“Chaos Theory” แพลตฟอร์มข้อมูลสำหรับนักการตลาด เชื่อมโยงคีย์เวิร์ด วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า ช่วยผู้ประกอบการให้ทำการตลาดได้แม่นยำขึ้น ผู้บริหารมองเข้ามาเติมเต็มมากกว่า “โซเชียล มอนิเตอร์” ย้ำไม่ซ้ำรอย “Cambridge Analytica” ใช้แค่ข้อมูลสาธารณะ(Public Data) เท่านั้น
นายกษมาช นีรปัทมะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Chaos Theory ระบุว่า จากการบริหารในโลกดิจิทัลมากว่า 10 ปี โดยได้แรงบัลดาลใจจากการเห็นบึงในสนามกอล์ฟกระเพื่อม และเป็นวันเดียวกับสึนามิเข้า ดังนั้นจึงเป็นที่มาของบริษัท ภายใต้ทฤษฎี “เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว” ที่มีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นบริษัทที่ให้บริการทางด้านข้อมูล(Data company) ซึ่งสามารถทำนายอนาคตได้ โดยมีสโลแกนว่า “We predict audience”(เราทำนายอนาคตลูกค้าได้) โดยหากมองเรื่องราวต่างๆในสังคมเพียงผิวเผินอาจมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดเดาได้ แต่ถ้าหากสามารถเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลบนโลกดิจิทัลได้เพียงพอก็จะสามารถทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าใจผู้บริโภคได้มากขึ้น และเชื่อว่าจะสามารถทำนายพฤติกรรมในอนาคตของผู้บริโภคได้ โดยให้บริการทางด้านข้อมูลกับผู้ประกอบการในการรับฟังปัญหาของผู้บริโภคและข้อมูลต่างๆเพื่อทำนายพฤติกรรมและจัดทำข้อมูลทางการตลาด

นายฉกาจ ชรายุทธ ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้ดูแลด้านวิสัยทัศน์ ระบุว่า จากการศึกษาดูงานในต่างประเทศ พบว่า การตลาดในสหรัฐฯ-ยุโรป ก้าวไปไกลมากน้อยแค่ไหน สำหรับ Chaos Theory (ทฤษฎีไร้ระเบียบ) เป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงลักษณะพฤติกรรมของระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงยังไม่มีรูปแบบ ทำให้ยากต่อการคาดเดา ดังนั้นการวิเคราะห์ทฤษฎีที่ออนไลน์ระเบียบนี้หากสามารถวิเคราะห์ได้ถูกต้องก็จะสามารถที่จะไขปริศนาต่างๆในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้ ในต่างประเทศมีการใช้ทฤษฎีนี้มีการใช้จริงในต่างประเทศ เช่น กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่วิเคราะห์ทวิตเตอร์ของ ประธานธิบดีสหรัฐ เพื่อเกร็งกำไร เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาในอดีตเป็นการทำการตลาดจากการเก็บข้อมูลย้อนหฃังและมองไม่เห็นอนาคต ดังนั้ยในอนาคตข้อมูลย้อนหลังจึงไม่มีประโยชน์อีกต่อไป แต่การเก็บข้อมูลจากหลายๆแห้ง และวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าจะสามารถใช้ทำนายได้
ซึ่งจากข้อมูลนักการตลาดทั่วโลกถึง ร้อยละ 55 ต้องการที่จะได้ข้อมูลที่เป็นประโยขน์และเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น ซึ่งร้อยละ 73 ของผู้บริโภคปัจจุบัน ต้องการการลงรายละเอียดในส่วนบคคลมากขึ้น (Persionalize)มากขึ้น และบริษัทถึง ร้อยละ 93 รู้ว่าการลงรายละเอียดในระดับบุคคลจะทำให้บริษัทเติบโต ซึ่งนักการตลาดส่วนใหญ่มักมองที่อายุและเพศเหมือนกัน แต่ความจริงแล้วแม้ลูกค้าจะทำอะไรเหมือนๆกัน แต่ในเชิงจิตวิทยาแทบจะเป็นไปได้ยากที่ลูกค้าจะคิดเหมือนกันทุกคน ซึ่งข้อมูลส่วนหนึ่งระบุว่า ร้อยละ 85 รู้สึกว่าโฆษณาไม่ได้มีผลต่อชีวิตประจำวันเขาเลย

