ปรากฎการณ์ที่ทำให้นักลงทุนทั่วโลกเกิดความกังวล จนเทขายสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกในช่วงไม่ผ่านมานี้คงหนี้ไม่พ้นภาวะ “Inverted Yield Curve” หรือปรากฎการณ์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ ปรับลงมาต่ำกว่าผลตอบแทนระยะสั้น ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งผิดปกติ และเป็นเหมือนการส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย
แต่ถ้าไปลองตรวจสอบอัตราผลตอบแทนพันธบัติทั่วโลก จะพบว่าหลายประเทศในขณะนี้อยู่ในภาวะติดลบ นั่นหมายความว่าหากนักลงทุนถือจนครบอายุ ไม่เพียงจะไม่ได้รับผลตอบแทน แต่เงินต้นก็ได้รับไม่เต็มจำนวนด้วย
ทำไมบอนด์ยิลด์ทั่วโลกติดลบ ?
ภาวะที่บอนด์ยิลด์ติดลบ เกิดมาจากมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางในประเทศนั้นๆ ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจนเป็นศูนย์ หรือติดลบ เพื่อหวังให้ประชาชนที่เคยออมเงินนำเงินเหล่านั้นออกไปจับจ่ายใช้สอย เพราะฝากธนาคารเอาไว้ดอกเบี้ยก็ต่ำ เมื่อเกิดการใช้จ่ายก็จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ แต่ด้วยบรรยากาศที่ไม่เอื้อให้คนอยากจะใช้เงิน ไม่อยากจับจ่าย ไม่อยากลงทุน จึงเกิดภาวะบอนด์ยิลด์ติดลบขึ้น
ปัจจุบันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 10 ปีของกว่า 13 ประเทศที่ติดลบ มากที่สุดคือประเทศสวิตเซอร์แลนด์ถึง -1.01% รองลงมาคือเยอรมัน -0.65% ตราสารหนี้ที่มีผลตอบแทนติดลบทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 15 ล้านล้าน USD (ข้อมูลจาก Bloomberg วันที่ 5 ส.ค. 62)
แม้พันธบัตรรัฐบาลจะมีอัตราผลตอบแทนติดลบ แต่ก็ยังมีนักลงทุนซื้อกันอยู่ด้วยหลายเหตุผล เช่น บางกองทุนตราสารหนี้มีนโยบายการลงทุนแบบ Passive ดังนั้นจึงต้องลงทุนให้ได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับ Government bond index ให้มากที่สุด ทำให้ยังต้องซื้อพันธบัตรรัฐบาลแม้ Bond Yield จะติดลบ นักลงทุนบางส่วนคิดว่า Bond Yield ยังติดลบได้อีกจึงเข้าซื้อเพื่อหวังจะได้ Capital gain หรือ นักลงทุนคาดว่า เศรษฐกิจในอนาคตจะหดตัว จึงต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำและมีสภาพคล่องสูงอย่างพันธบัตรรัฐบาล
ในขณะที่คนที่เสียประโยชน์จากบอนด์ยิลด์ติดลบ จะเป็นกลุ่มกองทุนเพื่อการเกษียน และกลุ่มประกัน หากเข้าซื้อในช่วงนี้ก็จะทำให้ได้รับผลตอบแทนติดลบ และมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนจาก Capital loss ได้หาก Bond Yield ปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต
บอนด์ยิลด์ไทยยังไม่ติดลบ แต่ก็ปรับตัวลงมาต่ำเรื่อยๆ
บอนด์ยิลด์ไทยและสหรัฐฯ แม้ว่าจะยังไม่ติดลบ แต่ก็ปรับตัวต่ำลงมามาก หลังจากที่เฟดมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง นับตั้งแต่วันที่ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายจนถึงวันที่ 14 ส.ค. 62 บอนด์ยิลด์ 10 ปีของสหรัฐฯ ลดลง 43 bps มาอยู่ที่ 1.59%
ในขณะที่บอนด์ยิลด์10 ปีของไทยลดลง 19 bps มาอยู่ที่ 1.52% แม้ยังห่างไกลจาก บอนด์ยิลด์ติดลบมากอยู่แต่เป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบกว่า 20 ปีที่ผ่านมา แม้จะยังไม่ติดลบแต่ตลาดก็มีความกังวลอีกอย่างในเรื่องของ Inverted Yield Curve ที่ส่วนต่างระหว่างรุ่น 10 ปีและ 2 ปี (2-10 spread) มีค่าติดลบ โดย 2-10 spread ของสหรัฐฯ ในระหว่างวันที่ 14 ส.ค. มีค่าคิดลบแต่ปิดตลาดที่ 1 bps ส่วนของไทยค่า 2-10 spread ก็ลดต่ำลงมากมีค่าอยู่ที่ 10 bps ซึ่งค่าต่ำสุดจะอยู่ที่ 1 bps ในช่วงเดือนสิงหาคม 2554 และค่าเฉลี่ยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาที่ 138 bps
ในรอบกว่า 20 ปีที่ผ่านมา แม้จะยังไม่ติดลบแต่ตลาดก็มีความกังวลอีกอย่างในเรื่องของ Inverted Yield Curve ที่ส่วนต่างระหว่างรุ่น 10 ปีและ 2 ปี (2-10 spread) มีค่าติดลบ โดย 2-10 spread ของสหรัฐฯ ในระหว่างวันที่ 14 ส.ค. มีค่าคิดลบแต่ปิดตลาดที่ 1 bps ส่วนของไทยค่า 2-10 spread ก็ลดต่ำลงมากมีค่าอยู่ที่ 10 bps ซึ่งค่าต่ำสุดจะอยู่ที่ 1 bps ในช่วงเดือนสิงหาคม 2554 และค่าเฉลี่ยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาที่ 138 bps

ทั้งนี้สิ่งที่ตลาดกังวลเกี่ยวกับ Inverted Yield Curve ก็คือความเสี่ยงที่อาจจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอนาคตและโดยเฉพาะในช่วงนี้มีเรื่องความขัดแย้งระหว่างประเทศหลายกรณีจึงอาจส่งผลกระทบเชิงจิตวิทยาทำให้เกิดความกังวลมากยิ่งขึ้น 2-10 spread ที่ติดลบจะมีนัยยะบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอนาคตก็ต้องมีองค์ประกอบอื่นร่วมด้วย เช่น ระดับอัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน หรือระดับหนี้ที่สูงเกินไป
ส่วนภาวะ Inverted Yield Curve ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ก็ถือเป็นระลอกแรกๆ นับตั้งแต่เกิดวิกฤตซับไพร์มปี 2551 ที่มีการทำ Quantitative easing เป็นครั้งแรกของโลกส่งผลให้ระดับสภาพคล่องเปลี่ยนไป ดังนั้นความน่าเชื่อถือของ Inverted Yield Curve ในการเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจมีนัยยะที่ไม่เหมือนเดิม
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนก็ยังควรติดตามสถานการณ์กันต่อไป แต่คาดว่า Inverted Yield Curve จะยังคงเป็นประเด็นให้ได้ยินวนเวียนกันไปอีกสักระยะทีเดียว
ที่มา : สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย