12 ปีที่ผ่านมาไทยพีบีเอส พยายามก้าวเข้าสู่อนาคตโดยใช้รูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นดิจิทัล ปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยี ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นสื่อสาธารณะ ที่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนสู่ภาคการเมือง จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
เกาะติดความคืบหน้าการใช้สารพิษกับภาคการเกษตรอย่างต่อเนื่องอย่างตรงไปตรงมา จนภาครัฐได้หยิบยกปัญหานี้เข้ามาหาทางออกอย่างจริงจัง รณรงค์การจัดการขยะอย่างจริงจัง โดยร่วมมือกับที่องค์กรที่ทำงานโดยตรง ทำให้การขับเคลื่อนผ่านหน้าจอและในระดับชุมชน
-ช่อง 3 จับมือเทนเซ็นต์ ตั้งเป้าขยายฐานผู้ชมทั้งในและต่างประเทศ ยืนหนึ่งผู้นำด้านละคร
ให้ความสำคัญกับความแตกต่างหลากหลาย ผ่านทางรายการต่าง ๆ เช่น การถ่ายทอดสดกีฬาของกลุ่มชาติพันธุ์ การถ่ายทอดสดการแข่งขันเรือยาว และการสารพันลั่นทุ่ง นอกจากนี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนโดยผลักดันให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพโดยจัดการส่งเสริมการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ ให้ความสำคัญกับมุมมองคนรุ่นใหม่ ส่งเสริมวัฒนธรรมความเป็นไทย และกับเด็กและครอบครัว อีกด้วย
รศ.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการ ไทยพีบีเอส กล่าวว่า “ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะเราได้รับการสนับสนุนจากหุ้นส่วนสื่อสาธารณะ จากภาคีเครือข่าย และประชาชนจำนวนมากในประเทศ สำหรับปี 63 การก้าวสู่ปีที่ 13 เราจะมุ่งหมายเป็นสื่อสาธารณะที่ทำประโยชน์ให้แจ่มชัด ให้มีสาระเข้าสู่ประชาชน และจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันกับยุคสมัยมากขึ้น”
6 ก้าวจุดยืนของปี 2563
1.ข่าวเจาะลึกถูกต้อง รอบด้าน และเป็นธรรม: นำเสนอข่าวให้เข้าใจง่ายให้ทางออกสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างในมิติต่าง ๆ ทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคม ทำให้เห็นว่าการเข้ามานี้ยังอยู่บนแนวทางของการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย โดยจะเกาะติด โอลิมปิก 2020 ที่โตเกียว, การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และทุนจีนบุก EEC นอกจากนี้จะนำเสนอข่าวไปในทุกแพลตฟอร์ม
2.รายการสร้างสรรค์ มุ่งสร้างพลเมืองคุณภาพ สร้างทักษะแห่งอนาคต รับมือการเปลี่ยนแปลง แข่งขันได้: โดยจะนำเสนอละครที่มีประโยชน์ ส่งเสริมวัฒนธรรมและประชาชนจะได้ความรู้จากการรับชม จะมีละครเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน โดยจะผสมผสานนาฏศิลป์ระหว่าง 2 ประเทศเข้ามา นอกจากนี้จะมีสารคดีให้ชมกันตลอดทั้งปี จะมีสารคดีที่สะท้อนปัญหาสังคม “วงแหวนใต้สำนึก” ที่จะบอกเล่าชีวิตของคนที่มีอาการทางจิตเวชเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ทางสังคม มีสารคดีที่ร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์สาธารณะของต่างประเทศ
นอกจากนี้จะผลิตเรื่องภาษามือ เสียงบรรยาย คำบรรยาย ให้มากขึ้น และทำรายการที่เจาะกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้นซึ่งเป็นกลุ่มผู้ชมหลักของไทยพีบีเอส
