ในยุคที่ใคร ๆ ก็พูดถึงสตาร์ตอัพ องค์กรหนึ่งที่ขยับตัวไปพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ด้วยแนวคิดแบบสตาร์ตอัพ คือ SCG ที่ใช้สตาร์ทอัพค้นหาวิธีการสร้างรายได้และผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
อาร์ท-อภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer บริษัท SCG Cement-Building Materials จำกัด (SCG-CBM) กล่าวถึง การลงทุนในสตาร์ตอัพของบริษัท ระบุว่า ปัจจุบันการลงทุนในสตาร์ตอัพแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ สตาร์ตอัพที่เข้าไปลงทุน , สตาร์ตอัพที่พัฒนาขึ้นมาเอง ด้วยการบริหารงานแบบสตาร์ตอัพ หรือ Micro-Enterprise แล การเข้าไปร่วมทุนโดยลงทุนผ่าน SCG Venture
ปัจจุบันสตาร์ตอัพที่ SCG พัฒนาขึ้นมาภายใน มีทั้งหมด 3 แบบ คือ Zero to One ซึ่งลงทุนโดย SCG ใหญ่ ขณะที่ของ CBM เองก็มีในส่วนของ Nexter ที่ดูแลในส่วนของ Micro-Enterprise กว่า 10 ที่ และส่วนสุดท้ายอยู่ภายใต่ Living Solution Business (LSB) ซึ่งเป็นรูปแบบของ Micro-Enterprise ที่พยายามหาน้ำบ่อใหม่ในจุดต่าง ๆ เช่น สุขภาพ ที่อยู่อาศัย และ Smart Living
แม้จะกระจัดกระจาย แต่อยู่ในแผน Divide and Conquer (แยกตัวและยึดครอง) ในการหาธุรกิจใหม่ ซึ่ง ณ ตอนนี้วิธีการที่เร็วที่สุด คือ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ในช่วงแรก Innovation จะเรียกว่า Quick and Dirty คือ ทดลองอะไรใหม่ ๆ ให้เยอะที่สุด เรียนรู้ให้เร็วที่สุด และวิเคราะห์ผลให้เร็วที่สุด และช่วงที่ 2 คือการ Scale-Up ในการพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์หลังจากรู้แล้วสิ่งนั้น ๆ ดี
วิธีการทำสิ่งเหล่านั้น คือ การแตกเป็นทีมเล็ก ๆ โดยให้แต่ละทีมสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง มีอิสระมากที่สุด มีเกณฑ์วัดผลที่ชัดเจน และมีคนจากทุกส่วนที่จะทำให้องค์กรพัฒนาได้ ตอนนี้ CBM เองก็มีกว่า 10 ทีมที่ทำสิ่งเหล่านี้ สาเหตุที่ต้องมีเยอะเพราะว่า โอกาสที่จำสำเร็จเพียงแค่ ร้อยละ 10 ซึ่งองค์กรที่ทำได้สำเร็จ คือ องค์กรที่ลองได้เยอะที่สุด ถูกที่สุด และสำเร็จก่อน และข้อเรียนรู้จากทีมที่ไม่ประสบความสำเร็จก็สามารถนำไปต่อยอดในทีมอื่น ๆ ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถ้าไม่แยกออกจากองค์กรใหญ่จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากและรวดเร็วพอต่อการเปลี่ยแปลง
สำหรับ อาร์ท-อภิรัตน์ มองว่าตอนนี้ Digital Office ของ SCG-CBM บริหารงานเหมือนกับบริษัทด้านเทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วย 3 อย่าง คือ Design , Business และ เทคโนโลยี ดังนั้น จะทำให้สามารถออกสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ได้ตามความต้องการของลูกค้า โดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ ใช้ความรู้สึดให้น้อยลง ที่ส่งจากลูกค้ามาหาผู้ผลิตโดยตรง ซึ่งในอดีตบางครั้งข้อมูลเหล่านี้ถูกส่งมาไม่ถึงมือผู้ผลิต
เวลาองค์กรต่าง ๆ พูดถึง Data Driven Organization พนักงานจะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวมาก และอาจจะมองว่าเป็นเรื่องของ Data Scientist แล้วต้องหาตำแหน่งนี้มาไว้ในองค์กร แต่ความจริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้น ถ้า Data Driven Organization จริง ๆ ในการประชุมไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ การพูดคุยก็ควรเอาข้อมูลมาพูดคุยกัน ซึ่งเมื่อการประชุมสามารถนำข้อมูลมาถกเถียงกันได้ จะนำไปสู่ Data Citizen และสามารถต่อยอดไปถึง Data Analysis และการคาดการณ์อนาคต ซึ่งหากทุกคนตั้งแต่ในโรงงานไปจนถึงในโต๊ะทำงานทำงานด้วยข้อมูลก็จะทำให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปได้ด้วยข้อมูลจากลูกค้าจริง ๆ
ทั้งนี้ งบ Research & Development ใน SCG-CBM ไม่ได้ตกมาอยู่กับ Digital Office ทั้งหมด งบส่วนใหญ่ของ R&D จะลงไปอยู่ที่การพัฒนาเทคโนโลยีให้สนับสนุนธุรกิจหลักของ SCG และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งงบของ Digital innovation เป็นส่วนหนึ่งในนั้น