ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) จะเน้นพัฒนา 5 กลุ่มอุตสาหกรรม เป้าหมาย คือ
- การพัฒนาซอฟท์แวร์ที่มีมูลค่าสูง อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยต้องพัฒนาเข้าสู่ High Valued Software
- ต้องมีการพัฒนาอุปกรณ์อัจฉริยะ หรือ Smart Device แทนการนำเข้า
- ต้องเป็นผู้ออกแบบและผลิตสินค้าใน telecommunicaiton supply chain
- Digital Services ซึ่งในไทยมีสตาร์ทอัพจำนวนมากทำบริการด้าน B2B ด้าน Fintech และ Health Tech หากประเทศไทยวางยุทธศาสต์ให้ทำ Digital Service บนพื้นฐานที่มี ได้แก่ เกษตร ผลิต และการท่องเที่ยว ประเทศไทยจะกลายเป็น Hub ของภูมิภาคได้
- Digital Content เรื่องเกม แอนนิเมชั่น และบิ๊กดาต้า

พื้นที่ 800 ไร่ดีป้ารับผิดชอบมา 500 กว่าไร่ หรือ 100,000 ตารางเมตร โดยจะแบ่งพื้นที่ใน EEC ออกเป็น 2 ส่วน คือ ดีป้าทำเองในพื้นที่ 30 ไร่ ส่วนอีก 500 กว่าไร่ให้เอกชนเข้ามาลงทุน โดยจะสร้าง 30 ไร่ให้เป็น Thailand Digital Valley ส่วนอีก 500 ไร่จะทำเป็น Production Base ของภาคอุตสาหกรรม ทั้ง 5 กลุ่มอุตสาหกรรมข้างต้น
โดยพื้นที่ 30 ไร่ พัฒนามาเพื่อให้สตาร์ทอัพทั้งฝั่งที่ผลิตฮาร์ดแวร์กับซอฟท์แวร์มาเจอกัน และชวนบริษัทขนาดใหญ่ที่ผลิตเทคโนโลยีหรือแพลตฟอร์มเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ให้สตาร์ทอัพได้ทำงานร่วมกันเพื่อหาโซลูชั่นขยายตลาดในประเทศไทยและในอาเซียน และไม่ได้ทำมาเฉพาะคนไทย แต่ให้เป็นแหล่งรวมสตาร์ทอัพจากทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันเริ่มก่อสร้างแล้ว โดยคาดว่าจะเสร็จในปี 2564
ด้านนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า การจัดงาน Digital Thailand Big Bang 2019 เป็นเหมือนสะพานเชื่อมให้ประชาชนเข้าถึงและสัมผัสประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลได้ง่ายยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดการต่อยอดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้ยั่งยืน ควบคู่กับการแสดงให้ต่างประเทศได้เห็นถึงความพร้อมของประเทศไทยที่จะก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ มีความเชื่อมั่น และนำไปสู่การลงทุนในประเทศในที่สุด