หนี้ครัวเรือน หรือหนี้เพื่อการบริโภคของคนไทยยังเป็นปัญหาใหญ่ ประกอบไปด้วย สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อนถยนต์ บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล แม้จะพยายามออกมาตรการเพื่อลดหนี้ครัวเรือน แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ
หนี้ครัวเรือนของคนไทยยังอยู่ในระดับสูง ตัวเลขล่าสุดเมื่อสิ้นไตรมาสแรกยังอยู่สูงถึง 12.96 ล้านล้านบาท หรือ ราวๆ 80% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเทศ(จีดีพี)
หนี้ครัวเรือนสูงเป็นอันตรายอย่างไร?
ในช่วงเศรษฐกิจขยายตัว ดูเหมือนจะไม่สร้างปัญหา แต่หากเศรษฐกิจชะลอตัวเมื่อไหร่ ถึงเวลานั้นก็จะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ครัวเรือนไม่มีปัญญาใช้หนี้หรือผ่อนชำระ ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อสถาบันการเงิน ทำให้เกิดหนี้เสียเพิ่มขึ้น และกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม
แล้วคนไทยมีการกู้ยืมที่ไหนมากที่สุด?
ธนาคารพาณิชย์ มีสัดส่วนมากที่สุด 43%
สถาบันการเงินเฉพาะกิจ(แบงก์รัฐ) 28%
สหกรณ์ออมทรัพย์ 16%
สถาบันการเงินที่ไม่ใช่แบงก์(Non-Bank) 10%
อื่นๆ 3%
ทำไมสัดส่วนคนไทยติดหนี้แบงก์ลดลง?
เพราะธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้เก็บข้อมูลการเงินจากบรรดาสหกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ทำให้รู้ว่าคนไทยทุกวันนี้ติดหนี้สหกรณ์กันมหาศาล หรือ กว่า 2 แสนล้านบาท และสหกรณ์มีพฤติกรรมการปล่อยกู้กันไปมา อีกทั้งให้ผลตอบแทนสมาชิกในอัตราสูงกว่าตลาดทั่วไป ทำให้เมื่อเกิดปัญหาจะลุกลามไปอีกหลายแห่ง ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
หากดูจากสัดส่วนหนี้ครัวเรือนที่กระจายตัวไปตามสถาบันการเงินประเภทต่างๆ ก็พอจะประเมินออกออกว่าหากเกิดปัญหาการชำระหนี้ทั้งระบบ อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจชะลอตัวหรือวิกฤตเศรษฐกิจ ใครจะได้รับผลกระทบมากที่สุด