แผนแม่บท MR-MAP พัฒนา “มอเตอร์เวย์คู่รถไฟ” 10 เส้นทาง
น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเพื่อวางรากฐานในการพัฒนาประเทศ รองรับการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

ทำให้หลายโครงการมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องจนเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นที่ประจักษ์ ทั้งทางถนน และทางราง ทั้งนี้ยังได้ติดตามอย่างใกล้ชิดในแผนพัฒนาต่อไปเพื่อรองรับอนาคต ซึ่งล่าสุดกรมทางหลวง รายงานสรุป (ร่าง) แผนแม่บททางหลวงพิเศษระหว่างเมือง การศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Pre-Feasibility Study) ภายใต้การศึกษาแผนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) และระบบราง (Motorway-Rail Map) หรือ MR-MAP ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2564 กำหนดส่งผลการศึกษาปลายปี 2566 นี้ จากนั้นจะนำเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบโครงการตามผลศึกษาต่อไป
น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ทั้งนี้การศึกษาแผนแม่บท MR-MAP เป็นการปรับปรุงแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองปี 2559 บูรณาการกับแผนพัฒนาระบบราง โดยวางแผนการพัฒนาพร้อมกัน แต่ไม่จำเป็นต้องก่อสร้างพร้อมกัน โดยขึ้นอยู่กับแผนปฏิบัติการของหน่วยงานที่รับผิดชอบแต่ละโครงการ ซึ่งการวางแผนและก่อสร้างมอเตอร์เวย์ควบคู่กับทางรถไฟไปพร้อมกัน จะทำให้ใช้เขตทางที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ ทั้งโครงการมอเตอร์เวย์ และรถไฟเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการจราจรและขนส่งสูงสุด และเชื่อมโยงโครงข่ายกับประเทศเพื่อนบ้าน เพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุน ลดการเวนคืนพื้นที่ และการแบ่งแยกชุมชน สามารถพัฒนาความเจริญไปสู่พื้นที่ใหม่ ปรับปรุงการเชื่อมต่อโครงข่าย เพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค
M-MAP 2 กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ครอบคลุม 33 เส้นทาง
น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่งของประเทศ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยในส่วนของโครงข่ายรถไฟฟ้า ได้ผลักดันให้มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

ตามแผน M-MAP เดิมส่งผลให้ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้เปิดให้บริการแล้ว 242.34 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง105.40 กิโลเมตร อย่างไรก็ตามด้วยสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมการเดินทางของประชาชนที่เปลี่ยนไป จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทำแผนแม่บทโครงข่ายรถไฟฟ้าฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับปัจจุบัน น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า กรมการขนส่งทางรางได้รายงานผลการดำเนินการ “โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2”หรือ M-MAP 2 เพื่อต่อยอดแผน M-MAP เดิม ให้มีความครอบคลุม สอดคล้องกับแนวโน้มการเติบโตของเมืองในอนาคต และตอบสนองความต้องการในการเดินทางของประชาชนอย่างแท้จริง
“รถไฟไทยทำ” ผลสำเร็จโครงการวิจัยและพัฒนารถไฟต้นแบบ
น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ไม่เพียงแต่เดินหน้าโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เพื่อยกระดับเมือง ยกระดับคุณภาพชีวิตพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่องแล้ว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังมุ่งมั่นผลักดันนโยบาย Thai First ของรัฐบาลในการสนับสนุนและส่งเสริมให้ใช้ผลิตภัณฑ์สินค้าที่ผลิตในประเทศ

โดยเฉพาะกับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบรางของประเทศที่ต้องการให้มีตัวรถไฟที่จะมีการซื้อ-ขาย ในอนาคต โดยมีเป้าหมายให้ต้องมีส่วนประกอบหรือชิ้นส่วนผลิตในประเทศ (Local Content) ไม่น้อยกว่า 40% จากเดิมที่มีการนำเข้าสินค้าประเภทตัวรถไฟและส่วนประกอบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึง 2561 มีมูลค่าสูงถึง 80% เมื่อเทียบกับมูลค่ารวมของสินค้าทุกประเภทในระบบราง ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ว่าต่อจากนี้ไปอีก 20 ปี จะมีความต้องการตู้รถไฟโดยสารไม่น้อยกว่า 2,425 ตู้ จากการเพิ่มขึ้นของทางรถไฟที่รัฐได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารถไฟต่อตู้ เฉลี่ยตู้ละ 50 ล้านบาท รวมมูลค่าสำหรับตลาดการผลิตตู้รถไฟโดยสารประมาณ 100,000 ล้านบาท
กรมการขนส่งทางราง เผยวันหยุดมีผู้ใช้บริการเกินแสนคน
นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวาน (วันที่ 28 กรกฎาคม 2566) ซึ่งเป็นวันแรกของวันหยุดต่อเนื่อง ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม 2566 – 2 สิงหาคม 2566 มีประชาชนใช้บริการระบบราง รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,076,546 คน-เที่ยว (ไม่รวมผู้โดยสารรถไฟทางไกลต่อสายสีแดงฟรี 28 คน)

แบ่งเป็น รถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 101,416 คน-เที่ยว และรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและรถไฟชานเมือง จำนวน 975,130 คน-เที่ยว โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. รถไฟระหว่างเมืองของ รฟท. ให้บริการรวม 226 ขบวน มีผู้ใช้บริการจำนวน 101,416 คน-เที่ยว สูงสุดตั้งแต่มีสถานการณ์ covid-19 แบ่งเป็นผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ 39,688 คน-เที่ยว และเชิงสังคม 61,728 คน-เที่ยว โดยมีผู้โดยสารขาออกจำนวน 55,006 คน-เที่ยว และผู้โดยสารขาเข้า 46,410 คน-เที่ยว
โดยพบว่า สายใต้มีผู้ใช้บริการมากสุดถึง 33,314 คน-เที่ยว (ผู้โดยสารขาออก 18,430 คน-เที่ยว ผู้โดยสารขาเข้า 14,884 คน-เที่ยว) รองลงมาคือสายตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ใช้บริการ 26,741 คน-เที่ยว (ผู้โดยสารขาออก 14,664 คน-เที่ยว ผู้โดยสารขาเข้า 12,077 คน-เที่ยว)
สายเหนือ 21,584 คน-เที่ยว (ผู้โดยสารขาออก 11,084 คน-เที่ยว ผู้โดยสารขาเข้า 10,500 คน-เที่ยว) สายตะวันออก 12,211 คน-เที่ยว (ผู้โดยสารขาออก 6,960 คน-เที่ยว ผู้โดยสารขาเข้า 5,251 คน-เที่ยว) และสายแม่กลองและมหาชัย 7,566 คน-เที่ยว (ผู้โดยสารขาออก 3,868 คน-เที่ยว ผู้โดยสารขาเข้า 3,698 คน-เที่ยว)
2. ระบบรถไฟฟ้า ให้บริการเดินรถไฟฟ้ารวม 2,433 เที่ยว มีผู้ใช้บริการรวมจำนวน 975,130 คน-เที่ยว ประกอบด้วย รถไฟฟ้า Airport Rail Link ให้บริการ 174 เที่ยว จำนวน 50,882 คน-เที่ยว รถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ให้บริการ 230 เที่ยว จำนวน 16,121 คน-เที่ยว (ไม่รวมผู้โดยสารรถไฟทางไกลต่อสายสีแดงฟรี 28 คน)
รถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) 216 เที่ยว จำนวน 37,158 คน-เที่ยว รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) 278 เที่ยว จำนวน 247,701 คน-เที่ยว รถไฟฟ้าสายสีเหลือง 216 เที่ยว จำนวน 56,907 คน-เที่ยว และรถไฟฟ้าบีทีเอส (สีเขียวและสีทอง) ให้บริการรวม 1,319 เที่ยว มีผู้ใช้บริการจำนวน 566,361 คน- เที่ยว (สายสีเขียว 556,080 คน-เที่ยว และสายสีทอง 10,281 คน-เที่ยว)
สำหรับด้านความปลอดภัย มีเหตุอันตรายต่อการเดินรถไฟ 2 ครั้ง ประกอบด้วย เมื่อเวลา 10.09 น.ขบวนรถเร็วที่ 169 จากต้นทางสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ ปลายทางสถานีสุไหงโกลก ขณะทำขบวนรถถึงกิโลเมตรที่ 1099 ภายในย่านสถานีตันหยงมัส มีผู้โดยสารชายอายุ 27 ปี พลัดตกจากขบวนรถได้รับบาดเจ็บคิ้วขวาแตก มีตั๋วโดยสารชั้น 3 จาก ยะลา – สุไหงโกลก เจ้าหน้าที่สถานีได้ประสานงานการช่วยเหลือ และนำตัวส่งโรงพยาบาลระแงะ จังหวัดนราธิวาส เรียบร้อย
กฎหมายไซเบอร์ตรวจเข้มมิจฉาชีพออนไลน์ กำจัดบัญชีม้าก่อนถูกหลอก
น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห่วงใยประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ กำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการความร่วมมือเพื่อดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์อย่างจริงจัง และเด็ดขาด และหาแยวทางเพิ่มประสิทธิภาพอย่างเข้มข้น

