HomeEditor's Pickไปอีกขั้น บัตรเครดิตจำกัด"คาร์บอน"

ไปอีกขั้น บัตรเครดิตจำกัด”คาร์บอน”

ในยุคที่สภาพแวดล้อมในโลกกำลังวิกฤติ หลายฝ่ายพยายามบรรเทาปัญหานี้ ไม่เว้นแม้แต่ผู้ออกบัตรเครดิต ที่ช่วยได้อีกแรงเช่นกัน เพราะบัตรเครดิตชนิดนี้จะไม่ยอมให้รูดซื้ออะไรอีก ถ้าการซื้อของของเรา ถึงขีดสุดในแง่ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนแล้ว

บัตรเครดิตทั่วไปจะไม่ยอมให้รูดต่อ ตอนวงเงินเต็ม ขณะที่ Do Black ไปไกลกว่านั้น เพราะจะไม่เปิดโอกาสให้รูดต่อ เมื่อซื้อของเต็มปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของทั้งปีแล้ว

Johan Pihl หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Doconomy อธิบายว่าการจำกัดวงเงินด้วยการโยงเข้ากับปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอน อาจเป็นอะไรที่มองดูสุดขั้ว แต่เป็นวิธีที่ชัดเจนที่สุดในการแสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ รุนแรงแค่ไหน และต้องสะท้อนออกมาให้เห็นว่าการบริโภคมีผลต่อโลกอย่างไรบ้าง

Doconomy เป็นกลุ่มคลังสมองสวีเดน ที่เปิดตัวบัตรเครดิตใหม่ ภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานเลขาธิการภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงแห่งสหประชาชาติ และมาสเตอร์การ์ด

- Advertisement -

ปีนี้ Doconomy เปิดตัวบัตรเครดิต 2 แบบ แบบแรกคอยติดตามปริมาณก๊าซเรือนกระจกตามการใช้จ่ายของเจ้าของบัตร ส่วนอีกแบบคือ Do Black ที่กำหนดปริมาณก๊าซเรือนกระจกสำหรับเจ้าของบัตรในแต่ละปี

โดยตอนแรกข้อมูลสำหรับคำนวณผลกระทบจากการจับจ่ายในแต่ละครั้ง อาจยังไม่แม่นยำ เพราะระบบดึงโค้ดสินค้ามาคำนวณ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นสินค้าในหมวดอุตสาหกรรมไหน เช่น อาหารจานด่วน เสื้อผ้า หรือตั๋วเครื่องบิน

สำหรับขีดจำกัดในการปล่อยก๊าซ ก็คำนวณว่าพลมืองของประเทศนั้น สามารถปล่อยก๊าซในปริมาณเท่าไร จึงจะเป็นไปตามเกณฑ์ลดการปล่อยก๊าซลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2573

ในอนาคต การคำนวณผลกระทบจะลงรายละเอียดไปที่ตัวสินค้า เพื่อให้แม่นยำมากขึ้น

นอกจาก Doconomy แล้ว ยังมีสตาร์ทอัพไม่หวังผลกำไร อย่าง Poseidon Foundation ที่เริ่มประสานกับบรรดาร้านค้าปลีกเพื่อติดตามผลกระทบของการจับจ่ายซื้อของ และเปิดโอกาสให้ลูกค้าซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์

ด้านร้านขายไอศกรีมอย่าง Ben and Jerry’s ก็ทดลองแนวคิดนี้กับร้านไอศกรีมในกรุงลอนดอนเมื่อปีที่แล้ว

Mathias Wikström ผู้ร่วมก่อตั้ง Doconomy อธิบายถึงแนวคิดการออกบัตรเครดิตที่เชื่อมโยงไปถึงปัญหาระดับโลก อย่างภาวะโลกร้อน ว่าเป้าหมายของเขาคือการมุ่งเน้นให้การศึกษา หรือให้ผู้คนตระหนักรู้ และเข้าใจสถานการณ์จริง

แน่นอนว่า ผู้บริโภคไม่สามารถแก้ปัญหาภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงผ่านการจับจ่ายได้เพียงอย่างเดียว เพราะระบบพลังงานก็ต้องเปลี่ยนด้วย และเมืองต่างๆ ก็ต้องปรับเปลี่ยนการออกแบบเพื่อที่คนจะได้รู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ รวมถึงมีการปรับวิธีเพาะปลูกอาหาร และปรับปรุงการออกแบบส่ิ่งต่างๆ ตั้งแต่เครื่องบินไปจนถึงโทรศัพท์มือถือ

อย่างไรก็ตาม Doconomy ยอมรับว่ากระเป๋าเงินจัดว่ามีอำนาจพอดู อย่างในสวีเดนที่ 60% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มาจากการบริโภค ดังนั้นหากพฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนไปในวงกว้าง ก็น่าจะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซในระดับประเทศได้

Business Today
Business Todayhttps://businesstoday.co
Supporting Thailand's business communities./ FB Page: Business Today Thai/ Social: Business Today Thai (สำหรับ Twitter, YouTube, Telegram)/ LINE: @Business today/ เว็บที่เกี่ยวข้อง: Thailand Today: www.thailandtoday.co/ FB: Thailantoday.co (English)/ Thailand Today News: www.thailandtoday.news/ FB: Thailandtoday.news (Mandarin Chinese)

Latest

ติดตามข่าวสารอัพเดททันใจจาก Businesstoday ได้โดยกรอกอีเมลด้านล่าง

Related News