BPP เปิดเผยว่าโครงการโซลาร์คุโรคะว่าขนาดกำลังผลิต 18.9 เมกะวัตต์ จะก่อสร้างเสร็จสิ้นในเดือน ธ.ค. 62 โดยปลายปี 63 จะมีโครงการก่อสร้างเสร็จสิ้นอีก 4 โครงการ ตั้งเป้าปี 66 มีกำลังการผลิตในญี่ปุ่น 233 เมกะวัตต์
บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP นำโดย นายสุธี สุขเรือน ประธานเจ้าหน้าที่ และ นายบรรจบ กิจพานิช CFO เข้าชี้แจงผลดำเนินงานไตรมาส 3/62 ในงาน Opportunity Day บริษัทจดทะเบียนพบนักลงทุน จัดขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
นายสุธี กล่าวว่า ตามที่มีการแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องการควบรวมกิจการภายในระหว่างบริษัทย่อยในเครือ โดยใช้ชื่อว่า บ้านปู เน็กซ์ ซึ่งมั่นใจว่าการควบรวมกิจการครั้งนี้จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพลังงานสะอาดทั้งหมด และมีโอกาสในการทำเอเนอร์ยี่ เทรดดิ้ง และการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ บ้านปู เพาเวอร์ ได้ปรับเพิ่มเป้าหมายกำลังผลิตใหม่เป็น 5.3 กิกะวัตต์ จากเดิม 4.3 กิกะวัตต์ โดยจะเน้นเทคโนโลยี HELE หรือพลังงานพื้นฐานจำนวน 4.5 กิกะวัตต์ โดยเป็นพลังงานสะอาดในบ้านปู เน็กซ์ 0.8 กิกะวัตต์ ซึ่งจะเข้าไปลงทุนในประเทศที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้า
ขณะนี้ ที่ประเทศญี่ปุ่นมีโครงการโซลาร์จำนวน 13 โครงการ โดย 5 โครงการเสร็จรีบร้อยแล้ว แต่อีก 8 โครงการกำลังก่อสร้างและพัฒนา ซึ่งโครงการคุโรคะว่าที่มีขนาดกำลังผลิต 18.9 เมกกะวัตต์ จะก่อสร้างเสร็จในเดือน ธ.ค. 62 โดยปลายปี 63 คาดว่าจะก่อสร้างเสร็จเพิ่ม 4 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตรวม 55 เมกะวัตต์ โดยภายในปี 66 ตั้งเป้าว่าจะมีกำลังการผลิตทั้งหมด 233 เมกะวัตต์ ในประเทศญี่ปุ่น
ขณะเดียวกัน โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศเวียดนาม ที่มีขนาดกำลังการผลิตรวม 80 เมกะวัตต์ คาดว่าเฟส 1 จะสามารถเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ได้ในปี 63 ทำให้มีจะมีกำลังการผลิตในประเทศเวียดนาม 30 เมะวัตต์ และปี 64 กำลังการผลิตจึงครบจำนวน 80 เมกะวัตต์ ตามเป้าหมาย
ส่วน โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในจีน 1,320 เมกะวัตต์ มีการดำเนินการไปกว่า 70% กำลังติดตั้งเจนเนอร์เรเตอร์ และเทอไบน์หลังจากนั้นจะเริ่มดำเนินการเรื่องสายส่ง คาดว่าจะสามารถเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงไตรมาส 4/64
อย่างไรก็ตาม โรงไฟฟ้าที่บริษัทฯดำเนินการอยู่แล้ว ยังเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างผลกำไรให้ผู้ถือหุ้น ส่วนโรงการที่กำลังพัฒนาจะเร่งให้ตามกหนด และดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งยังมุ่งเน้นขยายโรงฟ้าพลังงานพื้นฐาน และหมุนเวียน ทั้งใน ญี่ปุ่น และ จีน ซึ่งจะสร้างการเติบให้กับบริษัทฯ ต่อไป
ด้าน นายบรรจบ กล่าวทิ้งท้าย ในช่วงไตรมาส 3/62 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 943 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 940 ล้านบาท ส่วนรายได้ในช่วงไตรมาส 3/62 อยู่ที่ 2,195 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 2,326 ล้านบาท มีงบดุลอยู่ที่ 49,000 ล้านบาท มีเงินสด 7,600 ล้านบาท หนี้สิน 6,000 ล้านบาท ทำให้อัตราหนิสินต่อทุนอยู่ที่ -0.03 เท่า
ราคาหุ้น BPP ก่อนปิดซื้อขายวันที่ 20 พ.ย.62 อยู่ที่ 18.20 บาท/หุ้น ลดลงจากเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 62 ในอัตรา 18.50 บาท/หุ้น (-1.62%)