก็ยังต้องระวังความเสี่ยงด้านคุณภาพลูกหนี้ด้วย”
พิจารณาปล่อยกู้จากยอดขายไม่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
สำหรับการปล่อยกู้ให้ผู้ขายออนไลน์บนลาซาด้า นายวีรวัฒน์ กล่าวว่า หลักเกณฑ์ให้สินเชื่อ จะพิจารณาจากยอดขายบนลาซาด้าของผู้กู้ ซึ่งไม่ได้มีการกำหนดขั้นต่ำ เพราะการพิจารณาให้วงเงินกู้ จะขึ้นอยู่กับยอดขายและตัวลูกค้า ดังนั้นจะมีตั้งแต่หลักพันบาทจนถึงหลักแสนบาท โดยวงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 6 แสนบาทต่อราย ส่วนอัตราดอกเบี้ยกู้จะขึ้นกับระดับความเสี่ยงของลูกค้าเช่นกัน เริ่มต้นที่ดอกเบี้ย MRR (อัตราดอกเบี้ยกู้สำหรับลูกค้ารายย่อย) บวก 3.88 – 11%
“เราเข้ามาสร้างประสบการณ์ใหม่ในการขอกู้ที่สะดวกรวดเร็ว กดกู้ปั๊บ รู้ผลไว 1 นาทีรับเงิน ซึ่งธนาคารได้ทดลองปล่อยเงินกู้ให้กับผู้ขายออนไลน์บนลาซาด้าไปแล้ว และได้ผลตอบรับที่ดี และการให้บริการสินเชื่อเงินด่วนบนแอปฯลาซาด้า จะช่วยให้ผู้ขายสามารถขยายธุรกิจได้ทันช่วงเทศกาลช้อปปิ้งด้วย”
แต่อย่างไรก็ตามนายวีรวัฒน์ กล่าวว่า สินเชื่อเงินด่วนเพื่อร้านค้าลาซาด้า จะเริ่มให้บริการกลุ่มลูกค้ากสิกรไทยก่อน ซึ่งขณะนี้เปิดให้บริการแล้ว โดยธนาคารกสิกรไทยตั้งเป้าหมายปีหน้าปี 2563 จะมีลูกค้า 10,000 ราย และสามารถปล่อยสินเชื่อได้รวม 1 พันล้านบาท
ธนาคารยูโอบี เป็นอีกแห่ง ได้เปิดตัวให้บริการโซลูชั่นครบวงจรเพื่อธุรกิจอีคอมเมิรซ์ ชื่อว่า“UOB x Lazada x Bentoweb “
เห็นชื่อก็รู้แล้วว่าเป็นการประสานความร่วมมือ 3 ฝ่าย ได้แก่
“UOB x Lazada x Bentoweb “ เป็นการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างหนึ่งสถาบันการเงิน กับ 2 พันธมิตรแถวหน้าในวงการอีคอมเมิรซ์ ตือ “ยูโอบี” กับ “ลาซาด้า– Bentoweb “ เพิ่อมุ่งตอบโจทย์ผู้ค้าขายอีคอมเมิรซ์รายย่อย ตั้งแต่เรื่องการบริหารจัดการธุรกิจออนไลน์ บริการทางการเงิน การจัดการสต็อกสินค้า ค่าใช้จ่ายต่างๆของธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยในส่วนของธนาคารยูโอบี จะเข้ามาให้บริการ สินเชื่อหมุนเวียนในธุรกิจ กับ
ร้านค้าผู้ประกอบการ ที่ขายของอยู่บนแพลตฟอร์ม Lazada โดยจะปล่อยเงินกู้ให้อายุไม่เกิน 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MRR+7.0% ( ปัจจุบัน MRR เท่ากับ 7.75%) โดยผู้กู้ไม่ต้องมีหลักประกันด้วย
สำหรับเงื่อนไขในการพิจารณาปล่อยเงินกู้ ให้แก่ร้านค้าออนไลน์ คือ
1.จะต้องขายผ่าน Lazada มาเกิน 6 เดือน
2. มียอดขายเฉลี่ยต่อปี มากกว่า 500,000 บาท ขึ้นไป
3. ปัจจุบันต้องไม่เป็นลูกค้าเงินกู้สินเชื่อธุรกิจ SME กับธนาคาร พูดง่ายๆคือเป็นลูกค้าใหม่
ทางลาซาด้าจะช่วย”คัดกรองลูกค้า” ก่อนส่งต่อมาขอสินเชื่อกับธนาคารยูโอบี ซึ่งลาซาด้าจะมีถังข้อมูลหรือบิ๊กดาต้าเกี่ยวกับประวัติทางการเฃิน พฤติกรรมต่างๆ ของผู้ค้าขายออนไลน์บนแพลตฟอร์มนี้
สำหรับช่องทางการยื่นขอ สินเชื่อร้านค้าออนไลน์ ทางร้านค้าผู้ประกอบการสามารถยื่นขอสินเชื่อออนไลน์ ผ่านทาง “ seller center “ บน Lazada platform ได้ตลอด 24 ชั่วโมงและทางเจ้าหน้าที่ธนาคาร จะติดต่อกลับหลังจากได้รับใบสมัครภายใน 1 วันทำการ ทั้งนี้จะต้องนำเอกสารต่างๆ เช่น สำเนาบัตรประชาชน–ทะบี้ยนบ้าน หนังสือรับรองการจดทะเบีบนนิติบุคคล ผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) เป็นต้น
“การขอสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนนี้ ร้านค้าไม่ต้องมีหลักประกัน และไม่จำเป็นต้องแสดงเอกสารแสดงรายได้ เช่น รายการเดินบัญชี หรือ งบการเงิน “นายสยุมรัตน์ มารเเนตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารยูโอบีกล่าว
ขณะนี้ เจ้าของร้านค้าออนไลน์ มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนแล้ว และมีโอกาสเลือกใช้บริการของ2 แบงก์ด้วย
และเชื่อว่าปีหน้าจะมีอีกหลายสถาบันการเงินเข้ามาให้บริการทางการเงินที่ครบวงจรแก่ร้านค้ทออนไลน์ในรูปแบบใหม่ๆ เพราะการเติบโตของโลกช้อปปิ้งออนไลน์ที่ก้าวกระโดด ซึ่งหากเจ้าของร้านค่าออนไลน์ ข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ดีและเร็ว จะเป็นโอกาสการขยายตัวของธุรกิจทั้งรายย่อยและเอสเอ็มอีที่ทุกวันนี้ คงมีแนวโน้มการเติบโตไร้ขีดจำกัดเช่นกัน
ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง :คลินิกแก้หนี้ รับปลดแอกลูกหนี้คดีแดงสแกนวัยสร้างหนี้ GEN Y