HomeBT News“นักคิดดิจิทัล” เสนอรัฐเร่งพัฒนาแรงงาน ทำงานกับ AI ในอนาคต

“นักคิดดิจิทัล” เสนอรัฐเร่งพัฒนาแรงงาน ทำงานกับ AI ในอนาคต

ดร. พณชิต กิตติปัญญางาม ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการและบุคลากรแห่งอนาคต (DPU X) และ CEO/Co-Founder, Ztrus เสนองานวิจัย “พัฒนาการหุ่นยนตร์อัจฉริยะ จาก ค.ศ. 2020 ถึง 2060” (Evolving with AI from 2020 to 2060) กล่าวว่า ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญกับเรื่องทักษะแรงงาน โดยผลิตนิสิตนักศึกษาให้เป็นบุคลากรในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องหรือมีประสิทธิภาพที่จะรองรับการทำงานกับ AI ในอนาคต โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ

ช่วงการพัฒนา AI (2020 – 2029)

ความสามารถของ AI ยังไม่เต็มที่เนื่องจากเป็นช่วงเก็บข้อมูล ใช้ความสามารถหรือทักษะของมนุษย์ในการตัดสินใจ จึงจำเป็นต้องมีทักษะการเขียน Code การใช้สื่อใหม่ๆที่ทันสมัยและเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการสารสนเทศ นับเป็นช่วงของการเตรียมความพร้อมให้คนมีทักษะสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (big data)

- Advertisement -

ช่วงที่ 2 คนทำงานร่วมกับ AI (2030 – 2049)

ช่วงนี้แรงงานมนุษย์ต้องมีการปรับแนวคิด การทำงานอย่างเต็มรูปแบบ การสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันจะลดน้อยลง ทักษะทางสังคมและอารมณ์ของคนจึงมีความสำคัญที่จะต้องพัฒนาเช่นกัน

ถึงแม้ว่าช่วงเวลานี้ AI ทำงานแทนคนเป็นส่วนใหญ่ แต่มนุษย์ยังต้องทำงานไปด้วยกันกับ AI โดยการทำงานของมนุษย์เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ การสร้างมูลค่าหรือคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการ

ช่วงที่ 3 คนอยู่กับ AI (2050 –2060)

เป็นช่วงที่ความสามารถของ AI มากกว่ามนุษย์เป็นพันเท่า สามารถทำงานทดแทนแรงงานมนุษย์ได้อย่างเต็มรูปแบบ มนุษย์อาจจะไม่ต้องทำงานมาก เพราะการจ้างแรงงานมนุษย์มีต้นทุนสูงกว่า AI แต่จะมีอาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น อาชีพที่ปรึกษาด้านปรัชญา (Philosophical Consultant) นักออกแบบเวลาว่าง (Free Time Designer) เป็นต้น จากงานวิจัยพบว่าในช่วงเวลานี้ คนจะเริ่มถามหาคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ เริ่มตั้งคำถามว่าเราเกิดมาทำไม ดังนั้นการปลูกฝังเด็กเขียน Coding ในช่วงแรก (2020-2029) อาจจะไม่เพียงพอ เพราะยุคที่ 3 เป็นยุคที่คนต้องมี ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligent) เพื่อเตรียมตัวเองที่จะต้องเข้าสู่ยุคการหาคุณค่าชีวิต

ดังนั้น แผนการศึกษาในปัจจุบันต้องตระหนักถึงในเรื่องนี้ด้วย ควรเน้น “การสร้างคน” มากกว่าสอนคนแค่เรื่องทักษะในการเขียน Coding หรือ Programming เพียงอย่างเดียว

“ข้อเสนอจากงานวิจัยในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ ประเทศไทยควรมุ่งเน้นสาระสำคัญของสร้างสังคมและวิสัยทัศน์ร่วมกัน มีความคิดและมุ่งมั่นไปในทางเดียวกัน เราต้องให้คุณค่าและเข้าใจเทคโนโลยีในระดับหนึ่งเพื่อที่จะเชื่อมโยงกับเรื่องที่เราถนัดได้ ต้องพร้อมที่จะปรับตัวเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และยอมรับการเปลี่ยนแปลง รู้จักตั้งคำถาม เน้นเรื่องการใช้ความคิดมากกว่าเน้นการใช้แรงงาน มุ่งเน้นความคิดไปทางด้านปรัชญา จริยธรรม สามารถวิเคราะห์ความละเอียดอ่อนในเชิงลึกซึ้ง และมีเป้าหมายชีวิตในการทำงานว่าเราจะทำไปเพื่ออะไร เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ AI ไม่สามารถทำได้เช่นมนุษย์ ทั้งนี้เพื่อให้เราสามารถอยู่รอดในยุคของการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึง” ดร.พณชิตกล่าว

ทั้งนี้ดร.พณชิต นำเสนองานวิจัยในงานเสวนา “นักคิดดิจิทัล” ( Digital Thinkers Forum) ครั้งที่ 3 “ยุค AI จาก 2020 สู่ 2060 กับความพร้อมของสังคมไทย” จัดโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), ศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Friedrich Naumann Foundation , ChangeFusion และ Centre for Humanitarian Dialogue

Business Today
Business Todayhttps://businesstoday.co
Supporting Thailand's business communities./ FB Page: Business Today Thai/ Social: Business Today Thai (สำหรับ Twitter, YouTube, Telegram)/ LINE: @Business today/ เว็บที่เกี่ยวข้อง: Thailand Today: www.thailandtoday.co/ FB: Thailantoday.co (English)/ Thailand Today News: www.thailandtoday.news/ FB: Thailandtoday.news (Mandarin Chinese)

Latest

ติดตามข่าวสารอัพเดททันใจจาก Businesstoday ได้โดยกรอกอีเมลด้านล่าง

Related News