HomeBT News"การศึกษาไทย"ต้องปรับใหญ่ "เรียนรู้ตลอดชีพ-นอกห้องเรียน"

“การศึกษาไทย”ต้องปรับใหญ่ “เรียนรู้ตลอดชีพ-นอกห้องเรียน”

อดีตผู้ว่างแบงค์ชาติมองว่าถึงเวลาต้องปรับใหญ่การศึกษาไทย ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ สร้างเอกภาพให้ครู และเปลี่ยนจากการเรียนในโรงเรียน เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต นอกห้องเรียน

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และอดีตผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวเปิดเสวนาในหัวข้อ “ทางออกอนาคตการศึกษาไทย”  ในงาน SET Social Impact  Day 2019 “ออกแบบ ทางออก มหาชน” ที่ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 7 อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ส่วนตัวมีข้อเสนออยู่เป็นจำนวนมาก และมีข้อเสนอมากมายจากการศึกษาข้อมูลวิจัยต่างๆ ซึ่งก็มีทั้งแบบปรัชญาและแบบเป็นรูปธรรม

แต่ละปัญหาก็มีที่มาที่ไป โดยสามารถแบ่งออกมาได้เป็น 4 กลุ่มสำคัญ ได้แก่ เรื่องคุณภาพการศึกษา การเข้าถึงการศึกษา  การแข่งขันทางด้านการศึกษา และ การบริหารจัดการทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ

- Advertisement -

ในด้านของ “คุณภาพการศึกษา” มีการเปรียบเทียบและวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ในแต่ละช่วงวัย มีมาตรฐานต่ำกว่ามาตรฐานโลก และส่งผลให้มีเรื่องของทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ต่ำ ขณะที่ภาษาไทยเองก็พบว่า เรื่องการอ่านออก-เขียนได้ อยู่ในมาตรฐานที่ต่ำ และมีการจัดการเรียนการสอนที่ล้าหลัง

ขณะที่ “การเข้าถึงระบบการศึกษา” พบว่า มีมากกว่า 4 ล้านคนที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษา ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากความยากจนและความห่างไกลในพื้นที่ทุรกันดารจากโรงเรียนและสถานศึกษา

สำหรับ “ความสามารถในการแข่งขันทางด้านการศึกษา” ดร.ประสาร มองว่า ความสามารถในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ในการแข่งขันระดับโลกถึงแม้ว่าจะมีบางมหาวิทยาลัยที่มีมาตรฐานสูงและสามารถแข่งขันกับระดับโลกได้แต่เมื่อเฉลี่ยรวมทั้งประเทศแล้วกลับไม่เป็นเช่นนั้น

และอีกปัญหาหนึ่ง คือ “การบริหารจัดการทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ” จากการศึกษา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาไทยอยู่ในระดับที่ต่ำ เมื่อเทียบกับงบประมาณการศึกษาในแต่ละปี รวมถึงการบริหารจัดการงบประมาณของไทยอยู่ในระดับที่ด้อยประสิทธิภาพและใช้จ่ายในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษามากเท่าที่ควร และมีการผลิตบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่ตรงกับความต้องการของชาติ จะพบว่ามีนักเรียนที่เรียนด้านการศึกษาจำนวนหนึ่ง เมื่อจบการศึกษามาแล้วกลับตกงาน และประเทศไทยยังคงเน้นการศึกษาในรูปแบบโรงเรียนในขณะที่ระดับสากลมีการกล่าวถึงการเรียนรู้ที่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตนอกห้องเรียน และโรงเรียนขนาดเล็กไม่ได้รับการบริหารจัดการที่มีคุณภาพมากเพียงพอ

สำหรับ “กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา” ก็ได้วิเคราะห์และได้เป็น ข้อเสนอปฏิรูปการศึกษา 7 เรื่อง 

1. “เปลี่ยนค่านิยมหลัก” ที่จำเป็นที่จะต้องสร้างหลักคิด และสร้างค่านิยมใหม่ ในเรื่องของการศึกษา ชื่อจะต้องสร้างเอกภาพให้การบริหาร ไม่จำเป็นที่ส่วนกลางจะต้องกำหนดมาตรฐานเดียวทั่วประเทศ แต่ทีระบบการศึกษาที่เจาะจงไปยังพื้นมี่นั้นๆ และสร้างความเป็นเอกภาพให้กับแต่ละภูมิภาคการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ รวมถึงมีการสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐ ขณะที่โรงเรียนภาคเอกชนเอง ก็ต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาในส่วนดังกล่าวด้วย ซึ่งอดีตประเทศไทยมีการพึ่งพาโรงเรียนและระบบเอกชนเพิ่มมากขึ้นแต่ปัจจุบัน ภาคเอกชนมีการลดทอนศักยภาพเป็นอย่างมาก รวมถึงมีการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตนอกห้องเรียน

หากสังเกต มหาวิทยาลัยในปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนน้อยลง แต่การมองกลุ่มนักศึกษาเพียงช่วงวัยเดียวหรือไม่ เพราะปัจจุบันไม่ว่าจะช่วงอายุใดก็สามารถเรียนรู้ได้

2. “ปฏิรูปพัฒนาเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน” ซึ่งจากการศึกษาพบว่านักเรียนที่เริ่มเข้าศึกษาในช่วงประถมศึกษาปีที่ 1 มีพัฒนาการที่ช้ากว่ามาตรฐาน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาร่างกาย , จิตใจ , วินัย และ สติปัญญาให้เหมาะสมกับวัย ในขณะที่ครอบครัวก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ที่ถูกต้องในการส่งเสริมความรู้ด้านสติปัญญาให้กับเด็กช่วงปฐมวัยและก่อนวัยเรียน

3. “ปฏิรูปลดการเหลื่อมล้ำทางการศึกษา” เป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่อยากให้มีหน่วยงานที่เข้ามาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะนั่นคือการสร้าง กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสถานศึกษาที่อยู่ห่างไกลไหนต่างจังหวัดและพื้นที่ทุรกันดารเพิ่มมากขึ้น

4. “ปฏิรูปกลไกระบบการผลิตคัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์” การศึกษาจะดีหรือไม่ ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือคุณภาพของครู และการใช้เวลาอย่างคุ้มค่าในระหว่างที่ครูใช้เวลาด้วยกับนักเรียนในการเรียนการสอน รวมถึงต้องมีการพัฒนาวิชาชีพครูให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงมีการปฏิรูปเพื่อให้ครูได้มีงบประมาณและการสนับสนุนอย่างเหมาะสม

5. “ปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการรู้” ปฏิรูปจากฐานความรู้ สู่ฐานสมรรถนะ เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนในอดีตเน้นไปในเรื่องของการสอบจนทำให้วันที่มีความรู้เยอะที่สุดนั่น คือ วันก่อนสอบและวันที่มีความรู้น้อยที่สุด คือ วันหลังการสอบ

รวมถึงจะต้องทีการพัฒนาจริยธรรมของนักเรียน เมื่อเรียนเก่งแล้วก็จะต้องมีจริยธรรมด้วย และจะต้องมีการปฏิรูปอาชีวการศึกษาเพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันในระดับประเทศรวมถึงมาตรการความปลอดภัยของผู้เรียนในแต่ละสถาบัน

6. “โครงสร้างของหน่วยงานแนวระบบการศึกษา” จะต้องทำให้สถานศึกษามีความเป็นอิสระในการบริหารงานและจัดหลักสูตรในการศึกษา รวมถึงมีการเพิ่มพื้นที่ในการสร้างนวัตกรรมต่างๆนอกห้องเรียน และจะต้องมีการปรับโครงสร้างในกระทรวงศึกษาธิการให้มีความเป็นเอกภาพมากขึ้น และแบ่งความรับผิดชอบให้ชัดเจนระหว่างแต่ละหน่วยงาน

7. “ใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาปฏิรูปการศึกษา” ใช้แพลตฟอร์มในการเรียนรู้ในการศึกษาระดับชาติผ่านระบบดิจิตอล รวมถึงในการพัฒนาระบบสารสนเทศในการศึกษา แล้วเป็นการใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่(Big Data) เพื่อติดตามนักเรียนในแต่ละพื้นที่ บันทึกในการส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ

ในบางประเทศที่มีการศึกษาอยู่ในระดับที่ต่ำกลับใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีในการพัฒนาขึ้นมาอยู่ในระดับสากลได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากหรือเป็นไปไม่ได้ สำหรับประเทศไทยที่จะพัฒนาการศึกษา

ดร.ประสาร กล่าวทิ้งท้ายด้วยคำพูดของ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ Lyndon B. Johnson ระบุว่า “การศึกษาไม่ใช่ปัญหา แต่การศึกษาเป็นโอกาส”

Business Today
Business Todayhttps://businesstoday.co
Supporting Thailand's business communities./ FB Page: Business Today Thai/ Social: Business Today Thai (สำหรับ Twitter, YouTube, Telegram)/ LINE: @Business today/ เว็บที่เกี่ยวข้อง: Thailand Today: www.thailandtoday.co/ FB: Thailantoday.co (English)/ Thailand Today News: www.thailandtoday.news/ FB: Thailandtoday.news (Mandarin Chinese)

Latest

ติดตามข่าวสารอัพเดททันใจจาก Businesstoday ได้โดยกรอกอีเมลด้านล่าง

Related News