บลูมเบิร์ก รายงาน ว่า “เงินบาท” ของไทยเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการจากป้องกันความเสี่ยงจากปัญหาสงครามการค้าโลก โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากว่า 6% ขณะที่ค่าเงินอื่นๆ ในเอเชีย ทั้งค่าเงินวอนของเกาหลีใต้ และเงินหยวนของจีน ต่างได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า
โดยบลูมเบิร์กระบุว่า เงินบาที่แข็งค่าขึ้นมา เพราะได้แรงหนุนจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัน และทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่มากสุดเป็นประวัติศาสตร์ของไทย
ปัญหาความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐ ที่ปะทุขึ้นมาถึง 3 ครั้งล่าสุด ไม่ได้ทำให้เงินบาทของไทยได้รับผลกระทบ แม้เงินหยวนของจีนจะอ่อนค่าจนทำให้ค่าเงินอื่นๆ ในเอเชียอ่อนค่าลงไปด้วย แต่เงินบาทของไทยยังแข็งค่าเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชีย รายงานของบลูมเบิร์ก ระบุว่า หากความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐเกิดปัญหาขึ้นอีก เงินบาทของไทยก็ยังจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นไปอีก
ขณะที่ปัจจัยในประเทศ บลูมเบิร์กระบุว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คงดอกเบี้ยนโยบายเอาไว้ในการประชุมครั้งที่ผ่านมา หลังจากลดดอกเบี้ย 0.25% เมื่อวันที่ 7 ต.ต. ก็ยังเป็นปัจจัยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น แม้จะแสดงความกังวลต่อทิศทางของเงินบาทที่แข็งค่า แต่เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินนโยบายของเฟด และหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น อาจทำให้ คณะกรรมการนโนบายการเงินยังคงดอกเบี้ยต่อไป
ก่อนหน้านี้ไทยได้ดำเนินมาตรการหลายขั้นตอนในความพยายามที่จะสกัดขาขึ้นของเงินบาท รวมถึงการลดจำนวนการออกพันธบัตรระยะสั้น เพื่อไม่ให้เงินทุนไหลเข้ามา และลดเพดานจำกัดสำหรับบัญชีธนาคารสกุลเงินบาทของชาวต่างชาติ แต่จนถึงขณะนี้ มาตรการดังกล่าวยังส่งผลออกมามากนัก
เงินบาทสัปดาห์นี้คาดอ่อนค่าลง
ด้าน น.ส.รุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการ ผู้บริหารกลุ่มวิจัยและวิเคราะห์ตลาดการเงิน ฝ่ายส่งเสริมธุรกิจและกำกับดูแลโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ (30 ต.ค. – 4 พ.ย) คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 30.50-30.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งบาทพักฐานขณะที่นักลงทุนได้มีการปรับพอร์ตการลงทุนอาจเห็นค่าเงินบาทในช่วงนี้อ่อนค่าได้ จากที่ก่อนหน้านี้แข็งค่าต่อเนื่องมากว่า 6%และปัจจุบันแม้ว่าทิศทางการค้าโลกเริ่มดีขึ้น แต่ต้องรอดูผลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนที่จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้าว่าจะออกมาอย่างไร
ส่วนภาวะเงินทุนเคลื่อนย้ายตั้งแต่ 2 ก.ย.-26 ก.ย.พบว่า ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 8,700 ล้านบาท และขายสุทธิพันธบัตร 23,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามผู้ส่งออกและนำเข้าต้องป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือการใช้สกุลเงินท้องถิ่นทำการค้าขายแทนสกุลดอลลาร์สหรัฐ เพื่อป้องกันค่าเงินที่ผันผวน และลดต้นทุนจากการใช้สกุลกลางอย่างดอลลาร์สหรัฐ ขณะเดียวกันต้องติดตามการเคลื่อนไหวของค่าเงินในภูมิภาคด้วย
ขณะที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ คาดว่าเคลื่อนไหว 30.50-30.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยปัจจัยในประเทศที่สำคัญ ได้แก่ รายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือนส.ค. ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และตัวเลขเงินเฟ้อเดือนก.ย. ของกระทรวงพาณิชย์ และยังมีตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงาน เป็นต้น
นอกจากนี้ ตลาดอาจรอติดตามข้อมูลเอ็มพีไอเดือนก.ย. ของจีน ยูโรโซน และญี่ปุ่น รวมถึงถ้อยแถลงของประธานเฟด และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟด สถานการณ์การเมืองภายในของสหรัฐฯ การเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน และทางออกของเรื่องเบร็กซิท