จากที่ผ่านมาได้มีการผลักดันพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 เพิ่มอำนาจการยับยั้งธุรกรรมที่อาจเป็นการหลอกลวงประชาชนได้ทันท่วงทีให้กับธนาคาร จากเดิมประชาชนที่โดนหลอกให้โอนเงินต้องไปแจ้งความกับตำรวจก่อนจึงแจ้งมายังธนาคารให้ดำเนินการอายัดบัญชี แต่ปัจจุบันกฎหมายดังกล่าวทำให้ธนาคารสามารถยับยั้งธุรกรรมได้ภายใน 72 ชั่วโมงสามารถลดการสูญเสียทรัพย์สินได้มาก จากปัจจุบันกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือ ดีอีเอสสถิติการแจ้งความร้องเรียนอยู่ที่ 600 รายการต่อวัน ลดลงจากวันละ 800 รายการ นับตั้งแต่มีการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ สำหรับเรื่องร้องเรียนและคดีความเฉลี่ย 600 รายการต่อวันนั้น แบ่งเป็น 2 ประเภท 1.การหลอกให้โอนเงินในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการโทรศัพท์หลอกลวง ส่งข้อความฝังลิงก์สแกม หรือแฮกโทรศัพท์ และ 2.การขายสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซที่ไม่ตรงปก
น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ระบบการระงับธุรกรรมของธนาคารปัจจุบันยังใช้แบบ manual โดยประชาชนที่ถูกหลอกลวงแจ้งไปยังธนาคารต้นทาง และธนาคารต้นทางแจ้งต่อธนาคารที่รับโอนเป็นทอด ๆ กรณีมิจฉาชีพวางแผนมาอย่างดีเพียง 1 นาทีอาจโอนออกไปได้หลายบัญชีทำให้อาจระงับไม่ทันนั้น เรื่องนี้ สมาคมธนาคาร และธนาคารแห่งประเทศไทย กำลังพัฒนาแพลตฟอร์ม รองรับการทำธุรกรรมผ่านธนาคารที่มีความปลอดภัยสูง และป้องกันการหลอกลวงผ่านออนไลน์ ที่เรียกว่า central fraud registry ซึ่งถ้าระบบดังกล่าวแล้วเสร็จจะสามารถตรวจจับธุรกรรมผิดปกติได้ทั้งระบบโดยไม่ต้องแจ้งเป็นทอด ๆ เช่น การโอนเงินต่อเนื่องหลายบัญชี โอนไปในบัญชีเสี่ยง บัญชีม้า เหล่านี้จะถูกตรวจสอบทั้งระบบโดยอัตโนมัติทำให้ยอดการแจ้งความร้องเรียนอาชญากรรมออนไลน์ลดลงได้อีก