“ทรู” มองหาสตาร์ทอัพ เข้าร่วมโครงการพัฒนาให้เข้าไปแก้ไขปัญหาให้องค์กรใหญ่ เร่งขยายสตาร์ทอัพที่เข้าเกณฑ์ให้ทำงานร่วมกับภาคเอกชนใหญ่ๆได้ พร้อมพาพี่เลี้ยงจากองค์กรใหญ่ เข้ามาให้ความรู้ด้านกฏหมายและบัญชี เพราะเป็นหนึ่งในเรื่องที่ทำให้ “สตาร์ทอัพ” ไปไม่รอด
ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บมจ. ทรูคอร์ปอเรชั่น ร่วมกับสถาบัน RISE (Regional corporate Innovation Powerhouse) เพื่อมองหาบริษัทสตาร์ทอัพที่โดดเด่นและจะก้าวเข้ามาจับคู่ทางธุรกิจ และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ภายใต้โครงการ True Incube Incubation & ScaleUp Program Batch 6 – Rising Startup Together โดยการนำความรู้จากเหล่าผู้บริหารในองค์กรชั้นนำระดับโลกเข้ามาเร่งพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพ และเพิ่มมูลค่าด้านสินค้าและบริการภายในระยะเวลา 10 สัปดาห์ และยังเปิดโอกาสให้บริษัทสตาร์ทอัพที่ผ่านเกณฑ์เข้าร่วมสัมมนาทางเทคโนโลยีระดับโลก “เว็บ ซัมมิท” ที่ประเทศโปรตุเกส
ดร.ธีระพล ระบุว่า การที่สตาร์ทอัพที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น นอกจากการมีทีมที่ดีและการรู้จักจุดบอดของลูกค้าที่จะเข้าไปแก้ปัญหาแล้ว จะต้องมีความรู้ในการพัฒนาตนเองที่เหมาะสมอีกด้วย ซึ่งวิสัยทัศน์ของ True Incube คือการเป็นผู้นำทางด้านการให้บริการสำหรับบริษัทสตาร์ทอัพ ในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยมีภารกิจในการสร้างแรงบันดาลใจ สร้างนวัตกรรม สร้างฟลักสูตรในการพัฒนาและการลงทุนในสตาร์ทอัพใหม่ ๆ ให้พัฒนาต่อไปได้
สำหรับเป้าหมายของโครงการนี้จะมีการเน้นไปในส่วนของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ Big Data Machine Learning เทคโนโลยีทางการเกษตร เทคโนโลยีทางด้าน Internet of Things และ หุ่นยนต์ การโฆษณาและเทคโนโลยีด้านการสื่อสารมวลชน ภาคการขนส่ง ภาคเทคโนโลยีในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ภาคสาธารณสุข และเทคโนโลยีทางการเงิน ซึ่งกลุ่มบริษัทสตาร์ทอัพ ที่จะเข้ามาร่วมโครงการ จะถูกนำไปพัฒนาจริงในพื้นที่ของพันธมิตร กลุ่มทรู ในหมวดหมู่ต่างๆเพื่อให้เกิดผลงานจริง

สำหรับโครงการ True Incube Incubation & ScaleUp Program Batch 6 – Rising Startup Together เปิดรับสมัครบริษัทสตาร์ทอัพในกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีเข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคมไปจนถึงวันที่ 9 กันยายน 2562 ทางเว็บไซต์ของ ทรู อินคิวบ์ โดยบริษัทที่ผ่านการคัดเลือก 5 ทีมสุดท้ายจะได้เข้าร่วมหลักสูตรอบรมแบบเข้มข้นและได้รับเงินทุนขั้นต่ำ 1 ล้านบาทในการสร้างโอกาสในการลงทุนเพิ่มเติมจากกลุ่มทรูและสิทธิประโยชน์อื่นๆเพิ่มเติม
ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น มองว่า ส่วนใหญ่ของบริษัทสตาร์ทอัพที่ไม่ประสบความสำเร็จอาจมาจากบางเรื่องที่ใกล้ตัว ซึ่งไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยีแต่เป็นเรื่องของกฎหมายและการบัญชี ดังนั้น บริษัทสตาร์ทอัพที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้ก็จะได้รับการให้คำปรึกษาจากบริษัทด้านบัญชีชั้นนำและพี่เลี้ยงจากองค์กรชั้นนำมากมาย
สิ่งที่เรียนรู้จากการพัฒนาบริษัทสตาร์ทอัพมามากมาย คือ บริษัทสตาร์ทอัพไม่จำเป็นต้องเริ่มทุกอย่างจะสูญ แต่เริ่มด้วยการอาศัยความร่วมมือจากบริษัทยักษ์ใหญ่ เพราะปัจจุบันเกิดกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ปลาเร็วกินปลาช้า” เพราะฉะนั้น หากบริษัทใหญ่บริษัทใดไม่เริ่มปรับตัวอย่างรวดเร็วก็จะประสบปัญหา ขณะที่อีกหนึ่งปัญหาในการทำงานร่วมกันระหว่างบริษัทสตาร์ทอัพ และบริษัทขนาดใหญ่ คือบริษัทพัฒนาน้อยมากเคยชินกับการที่กลุ่มสตาร์ทอัพ จะนำข้อมูลและส่งต่อทุกอย่างให้กับบริษัทใหญ่ได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่กลับกลายเป็นว่าบริษัทสตาร์ทอัพบางบริษัทมีพนักงานอยู่เพียง 5 คนเท่านั้น ดังนั้นการร่วมมือกับพันธมิตรอื่น ๆ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับโครงการนี้
“ส่วนตัวมองว่าสภาพแวดล้อมในการพัฒนาของกลุ่มบริษัททรูซึ่งมีทั้งในส่วนของเทคโนโลยีทางการเงินเทคโนโลยีทางด้านสื่อและเทคโนโลยีทางด้านอาหารรวมถึงการจัดส่งที่เหมาะสมดังนั้นจึงมองว่ากลุ่มสตาร์ทอัพเข้ามาลองในโครงการนี้ก่อน” ดร.ธีระพล กล่าว

