สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ร่วมกับ บริษัท หาญ เอ็นจิเนียริ่ง โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) จัดงานแถลงข่าวผลงานนวัตกรรมและงานสัมมนา “เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติขั้นสูง เพื่อวินิจฉัยและวางแผนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ” มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดไปสู่โอกาสทางการสร้างธุรกิจนวัตกรรมไทย
ซึ่งการแถลงข่าวครั้งนี้ ได้นำเสนอถึงเรื่องการสร้างแบบจำลองอวัยวะสามมิตินับเป็นนวัตกรรมที่สนับสนุนแพทย์ในการแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติหรือรอยโรคได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรักษาที่มีข้อจำกัดในการสร้างภาพ CT Scan / MRI เช่น การผ่าตัดเปิดหัวใจเด็กแรกเกิด เนื่องจากมีขนาดหัวใจเล็ก ทำให้เห็นภาพจาก MRI/CT ไม่ชัดเจน และเทคโนโลยีดังกล่าวยังเป็นการทำให้เห็นภาพ 2 มิติ ที่แพทย์ต้องจินตนาการถึงมิติที่ 3 คือในมิติของความลึก
-‘แพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่’ ร่วมมือ ‘ซิสโก้’ ยกระดับดิจิทัลเฮลท์แคร์ มุ่งสู่โรงเรียนแพทย์ดิจิทัลระดับสากล
-TeleHealth ระบบปรึกษาแพทย์ทางไกล
ดังนั้นการใช้เทคโนโลยี 3D เข้ามาช่วยวางแผนในการรักษานี้ทำให้เกิดการรักษาที่ประสิทธิภาพ แม่นยำ และลดเวลาในการผ่าตัดลงได้ เป็นการยกระดับมาตรฐานการรักษา อีกทั้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายซึ่งในต่างประเทศพบว่าการสร้างแบบจำลองกะโหลกศีรษะช่วยลดเวลาในการผ่าตัดได้ถึง 3-4 ชั่วโมง คิดเป็นมูลค่าจากการลดการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ทั้งห้องผ่าตัดและบุคลากรราว 100,000 บาทต่อการผ่าตัดหนึ่งครั้ง เป็นการลดค่าใช้จ่ายได้มากเมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายการสร้างแบบจำลองอวัยวะระดับหลักพันถึงหมื่นบาท
จากวัตถุประสงค์ของการดำเนินการดังกล่าว นับเป็นการสร้างให้เกิดการบริการทางพาณิชย์ด้านการพิมพ์สามมิติในประเทศไทยครั้งแรก ที่ระบบบริการทางการแพทย์ของไทยสามารถเข้าถึงในราคาที่เหมาะสม ซึ่งความสำเร็จในโครงการจะช่วยยกระดับความสามารถของการแพทย์ไทยไปอีกขั้น ให้ใกล้เคียงหรือเท่าเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้วในระดับราคาที่เข้าถึงได้
ที่ผ่านมาได้มีการจัดส่งแบบจำลองอวัยวะให้โรงพยาบาลต่าง ๆ ได้นำไปรักษาจริงแล้ว 50 ชิ้น ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ระยอง ชลบุรี อุบลราชธานี ขอนแก่น สงขลา และกรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้ ยังมีการเสวนา ทิศทางและการเติบโตของเทคโนโลยี 3D Med กับวงการแพทย์ในประเทศไทยและการต่อยอดไปสู่โอกาสทางการสร้างเศรษฐกิจนวัตกรรมไทย 3D นวัตกรรมทางการแพทย์