HomeBT Newsเทรนด์ธุรกิจ ผู้หญิงกับบทบาทนักบริหารใน Digital Disruption

เทรนด์ธุรกิจ ผู้หญิงกับบทบาทนักบริหารใน Digital Disruption

ถึงเวลาเปลี่ยนแปลงและปรับตัว

ถ้าไม่สนับสนุนผู้หญิงให้มีบทบาทนักบริหารเพื่อให้ประเทศทัดเทียมและเท่าทันในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุค Digital Disruption ก็ไม่ต่างอะไรกับออกไปสู้ในสนามด้วยมือเดียว ส่วนอีกมือเอาไปซุกไว้ แม้เทรนด์ธุรกิจของโลกเปลี่ยนไปแล้ว

คำกล่าวนี้ไม่ผิดจากความเป็นจริงในหลายประเทศที่ผู้หญิงยังไม่ได้รับการสนับสนุนให้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งบริหารสำคัญๆ ทั้งที่เราจะสังเกตเห็นได้ว่า ในสถานที่ทำงานทั่วไปมักจะมีพนักงานหญิงเกินกว่า 50% เสมอ

แต่ทำไมถึงมีผู้หญิงจำนวนน้อยที่ได้รับโอกาสก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสำคัญๆ ในฝ่ายบริหาร หรือกระทั่ง CEO เคยมีการประเมินว่า ในบริษัท องค์กร และหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลก มี CEO ที่เป็นผู้หญิงอยู่เพียง 3-4%

“ผู้หญิงมักได้รับค่าจ้างน้อยกว่าเสมอ สังเกตได้เลย ในการสัมภาษณ์งาน คนสัมภาษณ์มักมีแต่ผู้ชาย” โดโรธี ยิว (Dorothy Yiu – Co-founder & COO) ผู้บริหารส่วนปฏิบัติการของ EngageRocket (ซอฟท์แวร์เกี่ยวกับการบริหารงาน) กล่าว

เธอเพิ่มเติมว่า ในสายงาน Technology ที่เธอทำงานอยู่ด้วย และไม่ว่าองค์กรจะใหญ่แค่ไหน เช่น Facebook, Intel, Amazon, Twitter, Microsoft, และ Apple มีผู้หญิงทำงานอยู่ใน ”ตำแหน่งผู้นำ” น้อยกว่า 30% ทั้งนั้น

“ผู้หญิงที่อยู่ในตำแหน่งบริหาร มีความท้าทายสองอย่างที่เธอมักจะเผชิญกันเสมอ คือ การเป็นที่ยอมรับว่าทำงานดีมีประสิทธิภาพ และเป็นคนที่ใครๆ ชอบ” โดโรธีกล่าว

ข่าวดีก็คือ จากเทรนด์ทั่วโลก ผู้หญิงกำลังก้าวเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารในระดับสูงเพิ่มมากขี้น แม้จะยังขยายตัวในอัตราที่ยังช้าอยู่ ปีที่น่าจับตามองที่สุดคือ 2562 นับเป็นปีแรกที่ผู้หญิงได้รับการแต่งตั้งขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารอาวุโส (Senior Management) ได้ถึง 1 ใน 4

สัดส่วนของผู้หญิงในตำแหน่ง Senior Management ในปี 2562 เพิ่มขึ้นเป็น 29% สูงขึ้น 5% จากปี 2561 (24%) ข้อมูลรายงานล่าสุดจาก Grant Thornton บริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจ (Grant Thornton’s Woman in Business Report 2019)

ในภาพรวม แม้ว่าในช่วงห้าปีที่ผ่านมา องค์กรต่างๆ ได้ว่าจ้างผู้หญิงเข้ารับตำแหน่งดังกล่าวอย่างน้อย 1 คน และทิศทางนี้ก็ขยายตัวยิ่งขึ้น แต่ทว่า ในปัจจุบันนี้ ตำแหน่งงานในระดับนี้ มีจำนวนผู้หญิงทำงานอยู่ไม่ถึง 30%

เกิดอะไรขึ้น?
“ผู้หญิงหลายคนบอกว่า ไม่สามารถเข้าถึงเครือข่ายและโอกาสที่เพียงพอในการพัฒนาและส่งเสริมตัวเองเพื่อให้ได้รับการโปรโมท” รายงานดังกล่าวเผย

ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งผู้หญิงและผู้ชายต่างบอกว่า ทำงานจนแทบไม่มีเวลาเพื่อไปพัฒนาทักษะใหม่ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบโดยตรงและงานที่เกี่ยวเนื่อง

งานวิจัยดังกล่าวชี้ให้เห็นด้วยว่า มีสองสาขาอาชีพที่ผู้หญิงมักจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นสู่ระดับผู้นำ นั่นคืองานด้าน Human Resource และงานด้าน Finance

