HomeBT Newsเปิดแพ็คเกจรถยนต์ไฟฟ้า EV มีเงื่อนไข-สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

เปิดแพ็คเกจรถยนต์ไฟฟ้า EV มีเงื่อนไข-สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 15 ก.พ.65 มีมติเห็นชอบแพ็คเกจสนับสนุนยานยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือรถ EV(Electric Vehicle) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้านกรมสรรพสามิต หน่วยงานสังกัดกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นหน่วยงานเกี่ยวข้องโดยตรงในด้านภาษีเพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนการผลิตรถ EV ในไทย

การสนับสนุนมุ่งเน้นให้เกิดอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศในระยะยาว จะเกิดขึ้นระหว่างปี 2565-2568 ได้แบ่งช่วงเวลาให้ผู้ผลิตสร้างโรงงาน 2 ช่วง ประกอบด้วย

ระยะแรก ระหว่างปี 2565-2566 : อนุญาตให้นำเข้ารถ CBU/CKD เพื่อสนับสนุนการทดลองตลาด BEV ภายในประเทศ

- Advertisement -

รถยนต์ที่นำเข้าแบบ CBU ที่ได้รับสิทธิ โดยจะต้องมีราคาขายปลีกแนะนำ ดังนี้

1)ราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท

-ลดอากรสูงสุด 40%

-ลดภาษีสรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2%

-เงินอุดหนุน 70,000 บาท (10-30 กิโลวัตต์ชั่วโมง)

-เงินอุดหนุน 150,000 บาท(มากกว่า 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง)

2)ราคาขายปลีกแนะนำตั้งแต่ 2-7 ล้านบาท

-ลดอากรสูงสุด 20% (มากกว่า 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง)

3)รถยนต์กระบะ (ผลิตในประเทศเท่านั้น) ราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท

-ลดภาษีสรรพสามิต 0%

-เงินอุดหนุน 150,000 บาท(มากกว่า 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง)

ระยะกลาง ระหว่างปี 2567-2568 : อนุญาตให้นำเข้า CKD เพื่อส่งเสริมการผลิต BEV และชิ้นส่วนสำคัญภายในประเทศ

รถยนต์ที่ผลิตในประเทศที่ได้รับสิทธิ โดยจะต้องมีราคาขายปลีกแนะนำ ดังนี้

1)ราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท

-อากรขาเข้าชิ้นส่วน BEV 0%

-ลดภาษีสรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2%

เงินอุดหนุน 70,000 บาท(10-30 กิโลวัตต์ชั่วโมง)

เงินอุดหนุน 150,000 บาท(มากกว่า 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง)

2)ราคาขายปลีกแนะนำตั้งแต่ 2-7 ล้านบาท

-อากรขาเข้าชิ้นส่วน BEV 0% (มากกว่า 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง)

3)รถยนต์กระบะ (ผลิตในประเทศเท่านั้น) ราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท

-อากรขาเข้าชิ้นส่วน BEV 0%

-ลดภาษีสรรพสามิต 0%

-เงินอุดหนุน 150,000 บาท(มากกว่า 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง)

เงื่อนไขผลิตชดเชย

-ผู้ขอรับสิทธิและนำเข้ารถ CBU ในปี 2565-2566 ผลิต CKD เพื่อชดเชยการนำเข้า CBU 1:1 เท่า ภายในปี 2567

-ผลิต CKD เพื่อชดเชยการนำเข้า CBU 1:1.5 เท่า ภายในปี 2568

เงื่อนไขแบตเตอรี่

-ผู้ขอรับสิทธิต้องผลิตหรือใช้แบตเตอรี่ที่ผลิต หรือประกอบในประเทศตั้งแต่ 1 ม.ค.2569 โดยสามารถเลือกได้หลายระดับ (Pack , Module ,Cell) โดยในแต่ละระดับต้องมีการใช้ชิ้นส่วนสำคัญภายในประเทศ

อากรศุลกากร

-ถ้าเป็น CBU ลดอากรสูงสุด 40% (ปี 2565-2566)

-ถ้าเป็น CKD ลดอากรขาเข้าชิ้นส่วนเหลือ 0% (ปี 2565-2568)

เขตปลอดอากร

-อนุมัติให้มีการนับมูลค่าของเซลล์แบตเตอรี่ที่นำเข้ารวมเป็นต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้น ในประเทศไม่เกิน 15% ของรถยนต์ไฟฟ้า(BEV) ระหว่างปี 2565-2568

อนึ่ง BEV (Battery Electric Vehicle) คือ รถยนต์ประเภทขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่มาจากแบตเตอรี่ 100% / CBU (Completely Built Up) คือ รถยนต์ที่ผลิตในต่างประเทศทั้งคัน 100% และนำเข้ามาขายในไทย / CKD (Completely Knocked Down) คือ รถยนต์ที่ผลิตในประเทศ โดยชิ้นส่วนอะไหล่ที่นำมาประกอบจะมีทั้งนำเข้าจากต่างประเทศ หรือมาจากในประเทศไทยก็ได้

Business Today
Business Todayhttps://businesstoday.co
Supporting Thailand's business communities./ FB Page: Business Today Thai/ Social: Business Today Thai (สำหรับ Twitter, YouTube, Telegram)/ LINE: @Business today/ เว็บที่เกี่ยวข้อง: Thailand Today: www.thailandtoday.co/ FB: Thailantoday.co (English)/ Thailand Today News: www.thailandtoday.news/ FB: Thailandtoday.news (Mandarin Chinese)

Latest

ติดตามข่าวสารอัพเดททันใจจาก Businesstoday ได้โดยกรอกอีเมลด้านล่าง

Related News