LINE เผยคนไทยอ่านหนังสือถึง 36,000 บรรทัดต่อปี ชี้บทความที่คนไทยยอมอ่านในมือถือ คือ เลื่อน 4 ครั้งแล้วต้องจบ ถ้าไม่จบเขาจะไม่อ่านต่อ ขณะที่ซีรีย์ออนไลน์ต้อง 8-10 ตอน ตอนละ 45 นาที
กณพ ศุภมานพ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจคอนเทนท์ LINE ประเทศไทย กล่าวถึง วิธีที่คนไทยบริโภคเนื้อหาดิจิทัล (How Thais consume contents digitally) ในงาน Thailand Zocial Award 2020 ระบุว่า จากจ้อมูลพบว่า คนไทยเสพย์คอนเทนต์น้อยลง แต่สิ่งที่น้องลงคือการเสพย์ผ่านทีวีและในอีก 5 ปี จะมีอัตราส่วนระหว่างการเสพย์สื่อจากโลกออนไลน์มากขึ้นเป็นอัตราส่วนแบบครึ่งต่อครึ่ง ซึ่งในปี 2014 มีจำนวนการรับชมคอนเทนต์อยู่ถึง 70 ชั่วโมงต่อปี และในปี 2018 เพิ่มเป็น 75 ชั่วโมง และอัตราส่วนระหว่างออนไลน์กับทีวีคือ ร้อยละ 30 ต่อ 70
ซึ่งเวลาที่เราพูดว่า “ไม่มีอะไรดู” ประโยคเต็ม ๆ คือ “ไม่มีอะไรดูในตอนที่เราอยากดู” ซึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดคือ คนในแต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีการเสพย์สื่อในรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งในอดีตเราไม่สามารถควบคุมคอนเทนต์ที่ถูกส่งออกมาได้ว่าจะดูอะไร แต่เมื่อมีแพลตฟอร์ม OTT สิ่งเหล่านี้จะเป็นเรื่องที่แตกต่างออกไปเลย จากตัวเลขของไลน์ทีวี คือ มีผู้ชมส่วนหนึ่งเลือกที่จะดูสดหรือวันเดียวกันที่ฉาย และก็จะมีคนอีกกลุ่มหนึ่งรอให้จบเรื่องก่อนแล้วย้อนกลับมาดูทีเดียว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนมีอำนาจในการตัดสินใจว่าจะดูอะไรมากขึ้น
จำนวนตอนที่เหมาะสมของซีรีย์/ละคร บนโทรทัศน์ คือ 16-24 ตอน ตอนละ 90 นาที และบนโลกออนไลน์ 8-10 ตอน ตอนละ 45 นาที ขณะเดียวกัน ไลน์ทีวี ไม่ได้มาแย่งลูกค้า แต่ แต่ละแพลตฟอร์มสามารถที่จะส่งเสริมซึ่งกันและกันได้ เช่น ละครที่รีรันบนแพลตฟอร์มไลน์ทีวี ก็ส่งเสริมให้รายการสดมีคนดูมากขึ้น
ขณะที่แพลตฟอร์มออนไลน์ไม่ได้จำกัดเฉพาะคนรุ่นใหม่อีกต่อไป กว่าร้อยละ 60 บนไลน์ทูเดย์ อ่านบทความจนจบ และเฉลี่ย 36,000 บรรทัดต่อปี แปลว่า หากเรามีคอนเทนต์ที่ดีคนจะอ่านจนจบ ซึ่งพฤติกรรมของคนที่อ่านบนมือถือ คนไทยจะยอมเลื่อนเพียง 4 ครั้งเท่านั้น หากเกิน 4 ครั้งแล้วยังไม่จบคนก็จะหมดความสนใจในบทความนั้ยไป สิ่งคนไทยอ่านมากที่สุดใน 3 หมวดหมู่คือ ข่าวทั่วไป , ข่าวบันเทิง และ ดวง ซึ่งช่วงเช้าจะเป็นช่วงเวลาที่คนอ่านเรื่องดวงมากที่สุดในแต่ละวัน และช่วงก่อนนอนเป็นช่วงที่คนอ่านเรื่องยาว ๆ ได้ดีที่สุด