DTAC เปิดคลังความรู้สำหรับสอนเยาวชน เพื่อให้ครู-ผู้ปกครอง สามารถสอนเยาวชนได้อย่างเหมาะสม ให้เด็กยุคหน้ารู้เท่าทันโลกออนไลน์ ไม่ให้รหัสส่วนตัวกับใคร และแบบไหนเรียกการรังแกบนโลกออนไลน์
คุณอเล็กซานดรา ไรท์ ประธานเจ้าหน้สที่บริหาร DTAC แถลงข่าวเปิดเว็บแหล่งเรียนรู้ออนไลน์สำหรับครู-ผู้ปกครองเวอร์ชั่นภาษาไทย เพื่อสร้างเด็กยุคดิจิทัลอย่างเหมาะสม ภาพใต้ชื่อ SafeInternetForKid.com เวอร์ชั่นภาษาไทย เพื่อรองรับสังคมดิจิทัลและสังคมผู้สูงอายุ ระบุว่า ในอนาคตของประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้นการทำให้เยาวชนในยุคนี้พร้อมที่จะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและสังคมแห่งโลกดิจิทัลซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญในอนาคตที่เยาวชนจะต้องมีทักษะทางด้าน Digital เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการทำให้ประเทศไทยพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและโลกดิจิทัล เราจำเป็นที่จะต้องทำให้เยาวชนเหล่านี้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและ มีภูมิต้านทานสำหรับโลกดิจิทัล ซึ่งการที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ก็จำเป็นที่จะต้องทำให้ โลกออนไลน์ปลอดภัยสำหรับเยาวชนในช่วงอายุที่เหมาะสม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งผู้ปกครองและครูในการทำให้เกิดทักษะทางด้านดิจิทัลที่เหมาะสมในอนาคต

ซึ่งภายในเว็บไซต์ที่เปิดขึ้นก็จะมีการร่วมมือกับจุฬาฯเพื่อนำ กรณีศึกษารวมถึงแนวทางในการสอนเยาวชนในแต่ละช่วงวัยสำหรับครูและผู้ปกครอง ซึ่งหากแบ่งเป็นช่วงอายุ ช่วงวัย 5-8 ปีจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันช่วงวัย 9-13 ปี การดูแลในการใช้โลกออนไลน์ก็จำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือบ้างในบางครั้ง และช่วงอายุ 14 – 16 ปี เป็นช่วงที่จะปล่อยให้เขาได้เรียนรู้และสร้างความมั่นใจในตัวเองอย่างเปิดกว้าง ถ้าดูกันภายในเว็บไซต์ก็จะมีการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและการฝึกทักษะต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในโลกออนไลน์นะ อาทิ การเข้าใจ Fake News , การใช้ภาษาที่ถูกต้อง , อารมณ์ที่ใช้รวมถึงการป้องกันการรังแกกันบนโลกออนไลน์

ขณะเดียวกันนอกเหนือจากเว็บไซต์ที่ร่วมกับพันธมิตรต่างๆในการส่งเสริมข้อมูลและความรู้ให้กับเยาวชนที่จะก้าวไปยังทิศทางที่ถูกต้องบนโลกออนไลน์แล้วยังมีการสร้างค่ายสำหรับเยาวชนที่จะเป็นผู้นำในการสร้างอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชนภายใต้โครงการชื่อ “Young Safe Internet Leader Camp” ซึ่งจะมีการตั้งเป้าหมายว่าจะนำเด็กกว่า 200 คน จากทั่วประเทศมาเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างถูกต้องและเป็นผู้นำที่จะช่วยเหลือบุคคลรอบข้างในการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างเหมาะสม

