สะพานไทย – ลาว แห่งที่ 5 คืบกว่า 82.5% เชื่อมไทย-ลาว-เวียดนาม และมณฑลกว่างสี
น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศไทยทั้ง 4 มิติ (บก ราง น้ำ และอากาศ) ให้เชื่อมโยงการเดินทางสู่ภูมิภาคอาเซียนอย่างไร้รอยต่อ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวในภูมิภาค ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สามารถเข้าถึงการเดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ด้วยระบบการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพ

ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จึงได้เร่งขับเคลื่อนโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 5 เชื่อมระหว่างบึงกาฬ และแขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว ซึ่งมีความคืบหน้ามาโดยลำดับ แม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคจากวิกฤติโควิด แต่ล่าสุด โครงการมีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 82.550% คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการประชาชนของทั้งสองประเทศได้ในปี 2567 น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า สำหรับโครงการนี้ คณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ได้มีมติอนุมัติการจัดทำและลงนามร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ว่าด้วยการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 ในปี 2562
ต่อมาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565 พล.อ.ประยุทธ์ได้เข้าร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 5 ที่อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ และแขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว ทั้งนี้ รูปแบบการก่อสร้างของโครงการนี้ กรมทางหลวงออกแบบเป็นสะพานขึงคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง ขนาด 2 ช่องจราจร ความยาว 1,350 เมตร พร้อมอาคารด่านพรมแดนสำหรับกระบวนการข้ามแดน และถนนเชื่อมต่อโครงข่ายของทั้งสองฝั่ง โครงการมีระยะทาง 16.18 กม. วงเงิน 4,010.067 ล้านบาท
โดยฝ่ายไทยมีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการ วงเงิน 2,630 ล้านบาท (ค่าก่อสร้าง 2,553 ล้านบาท และค่าควบคุมงานก่อสร้าง 77 ล้านบาท) ฝั่ง สปป.ลาว โดยกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง (MPWT) เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการ วงเงิน 1,380.067 ล้านบาท (ค่าก่อสร้าง 1,256 ล้านบาท/ค่าที่ปรึกษา 44 ล้านบาท/ค่าบริหารจัดการ 15 ล้านบาท/ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 63 ล้านบาท และค่าธรรมเนียมบริหารของ สพพ. 2.067 ล้านบาท)
BCG Model เกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ Food Loss และ Food Waste
นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนการผลิตอาหารอย่างยั่งยืนตามแนวคิด BCG Model : การลด Food Loss และ Food Waste ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ครั้งที่ 2/2566

โดยมี นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร นายนพดล ชีวะอิสระกุล อุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี นางนิตยา พิระภัทรุ่งสุริยา ที่ปรึกษาสถาบันอาหาร นางชุติกาญจน์ รัชตะปิติ ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ สระบุรี นายสมเกียรติ ชุมปัญญา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองย่างเสือ ผู้นำชุมชน และผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ร่วมให้การต้อนรับและเข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมบ้านไร่สมเกียรติ โฮมสเตย์ ต.หนองย่างเสือ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรีรองปลัดฯ ณัฏฐิญา กล่าวว่า เกษตรอุตสาหกรรม เป็นนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งหวังให้กระทรวงอุตสาหกรรมมีบทบาทในการช่วยเหลือ ส่งเสริม และพัฒนาเกษตรกรในการขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมมากขึ้น
โดยนำอุตสาหกรรมเข้าไปช่วยในภาคการเกษตรในทุกห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ต้นน้ำ เรื่องของแหล่งที่มาของวัตถุดิบ เพื่อลดต้นทุนการเพาะปลูก การพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กำลังจะดำเนินโครงการปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมต้นแบบอัจฉริยะ (MIND STAR) ในปีงบประมาณ 2567 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการสู่การเป็นนักธุรกิจอัจฉริยะ และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ส่งเสริมให้สามารถขายของได้ แปรรูปเป็น มีกระบวนการการจัดการ การแปรรูป เพื่อก่อให้เกิดสินค้าหรือบริการ ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรม มีศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค ภายใต้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ รวมทั้งยังมีสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทุกจังหวัด ที่สามารถให้คำปรึกษา แนะนำ ต่อยอดผลิตภัณฑ์ การวางแผนการตลาดในการค้าขายปลีกแบบสมัยใหม่ (Modern Trade) หรือผ่านการตลาดออนไลน์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ และนำไปสู่ปลายน้ำ การที่สินค้าหรือบริการนั้นไปถึงมือผู้บริโภค
SME D Bank ผุดสินเชื่อ “SME มีทุน อุ่นใจ” ตอบแทนลูกค้าเดิมชั้นดี
นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เผยว่า จากแนวโน้มเศรษฐกิจฟื้นตัว ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีความต้องการเงินทุน นำไปใช้หมุนเวียนเสริมสภาพคล่อง หรือสำรองเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ รับโอกาสเดินหน้าธุรกิจได้เต็มศักยภาพ แต่ด้วยทิศทางอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้น ส่งผลกระทบให้การบริหารจัดการควบคุมต้นทุนธุรกิจเป็นไปได้ค่อนข้างยาก