3.พัฒนาเทคโนโลยี และเพิ่มช่องทางที่เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา: ขยายช่องทางสื่อดิจิทัลให้ตอบสนองต่อประสบการณ์ของพลเมืองทุกกลุ่ม มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาเสริมเช่น ThaiPBS 360 องศา, ทำช่อง Vipa ที่เป็น OTT ของไทยพีบีเอสให้เข้าถึงประชาชนมากขึ้นโดยเฉพาะในสมาร์ททีวี
4.สร้างสรรค์พื้นที่การเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นโรงเรียนของสังคม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างพลเมืองคุณภาพ: โดยการออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย กับพื้นที่ เน้นทักษะแห่งอนาคตของประชาชน
5.การบริหารงานองค์กรให้มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานธรรมาภิบาล: พัฒนาบุคลากรคุณภาพ ขับเคลื่อนการทํางานบนฐานข้อมูลความรู้ พัฒนาบุคลากรให้มีดิจิทัล DNA และพัฒนาระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ เครื่องมือต่าง ๆ ให้ไทยพีบีเอสเป็น Data Driven Organization โดยเริ่มทำโครงสร้างแบบใหม่คู่ขนานไปกับโครงสร้างเดิม มีหน่วยงานที่เป็นศูนย์ผลิตเนื้อหาชั้นเยี่ยมยอดและเป็นจุดแข็งของไทยพีบีเอส เป็นส่วนที่มีการจัดการบริหารแบบคล่องตัวและทำงานได้ดีขึ้น
6.ยกระดับพื้นที่สื่อพลเมืองและเสริมพลังความร่วมมือ: สร้างการมีส่วนร่วม เชื่อมต่อความรู้ท้องถิ่นสู่ความรู้สาธารณะ ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงร่วมกับภาคีหุ้นส่วน ผู้ชมจะสามารถชมไทยพีบีเอส แบบแนวนอนทางจอทีวี และแบบแนวตั้งผ่านทางออนไลน์ได้ นำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เกิดความแข็งแกร่ง และจัดทำโครงการฟังเสียงประเทศไทย เพื่อออกไปรับฟังเสียงประชาชนนอกพื้นที่และสื่อสารกันจริง ๆ แบบสด และสื่อสารกลับไปที่ภาคนโยบายทางระดับท้องถิ่นและระดับชาติ เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้หาทางออกให้กับชุมชน จะทำให้ภาคประชาชนและภาครัฐเข้ามาเจอกันได้ง่ายขึ้น

ไทยพีบีเอส ย้ำจุดยืนกับการเป็นสถาบันสื่อสาธารณะที่สร้างสรรค์สังคมคุณภาพและคุณธรรมผ่านการนำเสนอ 3 วาระเพื่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม ดังนี้
1.การจัดการขยะ ปลูกจิตสำนึกของสังคมให้ตระหนักถึงปัญหาและหาทางออกร่วมกัน ผ่านหลักการ ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และทำใหม่
2.ปัญหาปากท้อง วิกฤตหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น รายรับน้อยกว่ารายจ่าย
3.การกระจายอำนาจ เตรียมพร้อมรับการเลือกตั้งท้องถิ่น ออกไปรับฟังเสียงประชาชนหรือในหมู่บ้าน ยกระดับความสำคัญผลักดันสู่ระดับนโยบาย
“เราจะทุ่มทุกหน่วยงานเข้ามาทำทั้ง 3 วาระนี้ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงค่านิยมของการนิ่งเฉย ค่านิยมของการแบ่งแยก หรือค่านิยมของการทำอย่างเดิม ถ้าเราทำเรื่องเหล่านี้เราจะสามารถเปลี่ยนค่านิยมได้ และความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาขยะ ปัญหาปากท้อง และการกระจายอำนาจซึ่งเป็นฐานสำคัญของการสร้างประเทศที่แข็งแรง เราคงทำเองทุกเรื่องไม่ได้ แต่สิ่งที่เราทำได้คือเป็น ‘จุดคานงัด’ เพื่อทำให้สังคมมีพลัง แก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้สุดทาง” รศ.วิลาสินี กล่าวสรุป