ภาพรวมยอดขายตลาด รถยนต์ ในประเทศไทยสะสม 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.) ของปี 2563 มียอดขายรวมอยู่ที่ 230,173 คัน ลดลง 34.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน แต่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศและในระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์
สำหรับรายละเอียดยอดขายรวมของแต่ละตลาดสะสม 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.) ของปี 2563 มีดังนี้
1.ตลาดรถยนต์นั่ง อยู่ที่ 87,215 คัน ลดลง 36.6%
2.ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ อยู่ที่ 142,958 คัน ลดลง 32.6%
3.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน อยู่ที่ 113.696 คัน ลดลง 34.6%
ขณะที่ ยอดขาย รถยนต์ ในประเทศไทยเฉพาะเดือน เม.ย. มียอดขายรวมอยู่ที่ 30,109 คัน ลดลง 65% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ที่ภาครัฐฯ ได้ออกมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ทำให้หน่วยงานต่างๆ ได้ออกมาตรการการทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) และผู้บริโภคมีความระมัดระวังการใช้จ่ายและชะลอการพิจารณาซื้อรถใหม่ รวมถึงความไม่แน่นอนในอนาคตส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเกิดการชะลอตัว และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์
สำหรับรายละเอียดยอดขายรวมของแต่ละตลาดเฉพาะเดือน เม.ย. ของปี 2563 มีดังนี้
1.ตลาดรถยนต์นั่ง อยู่ที่ 8,830 คัน ลดลง 74.7%
2.ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ อยู่ที่ 21,279 คัน ลดลง 58.4%
3.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน อยู่ที่ 16,733 คัน ลดลง 59.4%
ด้านยอดขายรถยนต์เดือน เม.ย. 2563 เปรียบเทียบกับเดือน เม.ย. 2562 ของแบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆ มีดังนี้
1.โตโยต้า มียอดขายอยู่ที่ 11,084 คัน ลดลง 58.9%
2.อีซูซุ มียอดขายอยู่ที่ 6,865 คัน ลดลง 55.4%
3.ฮอนด้า มียอดขายอยู่ที่ 2,648 คัน ลดลง 76.6%
4.มิตซูบิชิ มียอดขายอู่ที่ 2,019 คัน ลดลง 69.7%
5.นิสสัน มียอดขายอยู่ที่ 1,804 คัน ลดลง 62.2%
6.มาสด้า มียอดขายอยู่ที่ 1,012 คัน ลดลง 83.4%
7.ซูซูกิ มียอดขายอยู่ที่ 1,114 คัน ลดลง 46.1%
8.ฟอร์ด มียอดขายอยู่ที่ 1,207 คัน ลดลง 73.1%
9.เอ็มจี มียอดขายอยู่ที่ 1,156 คัน ลดลง 48.2%
10.เชฟโรเลต มียอดขายอยู่ที่ 476 คัน ลดลง 62.1%
ส่วนทางด้าน เมอร์เซเดส–เบนซ์, บีเอ็มดับเบิลยู และ วอลโว่ มียอดขายในเดือน เม.ย. อยู่ที่ 0 คัน หรือลดลง 100% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าจะมาจากสาเหตุการไม่ส่งรายงานตัวเลขยอดขายในเดือนดังกล่าวของปีนี้
อย่างไรก็ตาม เดือน พ.ค. ทางภาครัฐฯ ได้มีการผ่อนปรนมาตรการปิดเมือง ปรับเวลาเคอร์ฟิว แต่ยังคงให้ประชาชนเฝ้าระวังการใช้ชีวิตตามมาตรการความปลอดภัยเพื่อช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ลดความตึงเครียดในการใช้ชีวิตของประชาชน ที่สำคัญหลายค่ายรถยนต์ได้กลับมาเปิดสายการผลิตอีกครั้ง ทำให้แนวโน้มตลาดรถยนต์ในเดือน พ.ค. มีทิศทางดีขึ้นจากเดือน เม.ย.
ที่มา : บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ส่งออกรถยนต์ เม.ย. ร่วง 69.71% เหตุโควิด-19 กระทบประเทศคู่ค้า