ทั้งนี้ภายในงานมีการเสวนาพิเศษในหัวข้อ “เปลี่ยนจาก Digital Naive เป็น Digital Native” โดย ผศ.พิจิตรา สึคาโมโต้ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการสื่อ และหัวหน้าภาควิชาสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นายธเนศ สิรินุมาศ หัวหน้าทีมออกแบบกระบวนการอบรมอินสครู เพื่อชี้ให้เห็นว่าการเป็นเด็กในยุคดิจิทัล กับคสามไร้เดียงสาของเด็กเป็นสิ่งที่ต้องสร้างความเข้าใจให้กับผู้ปกครองและนำมาสร้างภูมิคุ้มกันที่ถูกต้องให้กับบุตรหลานด้วย
ผศ.พิจิตรา ระบุว่า งานวิจัยจาก ETDA กลุ่ม Gen X , Gen Y เป็นกลุ่มที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เยอะมากที่สุดซึ่งสำหรับประเทศไทยในปี 2018 มีการใช้ Facebook มากถึงร้อยละ 96 รองมาด้วย LINE และ YouTube จากการวิจัยพบว่าปัญหาส่วนหนึ่งที่เข้ามามีปัญหากับผู้ใช้ในโลกออนไลน์ คือ “Fake News” แต่สิ่งที่เข้ามามีปัญหามากกว่าคือ “การรังแกกันบนโลกออนไลน์”(Cyber Builling) ซึ่งในอนาคตก็จะมีการเข้ามาของดิจิทัลมากมายในชีวิตประจำวัน ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่จะเข้ามามีปัญหาคือ เรื่องของข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนความพร้อมสำหรับประเทศไทยในการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล พบว่าทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือดี เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆแล้ว ประเทศไทยมีความเข้มแข็งและความพร้อมในการทำงานร่วมกันของแต่ละองค์กรมากกว่าในบางประเทศ ซึ่งแพลตฟอร์มสังคมออนไลน์ต่างๆก็เริ่มที่จะหันมาดำเนินงานในส่วนของการสร้างภูมิต้านทานในโลกออนไลน์สำหรับเยาวชนเพิ่มมากขึ้นแล้ว
หนึ่งในตัวแทนครู ระบุว่า จากประสบการณ์ที่พบกับเยาวชนไทยในปัจจุบัน พบว่า วิธีการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมในการล้อเลียนและแกล้งกันขณะเดียวกัน มีการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมในการล้อเลียนและแกล้งกัน ขณะเดียวกันในระดับมัธยมปลายก็มีถึงขั้นสร้างบัญชีผู้ใช้ปลอมเพื่อนำมากลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ รวมถึงมีการถ่ายรูปหล่อแล้วไงเพื่อสร้างรายได้ไม่เหมาะสม ถึงแผนกโรงเรียนก็มีการเรียนการสอนความรู้เท่าทันสื่อเพิ่มขึ้นมาในวิชาเรียนด้วย
สิ่งที่เยาวชนโตมาในยุคดิจิทัลหนึ่งในปัญหา คือ เยาวชนไม่รู้ว่าอินเทอร์เน็ตคืออะไรเหมือนในอดีตเพราะทันทีที่เยาวชนเหล่านี้เติบโตมาก็ ใช้สื่อสังคมออนไลน์แล้ว ดังนั้นเยาวชนเหล่านี้จะไม่รู้ว่า สังคมออนไลน์ในแต่ละประเทศเป็นพื้นที่ของบริษัทต้นสังกัดเช่น Facebook หรือ Twitter ดังนั้นในหลายๆแบบฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์จึงมีการออกแบบกฎเกณฑ์ต่างๆ รวมถึงข้อบังคับให้เกิดการเหมาะสม ซึ่งสำหรับผู้ปกครองเองก็ต้องมีความเข้าใจที่เหมาะสมและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับเยาวชน โดยส่วนตัวมองว่าสิ่งเหล่านี้ควรเริ่มจากภาคประชาสังคมและครอบครัว และภาครัฐก็จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาต่อยอดมากยิ่งขึ้น
นายธเนศ ระบุว่า การร่วมมือกันครั้งนี้เริ่มจากครูที่นำมาทำการวิจัยซึ่งมาจากหลากหลายหมวดหมู่และสาขาวิชา ซึ่งข้อมูลที่ได้รับกลับพบว่ามีปัญหาที่ใหญ่มากยิ่งขึ้น ซึ่งปัญหาที่พบก็มีแต่การสร้างบัญชีผู้ใช้ปลอมเพื่อมารังแกกัน , ลบออกจากการโพสต์ข่มขู่คุณครูเช่นกันรวมตัวกันเผาบ้านครู หรือแม้กระทั่งการที่ครูถูกเด็กรังแกเอง เช่นการเก็บโทรศัพท์ขึ้นมาถ่ายภาพแกล้งคุณครู ซึ่งหนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือเยาวชนมากไม่รู้ว่าสิ่งใดไม่ควรทำและเผยแพร่ต่อบนโลกออนไลน์ เช่น ที่อยู่ , รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคล
จากการลงไปศึกษาข้อมูลและอบรมเยาวชนกลับพบว่าเยาวชนยังมีความรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลที่ไม่เพียงพอ โดยหนึ่งในกิจกรรมที่ทำให้เยาวชนเห็นได้ชัดคือการสร้างแบบฝึกหัดว่า หาเคยให้ข้อมูลส่วนตัวเช่นรหัส Facebook หรือชื่อผู้ปกครองก็จะไม่ถูกหักคะแนน และกลายเป็นว่าเยาวชนเหล่านั้นพร้อมที่จะให้ข้อมูลกับคนแปลกหน้าเพื่อได้รางวัลเพียงชั่วคราวเท่านั้น นี่จึงเป็นหนึ่งในแบบฝึกหัดที่ทำให้เยาวชนเห็นได้ชัดเจน ว่า การให้ข้อมูลส่วนบุคคลทั้งรหัสต่างๆและข้อมูลต่างๆเป็นเรื่องที่อันตรายมากในอนาคต