แต่ละภูมิภาค ต่างกันอย่างไร?
วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา การเมือง เป็นปัจจัยสำคัญ ไม่น่าเชื่อว่าจะเกี่ยวกับเรื่องบริหารธุรกิจ แต่ความแตกต่างทางเพศ และแนวคิด “สังคมชายเป็นใหญ่” ยังคงปรากฎให้เห็นอยู่ในหลายประเทศอย่างปฏิเสธไม่ได้

เชื่อหรือไม่ว่า จากทั่วโลก ภูมิภาคที่มีสัดส่วนสตรีอยู่ในระดับผู้นำมากที่สุด คือ ยุโรปตะวันออก ตัวเลขอยู่ที่ 32% ส่วนภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ยังคงน้อยอยู่ (28%) ผู้หญิงที่อยู่ในแถบอเมริกาเหนือ (US และ Canada) มีโอกาสในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งบริหารมากกว่า

หากสนับสนุนและสร้างความเท่าเทียมกันให้สตรีในการได้รับงานทำ ไม่มีการเลือกปฏิบัติตั้งแต่รับสมัครงาน สอบสัมภาษณ์ การเลื่อนขั้น จะทำให้ผู้หญิงมีโอกาสด้านการงานมากขึ้นไม่เพียงในระดับบริหาร

ในฝั่ง Asia-Pacific ซึ่งเป็นภูมิภาคของโลกที่เติบโตด้านเศรษฐกิจสูงสุด ถ้าผู้หญิงได้รับการสนับสนุนมากขึ้น มีการประเมินว่าจะช่วยดัน GDP ให้เพิ่มขึ้นถึง 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว จากบทวิจัยของ McKinsey Global Analysis

แนวโน้มน่าจะดีขึ้น
ในด้าน Asia-Pacific ผู้หญิงในปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้มีโอกาสทำงานมากขึ้น และขึ้นสู่ตำแหน่งสำคัญๆ ได้มากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า ผู้ชายยอมรับบทบาทการดูแลบ้าน และเลี้ยงลูกมากขึ้น ผนวกกับครอบครัวของคนเอเชีย มีปู่ย่าตายายที่ช่วยเลี้ยงลูก เปิดโอกาสให้ผู้หญิงยังคงทำงานได้ต่อเนื่อง มีเวลาทำงาน ไม่สะดุด และก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสำคัญๆ มากขึ้น

แนวทางการสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
Grant Thornton แนะนำว่า วิธีการที่จะสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี และสนับสนุนพนักงานที่เป็นผู้หญิง ก็คือ รับฟังความคิดของพวกเขา ซึ้งวิธีนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยเพิ่มผลิตผล ทีมที่มีส่วนร่วมมากขึ้นจะได้ผลดีขึ้น 21% และมีโอกาสน้อยกว่า 59% ที่จะหางานกับองค์กรอื่น

-ทุกประเทศในเอเชียแปซิฟิกสามารถกระตุ้นการเติบโตโดยส่งเสริมความเสมอภาคของสตรี
-ไม่มีการเดินทางในเอเชียแปซิฟิกที่มุ่งสู่ความเท่าเทียมทางเพศ
-สนับสนุนให้ผู้หญิงมีบทบาทสำคัญในตำแหน่งผู้นำ
-ให้สตรีมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย บริษัท และองค์กรพัฒนาเอกชน

สตรีไทยนแท่น Big Boss (CEO)

ขัตติยา_ อินทรชัย_กสิกรไทย

CEO: Hot on the List
ขัตติยา อินทรชัย, ธนาคารกสิกรไทย

ทำเอาวงการการเงินและการบริหาร “C-Suites” สั่นสะเทือน เมื่อผู้หญิงคนเดียว และไม่ใช่ “ล่ำซำ” ขึ้นแท่นเบอร์หนึ่งแบงค์รวงข้าว งานนี้ ขัตติยา หรือ “เปิ้ล” กลายเป็น Talk of the Town ทันทีเพราะเป็นผู้หญิงคนเดียวในกลุ่ม “ทีมปั้น” รุ่นสองของ “คุณปั้น” บัณฑูร ล่ำซำ บอสใหญ่กสิกร กสิกรใช้วิธีสร้างผู้นำพร้อมๆ กัน และให้อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน มีสิทธิ “ตัดสินใจ” แทนกันได้ แล้วสุดท้ายก็เลือกสตรีท่านนี้ 

