DATABAR จัดการประชุม Enterprise Mobility Forum 2019 by DATABAR ภายใต้แนวคิด “Enterprise Mobility DNA” มุ่งสร้างระบบนิเวศให้แข็งแกร่ง ต่อยอดการพัฒนาธุรกิจโมบาย
ในแวดวงธุรกิจด้าน Mobility มีการเติบโตที่รวดเร็วและก้าวกระโดด เนื่องจากพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าองค์กร มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เช่น การทำงานนอกสถานที่ และใช้อุปกรณ์ Mobile device หรือ Mobile handset เข้ามามีส่วนร่วมการทำงาน ซึ่งเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ตลาดของ Mobility ต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสามารถรองรับพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้าได้นั่นเอง
-“คนรุ่นใหม่ใช้สมาร์ทโฟนแทบทั้งวัน/เน้นดูย้อนหลัง-ผู้สูงวัยยังนั่งดูทีวีตามผัง”
-องค์กรไทย 9% ไม่เข้าใจ AI และมีเพียงแค่ 10% ขององค์กรที่เริ่มใช้ AI แล้ว
นายอรรนพ สิทธิราพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดาต้าบาร์ จำกัด กล่าวว่า “การจัดการประชุม Enterprise Mobility Forum 2019 ในครั้งนี้ ดาต้าบาร์ร่วมมือกับพันธมิตรหลายองค์กรที่ต้องการสร้าง Ecosystem ของดาต้าบาร์ ให้แข็งแรงและสามารถจุดประกาย สร้างการปรับเปลี่ยนที่สำคัญให้แก่องค์กรธุรกิจต่าง ๆ
เรามุ่งหวังเป็นเวทีที่ถ่ายทอดความรู้ แบ่งปันประสบการณ์รวมถึงความสำเร็จจากแต่ละองค์กร ที่นำวิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ไปปรับใช้ในธุรกิจ ให้กับผู้ที่มีความสนใจนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีต่าง ๆ ไปปรับใช้ในองค์กรของตนเองให้ดียิ่งขั้น ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์มและการบริการดูแลอย่างครบวงจร พร้อมการปรับตัวและเดินหน้าของวงการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับกลุ่มลูกค้าระดับองค์กร”
ไฮไลท์ของงานนี้มี 4 องค์ประกอบสำคัญ ๆ อย่าง
1.Enterprise Mobility Hardware จะมีผลิตภัณฑ์มากมายสำหรับ Mobility solution จาก Samsung และ Gamber Johnson (ฐานวางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่นโทรศัพท์-แท็บเล็ตบนพาหนะเคลื่อนที่) ให้ได้ชมอย่างเต็มที่
2.Enterprise Mobility Software ได้รับการร่วมมือจาก บริษัทชั้นนำในวงการซอฟแวร์หลายแห่ง เช่น บริษัท Kasco IT, Ivy Mobility, Wandera, Samsung Knox, WeGuard
3.Enterprise Mobility Platform จาก AIS โดยแพลตฟอร์มที่มีความเชี่ยวชาญสามารถรองรับได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์
4.Enterprise Mobility Services จากดาต้าบาร์ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นการดูแลลูกค้าแบบครบวงจร ครบ จบ ในที่เดียว

คุณวีรชัย พัชโรภาสวงศ์ Head of Enterprise Sales, AIS กล่าวว่า “AIS ปรับกระบวนการทำงานบริษัทใหม่ไปแล้วบางส่วน นำ AI เข้ามาช่วยทำงานมากขึ้น พัฒนาการให้บริการลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามา และเพิ่มแพลตฟอร์มด้านเอ็นเตอร์เทนเม้นต์อย่าง Netflix และ HBO มาให้บริการลูกค้า นอกจากนี้ AIS จะเข้าร่วมประมูล 5G ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้าอย่างแน่นอน
ซึ่งข้อดีของ 5G คือลดความหน่วงของเน็ตเวิร์คที่เราทดลองกับ รถไร้คนขับ, AR, VR นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ IoT ทั้งที่พกติดตัวและตั้งไว้ที่บ้านเพื่อระบบควบคุมต่าง ๆ ในตัวบ้าน ซึ่ง 5G จะเข้ามาช่วยให้สามารถควบคุมอุปกรณ์ได้หลายชิ้นพร้อมกันมากขึ้น นอกจากนี้เรากำลังจะทดลองการผ่าตัดทางไกลร่วมกับ จุฬาฯ ในอนาคต”
คุณทศพร รัตนถาวรกิจ Managing Director, Kasco กล่าวว่า “โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไป การขายซอฟท์แวร์กำลังเปลี่ยนรูปแบบไป อนาคตแพลตฟอร์ม จะเป็นทุก ๆ อย่าง โดยไม่แยกระหว่างซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์อีกแล้ว ซึ่งในต่างประเทศกำลังทำแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อการนำเข้าส่งออกด้วยกัน อย่างบริษัทในสิงคโปร์ที่ต้องรับผิดชอบท่าเรือ 50 แห่ง เขาจะต้องทำอย่างไรเพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเข้ามาที่เดียว ถึงเวลาแล้วที่คนที่ไทยจะต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรม
วันนี้เราต้องเปลี่ยนจากการทำ Manual มาเป็น Automatic ผมเชื่อว่าอนาคตจะเปลี่ยนจาก IoT มาเป็น IoE หรือ “Internet of Everything” คือใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามาจัดการทุกอย่างจริง ๆ“
นอกจากนั้นภายในงานยังมีการหยิบยกเรื่องราวขององค์กรที่ประสบความสำเร็จจากการนำเอาโซลูชั่นของ DATABAR ไปปรับใช้ มาถ่ายทอดสู่องค์กรอื่นๆ ได้แก่ CPAC, ThaiNamthip และ T leasing ซึ่งนำเอาโซลูชั่นด้านทึ่ครอบคลุมทั้งด้าน Software, Hardware และ Service ไปปรับใช้ในองค์กร จนทำให้การบริหารจัดการภายในองค์กรดีขึ้น การทำงานขอพนักงานดีขึ้น รวมไปถึงประสิทธิภาพการให้บริการขององค์กรดีขึ้นตามไปด้วย