จับสัญญาณ 4 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะส่งผลกระทบเศรษฐกิจโลกมีความเปราะบางมากขึ้น
เริ่มตันที่ปัจจัยเสี่ยงแรก จากแนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐ หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คาดการณ์จีดีพีในปี 2019 นี้จะขยายตัวที่ 2.2% สวนทางกับทิศทางการบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่คาดหวังว่าจีดีพีสหรัฐจะขยายคัวถึง 3%
โดยที่การชะลอตัวเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนี้ จะกดดันให้การว่างงานมีมากขึ้น เหมือนกับการมองย้อนกลับไปในช่วงเวลาที่นานกว่า 10 ปีมาแล้ว ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ซับไพรม์จากการที่ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตก ซึ่งส่งผลให้เฟดต้องใช้มาตรการทางการเงินเข้มงวดควบคุมไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐมีการปล่อยกู้ เพื่อจำกัดไม่ให้งบดุลของธนาคารมีความเสี่ยงสูงจากการที่สินทรัพย์มีราคาร่วงลงอย่างรุนแรง
โดยล่าสุด มีรายงานการจ้างงานงานภาคเอกชนมีจำนวนเพียง 114,000 ตำแหน่งเท่านั้นในเดือนกันยายน ถือเป็นการสะท้อนภาพอัตราเติบโตเฉลี่ยของการจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐระยะ 3 เดือนที่ผ่านมาอยู่ในภาวะที่อ่อนแอลงมากที่สุดในรอบ 7 ปี
ขณะที่ประธานาธิบดีทรัมป์พยายามจะใช้นโยบายการการปรับลดภาษีจำนวน 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ พยุงเศรษฐกิจเพื่อให้ทีการข้างงานภาครัฐมากขึ้น ทำให้ตัวเลขการจ้างงานโดยรวมที่รวมการจ้างงานภาครัฐด้วยนั้นอยู่ที่ระดับ 136,000 ตำแหน่งก็ตาม
แต่นักลงทุนยังคงตื่นกลัวเศรษฐกิจสหรัฐอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงปี 2020 จากผลกระทบทางการค้าโลกตกต่ำที่เป็นแรงกดดันมาจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนตกอยู่ในภาวะที่ไม่มีข้อตกลงใดๆ ถึงแม้ว่าจะเริ่มเปิดเจรจาการการค้ารอบที่ 13 ในวันที่ 10-11 ตุลาคมนี้
สัญญาณปัจจัยเสี่ยงที่ 2 มีการจับตาไปที่ภาระหนี้ของจีนจำนวนมากกว่า 40 ล้านล้านดอลลาร์ ท่ามกลางอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว จะส่งผลให้สัดส่วนของภาระหนี้ต่อจีดีพีสูงแตะระดับ 303% จากรายงานของ Institute of International Finance (IIF) ที่คาดการณ์เกี่ยวกับหนี้นของจีนทั้งหนี้ที่มาจาก Corporate, Household และ Government
ทั้งนี้ ภาระหนี้ดังกล่าวอาจจะส่งผลต่อการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของทางการจีนที่จะมีผลทำให้จีดีพีของจีนเติบโตช้าลงในอนาคต
ปัจจัยเสี่ยงที่ 3 จากการชุมนุมประท้วงที่มีความรุนแรงมากขึ้นโดยยืดเยื้อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 18 แล้วนั้น จะกระทบต่อปริมาณธุรกรรมทางการเงินในฐานะทีฮ่องกงเป็นศูนย์ทางการเงินของเอเชียที่มีมูลค่าของการเปลี่ยนมือเงินตราต่างประเทศมากถึง 437,000 ล้านดอลลาร์ จากรายงานของ Bank for International Settlements (BIS) ในปี 2016 มีความผันผวนมากขึ้น รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการระดมทุนของภาคธุรกิจในตลาดหหุ้นฮ่องกงในอนาคต
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ 4 เป็นความเปราะของประเทศกำลังพัฒนาในตลาดเกิดใหม่ อาจจะได้รับผลกระทบให้อ่อนแอแบบที่ติดต่อจากสถานการณ์เช่นเดียวกับอาร์เจนตินาที่ต้องเผชิญกับค่าเงินเปโซที่ยวบตัวลง 15% และการดิ่งลงของตลาดหุ้นถึง 30% ในปีนี้ เนื่องจากภาระหนี้ที่พอกพูนมากขึ้นจนแตะระดับ 80,000 ล้านดอลลาร์ที่จะครบกำหนดในปี 2019-2020 อาจจะต้องผิดนัดชำหระหนี้เป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 20 ปีมานี้