ขัตติยาเป็นลูกหม้อ K Bank ได้รับทุนไปเรียนปริญญาโท M.B.A Finance and Investment University of Texas at Austin, U.S.A ทำงานกับที่นี่มาแล้ว 32 ปี เริ่มต้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อการเกษตรและการผลิต ขึ้นตำแหน่งกรรมการผู้จัดการเมื่อปี 2016

เปิดเบื้องหลัง “ขัตติยา อินทรวิชัย” ซีอีโอ “หญิงเดี่ยว” รอบ 9 ปีของกสิกรไทย

CEO: Focus VS Let Go
ชวินดา หาญรัตนกูล, หลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด

“คุณดาว” กรรมการผู้จัดการ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTAM ทำงานสายการเงินมาโดยตลอด ชีวิตการทำงานเริ่มต้นที่บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ธนชาต ผ่านวิกฤติการเงินระดับชาติมาแล้วอย่างมืออาชีพ

เธอจบปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิสซูรี สหรัฐอเมริกา การทำงานสายการเงินและดูแลพอร์ตการลงทุน เป็นควาเครียดที่พบเจอได้ในสายงานนี้ เธอใช้วิธีนั่งสมาธิ คุณดาวมีปรัชญาการทำงานที่ชัดเจนว่า

“ถ้าไม่มีความสุขในการทำงาน ก็จะไม่ยื้อไว้ ถ้าไม่มีใจ ก็อย่าทำเลยดีกว่า” และ “ทุกคนทุกอย่างไม่มีทางเป็นไปอย่างที่เราคาดหวังได้ตลอด บางครั้งเราต้องรู้จักปล่อยวางเสียบ้าง

- Advertisement -

CEO: Keep Growing
กมลวรรณ วิปุลากร, วัน ออริจิ้น จำกัด

“คุณแต้ว” จากกรรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เกษียณอายุที่ตัวเลข 55 แต่ปีที่แล้ว เข้ามารับตำแหน่ง CEO ที่วัน ออริจิ้น อาณาจักรเล็กแต่วิสัยทัศน์กว้างไกลเมื่อปี 2018 เธอกำลังใช้ประสบการณ์และความสามารถขยายงานสายงานพร็อพเพอร์ตี้ของที่นี่ไปในด้านต่างๆ ทั้งอาคารสำนักงาน โรงแรม ถึงธุรกิจร้านอาหาร และมีแผนสร้าง วัน ออริจิ้นให้เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้เธอยังสนใจการสร้างสายสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างนักธุรกิจไทยและจีน

สมฤดี_ชัยมงคล_บ้านปู

CEO: Right from Start
สมฤดี ชัยมงคล, บริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน)

เธอคือตัวแทนของคนที่ทุ่มเทและรักองค์กรตัวจริง สตรีท่านนี้เริ่มงานที่นี่เป็นแห่งแรกหลังเรียนจบบัญชี เมื่อราวเกือบสามสิบกว่าปีที่แล้ว เริ่มจากการเป็น “พนักงานต้อนรับ”

“เจ้าพ่อถ่านหิน” คุณ “ชนินท์ ว่องกุศลกิจ” วางทายาทธุรกิจไว้สามคน สุดท้ายเธอได้รับเลือกเพราะเป็นลูกหม้อ รักองค์กร และมีผลงานด้านบริหารการเงิน ก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง Big Boss คุณสมฤดี ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน

แม้เธอเข้ารับตำแหน่งท็อปในช่วงราคาถ่านหินตกต่ำ แต่เธอก็ทำให้บ้านปูเติบโตได้ รับตำแหน่ง CEO ของที่นี่มาแล้ว 4 ปี

(ตีพิมพ์ใน Business Today ฉบับที่ 7: 21-27 ตุลาคม 2562 ชื่อเดิม: สตรีนำทัพ ปรับตัวเริ่งสู่การเปลี่ยนแปลง, หน้า 3)

Sources: https://www.bworldonline.com/tech-based-confidential-feedback-platform-for-workplaces-helping-women-employees-speak-up/

https://www.pedersenandpartners.com/news/female-executives-asia-pacific-women-hold-half-sky

https://www.mckinsey.com/featured-insights/gender-equality/the-power-of-parity-advancing-womens-equality-in-asia-pacific

Business Today
Business Todayhttps://businesstoday.co
Supporting Thailand's business communities./ FB Page: Business Today Thai/ Social: Business Today Thai (สำหรับ Twitter, YouTube, Telegram)/ LINE: @Business today/ เว็บที่เกี่ยวข้อง: Thailand Today: www.thailandtoday.co/ FB: Thailantoday.co (English)/ Thailand Today News: www.thailandtoday.news/ FB: Thailandtoday.news (Mandarin Chinese)

Latest

ติดตามข่าวสารอัพเดททันใจจาก Businesstoday ได้โดยกรอกอีเมลด้านล่าง

Related News