นางสาวรฐิยา อิสระชัยกุล หัวหน้าส่วนภูมิภาคฝ่ายปฏิบัติการและการต่างประเทศ ของ RISE ระบุว่า RISE เป็นองค์กรที่เน้นในการเรื่องการพัฒนาของบริษัททางด้านนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการปรับวิธีคิดและการเสริมสร้างทักษะฝีมือรวมถึงเครื่องมือต่าง ๆ ในลักษณะที่สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และทำให้องค์กรขนาดใหญ่สามารถเข้าใจกลุ่มซับได้อย่างรวดเร็ว และมองหาบริษัทที่จะเข้ามาแก้ปัญหาทางธุรกิจของกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ จากทั่วทั้งภูมิภาค
โครงการอื่น ๆ ที่ผ่านมาอาจจะเป็นเพียงแค่การอบรมในห้องเรียนและการนำเสนอเท่านั้น แต่โครงการนี้เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้กลุ่มสามารถอัพได้มีโอกาสมาทดลองในตลาดจริงและเข้ามานำเสนอออกมาเป็นผลลัพธ์จริง
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) ระบุว่า กลุ่ม CPF เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีการส่งออกและการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการเกษตรเพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่านมากลุ่มเจริญโภคภัณฑ์เคยเป็นบริษัทเล็กมาก่อนดังนั้นจึงทำให้บริษัทมีความเข้าใจบริษัทขนาดเล็ก
ปัจจุบันสาเหตุจำเป็นจะต้องเข้ามาสนับสนุนกลุ่มบริษัทสตาร์ทอัพ คือเมื่อเป็นองค์กรขนาดใหญ่แล้วก็ทำให้การบริหารงานบางอย่างมีปัญหาและใช้ระยะเวลานานมากขึ้น ดังนั้นจึงมองว่าการมองหากลุ่มสตาร์ทอัพ ที่เข้ามาแก้ไขปัญหาในจุดนี้ก็เป็นทางเลือกที่ทำให้บริษัทประหยัดเวลามากขึ้นและเป็นการสนับสนุนบริษัทสตาร์ทอัพที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาบริษัทมากยิ่งขึ้น

นายภีม เพชรเกตุ CEO และผู้ก่อตั้ง PEAK ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพผู้ให้บริการด้านบัญชีและการให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย ระบุว่า บริษัทก็เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ True Incube ได้พัฒนาขึ้นซึ่งการได้เข้ามาร่วมในโครงการนี้ถือเป็นหนึ่งในการเรียนรู้ที่ก้าวกระโดดเพราะเมื่อ เข้าร่วมโครงการแล้วก็จะได้รับคำแนะนำและคำปรึกษารวมถึงการทดลองจริงในสถานการณ์และสภาพแวดล้อมจริง บริษัทที่เข้าร่วมโครงการก็สามารถที่จะเข้าใช้บริการการให้คำปรึกษาและการตรวจสอบบัญชีที่มีประสิทธิภาพของบริษัทที่จะเข้ามาช่วยในการดำเนินความสะดวกและสร้างภาพวาดล้อมที่เหมาะสมในการพัฒนาให้แก่กลุ่มลับใหม่ๆอื่นๆ
ดร.ธีระพล กล่าวทิ้งท้ายว่า ในปีนี้มีการนำเสนอที่ชนะโครงการไปดูงานในยุโรปซึ่ง จะทำให้บริษัทสตาร์ทอัพ ไทยได้เห็นว่าบริษัทสตาร์ทอัพในต่างประเทศ มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆอย่างไร ซึ่งในครั้งนี้ทางผู้จัดมีการนำทีมกฎหมายเข้ามาให้ความรู้และให้คำปรึกษาในการพัฒนา เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินก็เป็นหนึ่งในเรื่องที่มีกฎและข้อบังคับมากมายดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายที่ดีเช่นกัน ซึ่งในระดับมหาวิทยาลัยก็สามารถที่จะสมัครเข้ามาได้ แต่สำหรับบริษัทสตาร์ทอัพ รุ่นใหญ่ที่จะเข้ามาร่วมโครงการในครั้งนี้จำเป็นที่จะต้องจดทะเบียนบริษัทและมีทีมอย่างน้อย 5 คนก็สามารถสมัครเข้ามาได้