ซึ่งปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่มักมีปัจจัย 3 อย่างที่จะเข้ามามีผลในการตัดสินใจ คือ การซื้อโดยอัตโนมัติ , การมีบางอย่างมากระตุ้น และอคติส่วนตัว
โดยบริษัทฯใช้การจัดแบ่งกลุ่มพฤติกรรมลูกค้าของผู้ประกอบการ ด้วยหลัก OCEAN ตามมาตรฐานสากลมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของผู้บริโภคชาวไทย ซึ่งแบ่งบุคลิกภาพของคนออกเป็น 5 แบบ
- Openess : เป็นกลุ่มบุคคลที่ชอบเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆและมีความรู้ลึกซึ้ง-ไฝ่รู้ รวมถึงจินตนาการสูง
- Conscientiousness : เป็นกลุ่มบุคคลที่เจ้าระเบียบ รอบคอบ ชอบวางแผน มีวินัย เชื่อถือได้ และมีความพิถีพิถันสูง
- Extraversion : เป็นกลุ่มบุคคลที่มั่นใจในตัวเอง กระตือรือร้น ชอบเข้าสังคม และมีทักษะในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสูง
- Agreeableness : เป็นกลุ่มบุคคลที่เป็นมิตร มีน้ำใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
- Neoroticism : เป็นกลุ่มบุคคลที่อ่อนไหว อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายและมักมีความกังวลสูง
ทำให้ Chaos Theory รู้ว่ากลุ่มลูกค้าของผู้ประกอบการที่ใช้บริการรู้ว่า ลูกค้าจองเขาเป็นใครและมีความสนใจอย่างไร โดยการเก็บข้อมูลจาก ข้อมูลสาธารณะ(Public Data) โดยสิ่งที่ทำให้เราต่างจากคนอื่นคือมีการเก็บข้อมูลสภาพตลาด เช่น ตลาดหุ้น , ตลาดโลก , ข่าว หรือ ราคาน้ำมัน มีผลกับผู้บริโภคอย่างไร ซึ่งระบบของบริษัท มีการวิเคราะห์ลูกค้าของผู้ประกอบการจริงๆ ซึ่ง บางครั้งการตลาดแบบไวรัล อาจไม่ได้ไวรัลและสร้างผลบวกกับลูกค้าจองผู้ประกอบการจริงๆ
โดย Chaos Theory ให้บริการใน 4 บริการหลัก ได้แก่
- Cognitive Platform : ใช้เพื่อมองหากลุ่มเป้าหมายของผู้ประกอบการรายนั้นๆว่าเป็นใครมีความน่าสนใจอย่างไรและมีบุคลิกลักษณะเป็นอย่างไรและในอนาคตจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด เพื่อช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- Psychologic Insight : ใช้เพื่อทำนายพฤติกรรมของผู้บริโภคในกลุ่มต่างๆที่ผู้ประกอบการได้มีการแบ่งไว้ นอกจากนี้แล้วยังมีการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การเคลื่อนไหวทางสังคม หรือ Social movement เมื่อมีประเด็นที่กำลังร้อนแรงในสังคมเข้ามาในระบบจะมีการวิเคราะห์ข้อมูลว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไรและมีการแพร่กระจายมากเร็วแค่ไหนรวมถึงสามารถคาดการณ์ได้ว่าจะจบลงเมื่อไหร่ โดยจะทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้ประเด็นนั้นๆถูกส่งต่อและเป็นที่พูดถึงในสังคม และนำปัจจัยต่างๆเหล่านั้นมาวิเคราะห์ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะสามารถเกิดขึ้นในสังคมอีกครั้งหนึ่งได้อย่างไร โดยมีการให้คำปรึกษาจากนักจิตวิทยามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตรเพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
- Data Analysis : เป็นบริการวิเคราะห์ข้อมูลและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆให้กับผู้ประกอบการที่ใช้บริการ
- Data Research : เป็นงานบริการด้านการวิจัยข้อมูลและให้คำปรึกษาในทุกเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวนั้นๆว่าจะเก็บข้อมูลดังกล่าวอย่างไรด้วยวิธีการใด
ผู้ประกอบการสามารถดึงข้อมูลย้อนหลังได้ถึง 4 ล้านคีย์เวิร์ด และสามารถดึงข้อมูลย้อนหลังได้ถึง 5 ปี ซึ่งบางครั้งผู้ประกอบการอาจเผลอทิ้งข้อมูลอันมีค่าไป เช่น การแชทพูดคุยบนเพจ Facebook ซึ่งสามารถที่จะวิเคราะห์ได้ว่า คนเพศใด คนประเภทไหนชอบถามอะไร และจะนำข้อมูลนี้มาทำได้อย่างไร
ซึ่งในนักการตลาดทั่วโลกพบว่า การเก็บข้อมูลจำนวนมาก สามารถทำนายอนาคตได้จริง เพราะประวัติศาสตร์มักซ้ำรอยเสมอ เช่น ปัจจุบันเราทำนายได้ว่า ทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน คนไทยจะสนใจอะไรมากที่สุด นั่นคือ “สลากกินแบ่งรัฐบาล” ดังนั้นในเรื่องอื่นๆหากมีข้อมูลมากเพียงพอก็จะสามารถทำนายได้ว่าหากเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น อะไรจะตอบกลับมา ในเชิงการเขียนโปรแกรม ภาษาไทย ทำให้การวิเคราะห์อารมณ์จากตัวหนังสือเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะบางครั้งคำที่ไปในเชิงลบ ผสมกับคำที่ไปในเชิงบวกหมายความว่าอะไร ซึ่งความแม่นยำในการทำนายอนาคตถึงร้อยละ 70 ซึ่งที่ผ่านมามีการทำงานร่วมกับเอเจนซี่โฆษณาในการทำการตลาดให้กับบริษัทรถยนต์แห่งหนึ่งพบว่าลูกค้าไม่ได้สนใจเรื่องเครื่องยนต์เลย แต่สนใจเรื่องไลฟ์สไตล์มากกว่า
“หากยกตัวอย่างง่ายๆคือการวิเคราะห์ตลาดหุ่นในการทำนายหุ้นขึ้น-ลง หากธนาคารกลางสหรัฐ หรือ ประธานธิบดีสหรัฐทำอะไรจะทำให้อะไรเกิดขึ้น ดังนั้นเครื่องมือของเราก็เช่นกัน แต่ทำให้มุมมองในการตลาดกว้างมากยิ่งขึ้น”
นายฉกาจ ชรายุทธ ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้ดูแลด้านวิสัยทัศน์ กล่าว
ซึ่งที่ทำให้ต่างจาก “Wisesight” หรือ “Zanroo(แสนรู้)” ตรงที่ว่า 2 บริษัทดังกล่าว เป็นบริษัทที่ใช้ข้อมูลจาก “สังคมออนไลน์” เป็นหลัก ซึ่งของ Chaos Theory ใช้ข้อมูลจากทุกแหล่ง ทั้งเว็บบอร์ด , เซิร์ชเอนจิ้น , เว็บข่าว , ราคาน้ำมัน , ราคาตลาดหุ้น เป็นต้น ซึ่งทำให้ข้อมูลแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยสามารถแบ่งกลุ่มลูดค้าได้ และจัดกลุ่มคำที่คนค้นหาในอินเตอร์เน็ตว่ามีอะไรบ้าง ขณะเดียวกันก็สามารถวิเคราะห์ได้ว่า ใครเป็นผู้นำทางความคิด(Influencer) กับลูกค้าเรามากน้อยเพียงใด ใครคือผู้นำทางความคิดตัวจริงกับแบรนด์เรา บางครั้งการที่มียอดการพูดถึงมากในสังคมออนไลน์แต่กลุ่มลูกค้าไม่ได้เติบโตขึ้นจริงๆ บางครั้งลูกค้าหนึ่งคนอาจะโพสต์ถึง 4 ข้อความ จึงเป็นที่มาของการวิเคราะห์ว่า คีย์เวิร์ด(คำศัพท์) ของลูกค้ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ซึ่งข้อมูลที่ที่ให้กับผู้ประกอบการจะไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ทำให้ไม่ซ้ำรอยกับ Cambridge Analytica ที่มีการเข้าไปในข้อมูลส่วนบุคคลมากกว่า ข้อมูลสาธารณะ (Public Data) จนเกิดเป็นคดีความต่างๆในสหรัฐ
“ผมมีปืนไว้ยิงโจร ไม่ได้มีไว้ยิงคน ดังนั้นจึงวางใจได้ว่าเราไม่มีทางใช้ข้อมูลต่างๆมาทำร้าย ลูกค้าของผู้ประกอบการอย่างแน่นอน”
นายกษมาช นีรปัทมะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Chaos Theory กล่าว