ดังนั้น เพื่อตอบแทนลูกค้าเดิมคนสำคัญของSME D Bank ให้คลายกังวลจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น และสามารถวางแผนบริหารจัดการธุรกิจได้ดี SME D Bank ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อ “SME มีทุน อุ่นใจ” จุดเด่นเป็นนวัตกรรมการให้สินเชื่อที่กู้ง่าย ไม่ต้องใช้เอกสารซับซ้อน ดอกเบี้ยต่ำคงที่ 3 ปี โดยปีแรกเพียง 5.99%ต่อปี ให้ระยะเวลากู้นานสูงสุดถึง 10 ปี ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน แถมฟรีค่าธรรมเนียม บสย. 3 ปี วงเงินกู้เริ่มต้น 5 แสนบาทถึงสูงสุด 5 ล้านบาท โดยรวมวงเงินกู้เดิมสูงสุดไม่เกิน 15 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันนี้ไปจนวันที่ 16 ตุลาคม 2566
ทั้งนี้ มอบสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าเดิมชั้นดีของ SME D Bank กลุ่มนิติบุคคล ที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 3,000 รายเท่านั้น ซึ่งลูกค้าที่เข้าเกณฑ์ จะได้รับการติดต่อ เพื่อนำเสนอบริการจากเจ้าหน้าที่ SME D Bank โดยตรง นอกจากนั้น สำหรับลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ทุกรายที่ต้องการเข้าถึงแหล่งทุน เพื่อนำไปใช้ในกิจการ SME D Bank พร้อมให้บริการผ่านผลิตภัณฑ์สินเชื่อต่างๆ ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ วงเงินกู้สูงสุดถึง 50 ล้านบาท ควบคู่ให้บริการงานพัฒนา ฟรี ทุกโปรแกรม ผ่านโครงการ “SME D Coach” ติดต่อและแจ้งความประสงค์ได้ที่ สาขา SME D Bank ทั่วประเทศ หรือช่องทางออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ www.smebank.co.th , LINE Official Account : SME Development Bank เป็นต้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1357
GDP เกษตร Q2 โต 0.3% สศก. ระบุ สาขาประมง-ปศุสัตว์ ขยายตัว
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 2 ปี 2566 (เมษายน – มิถุนายน) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565

โดยสาขาปศุสัตว์ สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ ขยายตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่สาขาพืชซึ่งเป็นสาขาการผลิตหลักและมีสัดส่วนมากที่สุดของภาคเกษตรหดตัวลง เนื่องจากปริมาณฝนและปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำตามธรรมชาติน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช อีกทั้งยังมีสภาพอากาศที่แปรปรวนในช่วงปลายปี 2565 ถึงช่วงต้นปี 2566 ทำให้พื้นที่ทางภาคตะวันออกมีฝนตกชุกต่อเนื่องสลับกับมีลมพายุ ส่งผลให้สินค้ากลุ่มผลไม้ ดอกและผลร่วงหล่นเสียหาย
ขณะที่พื้นที่ทางภาคใต้มีฝนน้อยและสภาพอากาศร้อน ส่งผลให้สินค้าปาล์มน้ำมันและยางพารามีผลผลิตลดลง นอกจากนี้ ราคาปัจจัยการผลิตที่สำคัญหลายชนิดยังอยู่ในระดับสูงทั้งปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง และวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรบางส่วนชะลอการผลิต ลดปริมาณการผลิตหรือใช้ปัจจัยการผลิตลดลง ส่งผลให้ภาพรวมของภาคเกษตรขยายตัวได้ไม่มากนัก
“ก.เกษตร -สสส.-ภาคีอาหารเพื่อสุขภาวะ 40 หน่วยงาน” พัฒนาระบบอาหารตลอดห่วงโซ่
นายเศรษฐเกียรติ มงกุฎวงษ์ รองโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้สัมภาษณ์สื่อเพื่อชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงเจตจำนงที่จะพลิกโฉมระบบเกษตรและอาหารที่ยั่งยืน ในครั้งนี้ Thailand Food and Agriculture Systems Stocktaking “เส้นทางสู่การพลิกโฉมระบบพบกับความยั่งยืนของ ประเทศ”

เผื่อว่านางสาวนวรัตน์ เฉลิมเผ่า ผู้ช่วยผู้สมัคร FAO ประจำประเทศไทย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เกษตรศาสตร์ (บุคคลทั่วไป) ผู้ช่วยประเมิน ชล บุนนาค หัวหน้าศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายที่มุ่งสู่ความยั่งยืน (SDG Move) คณะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ณ ภาพรวม 112 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองกระทรวงกลาโหมเกษตรและคอยติดตามในการประชุมการประชุมผู้นำประเทศผู้นำระบบอาหารโลกปี 2564 (UN Food Systems Summit : UNFSS 2021) คอยติดตาม (UN) สนับสนุนประเทศสมาชิกขับเคลื่อนระบบอาหารโลกทั้งวิธีการผลิต คำถามที่ถามและขอให้ช่วยตอบคำถามกลุ่มเป้าหมาย หัวข้อที่จัดทำขึ้นภายใต้แนวคิดของหลักสูตร “อิ่มและดี 2030”
ซึ่งอ่านจากฐานข้อมูลในรายงานของกระทรวงเกษตรและเรียกร้องให้รวบรวมเพื่อจัดระเบียบระบบเกษตรและความยั่งยืน โดยต้องการให้มาที่นี่/การทำความเข้าใจประเด็น “ ระบบเกษตรและอาหารที่ปลอดภัย” ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งรวมถึงเกษตรและอาหาร บุคคลทั่วไปที่ภาคประชาสังคมได้รับเครือข่ายสถาบัน สมาคม องค์กร เรียกร้องอื่นๆ จนตามมาสร้างเครือข่าย “ความร่วมมือ” ตามมา ขับเคลื่อนโดย สส.ปฏิบัติตาม 1 ใน “ความร่วมมือ” เป็นไปได้ที่ร่วมขับเคลื่อนระบบ “ระบบเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืน” ต่อปี 2564 ต่อปี 2564 ตามลำดับที่หลายฝ่ายที่ร่วมขับเคลื่อนการวิจัยเคยมีการวิจัยมาก่อนมีโครงการวิจัยเชิงวิเคราะห์สำหรับคำถามสำหรับอาหาร ความช่วยเหลือ (Policy Research for Thailand’s Food Systems Development) โดยสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร