Expedia-ททท. จับมือ UNESCO ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สร้างความร่วมมือให้โรงแรม-ที่พัก ส่งแผนและคำมั่นสัญญา 12 เดือนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ-วัฒนธรรมในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนภายใต้ชื่อ การสร้างโครงการแรกในการส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน(The UNESCO Sustainable Tourism Pledge)
นายฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าด้านการตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ระบุว่า หากมองย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เรื่องการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนี้อาจไม่เกิดขึ้น เพราะเรื่องการท่องเที่ยวอย่างมั่นคงและยั่งยืนเป็นเรื่องที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึงในสังคมมากนักในขณะนั้น ซึ่งในปีที่ผ่านมามีการดำเนินการเรื่องนี้และสร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย ซึ่งที่ผ่านมา เห็นได้ว่าการท่องเที่ยวสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการทำให้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นเรื่องที่ต้องทำให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังในระดับประเทศ
สำหรับ ททท. มีหน้าที่ในการให้ประเทศไทยเป็นแนวหน้าในการท่องเที่ยวและมีการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยในปี 2563 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมีอายุครบรอบ 60 ปี ดังนั้นจะไม่ใช่ 60 ปีที่เหมือนกับปีอื่น ๆ แต่จะเป็นปีที่ 60 ที่มีความเปลี่ยนแปลงให้กับการท่องเที่ยวภายในประเทศไทย ดังนั้นการร่วมมือกันกับ UNESCO ในครั้งนี้และการร่วมมือกับพันธมิตรอื่นๆ เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนั้นอย่างจริงจังโดยได้มีการเปลี่ยนแนวทางและนโยบายต่างๆเพื่อให้เกิดเป็นรูปประธรรมในการดำเนินงาน
ในกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังจ่ายสูงและกลุ่มลูกค้าที่มาท่องเที่ยวใหม่ในประเทศไทยถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่เข้ามาท่องเที่ยวและใช้จ่ายภายในประเทศในระดับที่สูงขณะท่องเที่ยว ดังนั้นการทำให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถที่จะท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืนและสร้างความมั่นคงให้กับสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทยจึงเป็นเรื่องสำคัญ

นายฌอง ฟิลิปป์ โมโนด รองประธานสายงานการจัดการและรัฐกิจสัมพันธ์ของ Expedia Group ระบุว่า จากประสบการณ์การท่องเที่ยวในประเทศไทยของตนเองที่ผ่านมา พบว่า 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย ซึ่งทำให้ผู้คนสามารถที่จะสร้างวัฒนธรรมท้องถิ่นและส่งต่อไปยังนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้ ดังนั้นสิ่งที่บริษัทพยายามจะทำ คือ การทำให้ทุกคนมั่นใจได้ว่าทุกคนจะได้รับวัฒนธรรมแบบนี้เมื่อมาท่องเที่ยว ซึ่งการทำให้ทุกคนได้รับวัฒนธรรมเหล่านี้ตลอดไป คือ การรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและการส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น หนึ่งในนั้นความร่วมมือนั้น คือ การต่ออายุบันทึกความเข้าใจกับ ททท. และมีความร่วมมือกับ UNESCO แบบลายลักษณ์อักษร ในอดีตบริษัททำได้เพียงแค่กิจกรรมส่งเสริมการขายเท่านั้น แต่ปัจจุบันเมื่อมีการขยายแพลตฟอร์ม ให้ใหญ่มากขึ้น บริษัทจึงคิดว่าปัจจุบันมีความพร้อมที่จะช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ให้กับที่พักและวัฒนธรรมท้องถิ่นได้มีโอกาสเติบโตและก้าวไปสู่สายตานักท่องเที่ยวระดับโลก
สำหรับการต่ออายุการทำบันทึกความเข้าใจนี้ จะระบุในการส่งเสริมการท่องเที่ยวรวมถึงกิจกรรมส่งเสริมการขายและสร้างความต้องการในการท่องเที่ยวในช่วงที่มีนักท่องเที่ยวน้อย(Low Season) ขณะเดียวกันในด้านของกลยุทธ์การตลาดก็จะเข้าจะมีการให้คำแนะนำในส่วนของข้อมูลเชิงลึกรวมถึงมีการสร้างเวิร์คช้อปให้ผู้ประกอบการทำกิจกรรมในโลกดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการขาย นอกจากนี้ยังมีการสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมให้อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวลดการใช้พลาสติกที่สามารถใช้ได้เพียงครั้งเดียว(พลาสติกใช้แล้วทิ้ง)ในโรงแรม รวมถึงมีการส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น
ขณะเดียวกันก่อนหน้านี้มีการรายงานว่าการท่องเที่ยวเมืองรองในบางพื้นที่โครงสร้างพื้นฐานบางอย่างเช่นด้านการคมนาคมอาจยังไม่พร้อมซึ่งส่วนตัวหลังจากนี้จะมีการประชุมร่วมกับกระทรวงต่างๆที่รับผิดชอบเพื่อ ทำโครงสร้างพื้นฐานอันนี้ให้เกิดขึ้นและรองรับการท่องเที่ยวเมืองรองอย่างแท้จริง สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นความท้าทายคือการทำงานร่วมกับฝ่ายนโยบายในประเทศอื่น ๆ ที่จะทำให้เห็นว่าการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องดำเนินการอย่างจริงจังและเร่งด่วน

นายปีเตอร์ เดอบรีน เจ้าหน้าที่อาวุโสโครงการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน , ศูนย์มรดกโลก , ด้านวัฒนธรรม ของ UNESCO ระบุว่า สำหรับสิ่งที่ ททท. ดำเนินการอยู่ ถือว่าเป็นหนึ่งเรื่องที่สร้างความเชื่อมั่นและสร้างสิ่งที่เห็นได้ชัดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สิ่งที่องค์การสหประชาชาติต้องการได้ คือ การป้องกันและรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ , มรดกทางวัฒนธรรม และมรดกโลกในสถานที่ต่าง ๆ ขณะที่ประเทศไทยมีสถาปัตยกรรมใหญ่ๆมากมายแต่สิ่งที่จำเป็นต้องได้รับการใส่ใจและรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมนั่นคือมรดกโลกและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นคือปัญหาการใช้พลาสติกในสถานที่ท่องเที่ยวจนทำให้เกิดมลพิษซึ่งส่วนนี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคนโยบายและภาคปฏิบัติการ
ซึ่งใช้สถานที่สำคัญที่เป็นมรดกโลกต่างๆเมื่อได้รับความนิยมและได้รับการโปรโมทก็จะทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวจำนวนมากจนทำให้วัฒนธรรมท้องถิ่นของผู้คนที่อยู่บริเวณรอบสถานที่สำคัญและมนุษย์โลกถูกผลักดันออกไปด้วยธุรกิจโรงแรมและธุรกิจห้องพักอื่นๆดังนั้นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือการใส้การส่งเสริมการท่องเที่ยวในช่วงที่นักท่องเที่ยวไม่นิยมมาท่องเที่ยว(Low Season) เพื่อไม่ให้จำนวนนักท่องเที่ยวมากล้นจนเกินไปในช่วงใดช่วงหนึ่งของพี่ ซึ่งการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนถือว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ต้องดำเนินการในระดับโลกและอาศัยความร่วมมือจากทั่วโลก
ภายหลังจากการลงบันทึกความเข้าใจและข้อตกลงในครั้งนี้แล้ว โรงแรมที่จะเข้าสู่แพลตฟอร์มของ Expedia ภายใต้ “โครงการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” จำเป็นที่จะต้องมีแผนการดำเนินงานและการบริหารจัดการในช่วงเวลา 12 เดือน หลังจากนี้ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อเข้าร่วมแล้วก็จะอยู่บนระบบของ UNESCO

นายฌอง ฟิลิปป์ โมโนด กล่าวเสริมว่า เมื่อที่พัก-โรงแรมเหล่านี้เข้าร่วมโครงการของ UNESCO ก็จะทำให้ข้อมูลนี้ถูก ทุกเปิดให้เป็นสาธารณะและข้อมูลจะถูกส่งต่อมายังการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและ Expedia เพื่อนำมาวิเคราะห์และสร้างความร่วมมือในการทำให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนซึ่งตัวนักท่องเที่ยวเองเมื่อเห็นว่าโรงแรมเหล่านั้นสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนก็จะเป็นเหมือนคนที่ตรวจสอบที่พักและโรงแรมเหล่านั้นด้วยเพราะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ก็จะมีการติเตียนมาหาโรงแรมเหล่านั้นไม่ดำเนินตามที่ควรจะเป็นตามแผนที่วางแผนไว้ ซึ่งเราก็ไม่ใช่ตำรวจหรือใครที่จะไปไล่จากโรงแรมหรือไล่จับนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้ทำตามการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แต่สิ่งที่จะเห็นได้ชัดคือเป็นการก้าวหน้าในการร่วมมือกันระหว่างฝ่ายนโยบายและโรงแรมต่าง ๆ
ด้าน คุณอลิสรา ศิวยาธร ประธานคณะกรรมการบริหาร โรงแรมศิวาเทล กรุงเทพ ระบุว่า ปัจจุบันวัตถุดิบในการทำอาหารของโรงแรม เป็นอาหารที่มาจากเกษตรกรโดยตรงและไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ส่วนตัวมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สามารถทำให้ส่งเสริมเกษตรกรและได้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดจากสารพิษส่งให้กับลูกค้าได้ ขณะเดียวกันในอดีตก่อนที่จะมีการลดการใช้พลาสติกโรงแรมในการผลิตขยะมากถึง 10 ตันต่อเดือน โดยปัจจุบันภายหลังจากการลดการใช้พลาสติกใช้แล้วทิ้งสามารถที่จะลดปริมาณขยะต่อเดือนลงมาเหลือ 4 ตันต่อเดือน สิ่งที่หลายคนมักมองว่าการสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องที่สร้างราคาให้กับผู้ประกอบการส่วนตัวมองว่าไม่เป็นเช่นนั้นเพราะหลายส่วนสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อย่างเห็นได้ชัด
