นพ.เฉวตสรร นามวาท รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรคกล่าวถึงกรณีที่ สำนักข่าว Politiken ของเดนมาร์ก เสนอข่าวตลาดค้าสัตว์เลี้ยงจตุจักร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ซึ่งอาจจะเป็นสถานที่นำไวรัสโควิด-19 สู่เมืองอู่ฮั่น และทำให้เกิดการแพร่ระบาดไปทั่วโลก ว่า ทางกรมควบคุมโรคได้ติดตามเรื่องนี้ และขอเรียนว่าไม่เป็นความจริง ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุข มีนักวิจัยเก็บตัวอย่างตรวจสอบค้างคาวมงกุฏในไทย
ช่วงตอนต้นการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีข้อสงสัยว่าเชื้อนี้มาจากสัตว์ แต่ยังไม่มีหลักฐานใดที่ชี้ชัดได้ว่า มาจากสัตว์อะไร รวมถึงจากการตรวจสอบว่าเกิดในพื้นที่ของประเทศจีนหรือไม่ ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ซึ่งในเรื่องนี้อาจจะต้องไปดูหลักฐานทางวิชาการที่ชัดเจน
สำหรับประเทศไทยมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยที่ทางนักวิจัยมีการเก็บตัวอย่าง มาศึกษาโอกาสที่จะเกิดโรคจากสัตว์สู่คนได้หรือไม่ ซึ่งเชื้อไวรัสโคโรน่านี้ มีหลากหลายสายพันธ์ุ บางสายพันธุ์จะแพร่ในสัตว์แต่ไม่แพร่สู่คน แต่จากผลวิจัยที่ได้พบว่าค้างคาวเป็นแหล่งรังโรคของเชื้อไวรัสหลายชนิด ซึ่งเชื้อไวรัสโคโรนาโคโนน่าที่พบในค้างคาวมงกุฏที่พบในไทย มีรหัสพันธุกรรมคล้ายคลึงกับเชื้อไวรัสโควิด-19 ถึงร้อยละ 91.5 แต่ไม่ติดต่อจากค้างคาวสู่คน ซึ่งการไม่กินสัตว์ป่า ไม่ล่าสัตว์ป่า ถือเป็นการป้องกันโรคที่ดีที่สุด
อ่าน : โควิด วันนี้ 24 ก.พ. ในไทยเพิ่ม 93 ราย ติดเชื้อสะสม 25,692 ราย
นอกจากการวิจัยต่อเนื่องแล้ว กรมควบคุมโรค กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมปศุสัคว์ ได้ดำเนินโครงการควบคุม ป้องกันโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เพื่อเฝ้าระวังค้นหาเชื้อโรคที่แอบแฝง รวมถึงหารือแผนปฏิบัติการที่จะกำจัดโรคระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในตลาดค้าสัตว์ป่า ทำความสะอาดตลาดค้าสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยงทั้ง 5 แห่งในกรุงเทพฯ อาทิ จตุจักร มีนบุรี พุทธมณฑล ให้มีการดำเนินการเป็นประจำเพื่อความปลอดภัย
นพ.เฉวตสรร กล่าวต่อว่า โดยรวมจะต้องตามอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันในการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอข่าวหรือการแถลงข่าว อาจจะเป็นประเด็นที่ยังไม่หลักฐานที่ชัดเจน แต่ละประเทศที่เกี่ยวข้องจะต้องดูข้อมูล และมีระบบในการป้องกันอย่างไร