“เศรษฐา” ปิดทาง “นิรโทษกรรม” ให้เป็นไปตามกฎหมาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกฯและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ผ่านเพจ THE STANDARD ตอนหนึ่ง ถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีมีการตั้งคณะทำงานเพื่อทำประชามติหรือไม่เป็นการซื้อเวลาหรือไม่ ว่า

ไม่ใช่การซื้อเวลาแน่นอน เป็นการตั้งคณะทำงานเพื่อรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน เราทำประชามติแน่นอน ผ่านกลไกรัฐสภา ที่เป็นตัวแทนประชาชนอยู่แล้ว โดยไทน์ไลน์จะเป็นอย่างไรนั้น สสร.ต้องฟังประชามติก่อน ตอนนี้เริ่ม แล้วยืนยันทำตามไทม์ไลน์ ไม่ใช่การซื้อเวลาเราต้องการให้คนเห็นต่างร่วมพูดคุยว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาอย่างไร โดยสิ่งที่ไม่แก้คือหมวดพระมหากษัตริย์ชัดเจน ส่วนเรื่องอื่นก็รอฟังประชามติ
ส่วนเรื่อง 112 ยืนยันไม่มีการปรับแก้ ขณะที่นักโทษทางการเมืองก็เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม
“ปดิพัทธ์” ยันไม่ลาออกจากตำแหน่ง แม้ “พิธา” ลาออก
ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาฯคนที่ 1 ยืนยันว่าจะไม่ลาออกจากตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ภายหลังนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคฯ เพื่อให้หัวหน้าพรรคก้าวไกลคนใหม่ สามารถทำหน้าที่ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรได้

เมื่อหัวหน้าพรรคลาออก กรรมการบริหารพรรคจะพ้นสภาพโดยอัตโนมัติ และจะมีการเลือกกันใหม่ในวันอาทิตย์ที่ 24 กันยายนนี้ เมื่อมีกรรมการบริหารพรรคก้าวไกลชุดใหม่ จึงจะหารืออีกครั้ง เพราะส่วนตัวไม่เห็นด้วย กับข้อจำกัดที่กำหนดไว้ในกฎหมาย บีบบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่ตรงไปตรงไปมา
แต่หากพรรคก้าวไกลจะมีมติขับตนเองออกจากสมาชิกพรรคก้าวไกลให้ไปสังกัดพรรคการเมืองอื่น เพื่อรักษาตำแหน่งรองประธานสภาฯไว้ และให้พรรคก้าวไกล สามารถมีตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรด้วยว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นเพราะข้อจำกัดทางรัฐธรรมนูญ
เพราะไม่มีประเทศใดใช้เทคนิคกฎหมายแบบนี้ และตนเองได้รับการเลือกตั้ง สส. ได้รับมติจากสภาผู้แทนราษฎร และได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ทำหน้าที่รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
หากพรรคเห็นสมควรอย่างไรก็ถือเป็นเรื่องของพรรค แต่ตนเองก็พร้อมทำหน้าที่ของตนเองเต็มที่ มั่นใจว่า การตัดสินใจของพรรคก้าวไกล จะเป็นประโยชน์ที่ไม่ใช่กับพรรคเท่านั้น แต่เป็นประโยชน์ของประเทศชาติ และการได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรด้วย
“ชวน” เตือนรัฐบาลอย่าขัด “หลักนิติธรรม”
ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี และ อดีตประธานรัฐสภา กล่าวปาฐกถา เรื่อง “ฉากทัศน์ประเทศไทย หลังการจัดตั้งรัฐบาล” ในงานนำเสนอยุทธศาสตร์เชิงปฏิบัติการต่อสาธารณะของนักศึกษาหลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง รุ่นที่ 13 (พตส.13)

โดยมีสาระสำคัญตอนหนึ่ง ระบุว่า การจัดตั้งรัฐบาลปัจจุบันเมื่อเทียบกับรัฐบาลที่ผ่านมา ที่มีมากถึง 19 พรรค รอบนี้น่าจะทำได้ง่าย เพราะสามารถใช้ สส. 3พรรคการเมือง คือ พรรคก้าวไกล, พรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทย แต่กลับไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ เพราะปัญหาทัศนคติและนโยบายที่ไม่ตรงกัน ขณะเดียวกันจากการเลือกตั้งที่ผ่านมาพบว่านักการเมืองรุ่นใหม่เกิดมากขึ้น
ในอดีตแม้ตัวเลข สส.ฝ่ายรัฐบาลอาจจะมีจำนวนมากกว่านี้ แต่เมื่อมีผู้บริหารรัฐบาลที่ออกนอกหลักนิติบัญญัติ และละเมิดหลักนิติธรรม เช่น นโยบายฆ่าตัดตอน ฆ่าทิ้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็สะท้อนว่ารัฐบาลเสียงข้างมากอาจมีปัญหาได้ หากกระทำขัดหลักนิติธรรม
“ธรรมนัส” แบ่งงาน 2 รมช.เกษตรฯแล้ว
ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงนาคำสั่ง เรื่อง มอบหมายอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งและปฎิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้การบริหารราชการของกระทรวงเป็นไปอย่างเรียบร้อยและรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 และมาตรา 38 และมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รัฐมนตรีว่าการกระทวงเกษตรและสหกรณ์จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ไชยา พรมหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดูแลและกำกับ ได้แก่ กรมปศุสัตว์,กรมฝนหลวงการบินเกษตร,กรมหม่อนไหม,องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)
อนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกะรทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดูแลและกำกับ ได้แก่ กรมการข้าว,กรมพัฒนาที่ดิน,สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และ องค์การสะพานปลา
หน่วยงานที่เหลือคาดว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะดูแลและกำกับทั้งหมด ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,กรมชลประทาน,กรมส่งเสริมการเกษตร,สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)สำนักงานปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.),องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก.),กรมประมง,การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กรมวิชาการเกษตร,กรมส่งเสริมสหกรณ์,กรมตรวจบัญชีสหกรณ์,สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง และสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
“สมชัย” ชี้นายกฯตั้ง “พิชิต” เป็นที่ปรึกษาส่อมีปัญหาข้อกฎหมาย
สมชัย ศรีสุทธิยากร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเมืองและการพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต ให้สัมภาษณ์ต่อกรณีเศรษฐา ทวีสิน นายกฯและรมว.คลัง ลงนามตั้ง 9 ที่ปรึกษาของนายกฯ โดยพบว่ามีชื่อของพิชิต ชื่นบาน ทนายความที่ถูกศาลสั่งให้จำคุกข้อหาละเมิดอำนาจศาล กรณีถุงขนม 2ล้านบาท ร่วมเป็นทีมที่ปรึกษาด้วยว่า

กรณีที่เกิดขึ้นปัญหาไม่ได้อยู่ที่พิชิต แต่ปัญหาอยู่ที่นายกฯ ที่แต่งตั้งบุคคลที่เป็นปัญหา มีประวัติด่างพร้อยร่วมทำงาน อย่างไรก็ดีต้องให้ความเป็นธรรมกับนายพิชิตด้วยว่าไม่ใช่ว่ากระทำผิดในอดีตแล้วจะถูกจำกัดไม่ให้ทำงานอะไรได้ในปัจจุบัน เมื่อได้รับโอกาสในการทำงานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และมีผู้ให้โอกาส ต้องประเมินถึงการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