นายกฯ ชมกลุ่มเกษตรกรแปรรูป พัฒนาสุราพื้นเมืองจากข้าวมะลินิลสุรินทร์
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (11 ก.ค.66) เวลา 08.30 น. ณ โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เยี่ยมชมการจัดแสดงผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวของกลุ่มเกษตรกร โดยมี นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว พร้อมคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมการข้าว เข้าร่วมการจัดแสดงผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวของกลุ่มเกษตรกรครั้งนี้ด้วย

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวของกลุ่มเกษตรกร ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าวได้ดำเนินงานด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว ตามนโยบายรัฐบาล เพื่อเพิ่มมูลค่าข้าวและเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าว สอดคล้องความต้องการตลาด และสร้างความมั่นคงให้แก่เกษตรกรและชาวนาอย่างยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวที่หลากหลายและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่เป็นอาหาร (Food) และไม่ใช่อาหาร (Non food) ได้แก่ ขนมขบเคี้ยว อาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องสำอาง เป็นต้น
บีโอไอหนุนผู้ผลิตชิ้นส่วน จัดงาน “BYD Sourcing Day” จับคู่ธุรกิจกว่า 160 บริษัท
นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา บีโอไอได้ร่วมกับบริษัท บีวายดี ออโต้ (ประเทศไทย) และบริษัทดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จัดกิจกรรม “BYD Sourcing Day” ณ ศูนย์คอนเวนชั่นฮอลล์ พัฒนาสปอร์ตรีสอร์ท จังหวัดชลบุรี เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ระหว่าง BYD ซึ่งเป็นผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ชั้นนำของโลกและอันดับหนึ่งของประเทศจีน กับผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศไทยที่มีศักยภาพ

กิจกรรมจับคู่ธุรกิจ “BYD Sourcing Day” ในครั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการชิ้นส่วนอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่มีศักยภาพกว่า 160 บริษัท ได้เข้าร่วมการเจรจาธุรกิจกับบริษัท บีวายดี ออโต้ (ประเทศไทย) จำกัด โดยเน้นไปที่ชิ้นส่วนสำคัญและบริการใน 7 กลุ่มตามความต้องการของ BYD ได้แก่ 1. ระบบส่งกำลังรถยนต์ (Powertrain) 2. ชิ้นส่วนแบตเตอรี่แรงดันสูง 3. อุปกรณ์และชิ้นส่วนต่าง ๆ 4. กลุ่มงานบริการ (Services Department) 5. ระบบบริหารจัดการ (Administration Services) 6. อุปกรณ์สำหรับการซ่อมบำรุงในโรงงาน (MRO) และ 7. การขนส่งและโลจิสติกส์ โดยมีผู้ประกอบการในประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจมากกว่า 400 คน
บีโอไอผนึก 7 หน่วยงาน ดึงลงทุน ‘GAC AION’ ยักษ์ใหญ่ผู้นำยานยนต์ไฟฟ้าจีน
นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก บีโอไอได้ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรม EV แบบครบวงจร รวมถึงการอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจในไทย ล่าสุดได้ดึงการลงทุนจากบริษัท GAC AION New Energy Automobile หรือ GAC AION

ซึ่งเป็นบริษัทรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่อันดับ 3 ของประเทศจีน ด้วยยอดขายรถยนต์ไฟฟ้ากว่า 2.7 แสนคันในปี 2565 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 6 แสนคันในปีนี้ โดยบริษัทได้ตอบรับเดินหน้าลงทุนครั้งใหญ่ในประเทศไทย โดยจะใช้เงินลงทุนในเฟสแรกกว่า 6,000 ล้านบาททั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 บีโอไอได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน 7 หน่วยงาน ประกอบด้วยผู้แทนจากกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมการขนส่งทางบก และสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย (ไทยซับคอน) ร่วมกันให้ข้อมูลแก่บริษัท เพื่อสร้างความชัดเจนและความเชื่อมั่นในการเลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญในภูมิภาคอาเซียน
บีโอไอเผยยอดส่งเสริมลงทุน 6 เดือน กว่า 3.6 แสนล้าน ต่างชาติเดินหน้าลงทุนไทยฐานผลิตชั้นนำ
นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เปิดเผยว่า สถิติคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน 6 เดือน (มกราคม – มิถุนายน) ปี 2566 มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมรวมทั้งสิ้น 891 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 และมีมูลค่าเงินลงทุน 364,420 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับคำขอรับการส่งเสริมในอุตสาหกรรมเป้าหมาย มีจำนวน 464 โครงการ มูลค่ารวม 286,930 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 79 ของมูลค่าขอรับการส่งเสริมทั้งสิ้น

ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ตามลำดับในส่วนอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีคำขอรับการส่งเสริมจำนวน 106 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนสูงที่สุด กว่า 1.6 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่าตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และยังมีแนวโน้มขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องจากกระแสย้ายฐานการผลิตของกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดความเสี่ยงจากสงครามการค้าและความขัดแย้งของขั้วมหาอำนาจ รวมทั้งต้นทุนการผลิตในโลกตะวันตกที่สูงขึ้นมาก ประกอบกับนักลงทุนเชื่อมั่นในศักยภาพของไทย จึงเลือกขยายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทย โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ในกลุ่มแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) เซมิคอนดัคเตอร์ การทดสอบแผงวงจรรวมและเวเฟอร์ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า เซลล์แสงอาทิตย์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
ก.เกษตรฯ ร่วมกับมูลนิธิเกษตราธิการ และ สวก. จัดหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง รุ่นที่ 4
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานงานแถลงข่าวหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) รุ่นที่ 4 โดยมี นายอลงกรณ์พลบุตรที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ประธานกรรมการมูลนิธิเกษตราธิการ ดร.วิชาญอิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และคณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ซึ่งหลักสูตร วกส. จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มูลนิธิเกษตราธิการและสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)มีวัตถุประสงค์ในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยให้เป็นผู้นำด้านการเกษตรและอาหารในระดับนานาชาติ ที่จะส่งผลในการสร้างรายได้เพิ่มให้กับประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งหลักสูตรมีเนื้อหาครอบคลุมใน 6 ด้าน ได้แก่
1) Agriculture and Cooperatives Landscape 2) Agricultural Market Mechanisms 3) Technology and Innovation 4) Current Issues for Agriculture Development 5) Research for the Future และ 6) Leadership and Sustainability ซึ่งเนื้อหาหลักสูตรจะครอบคลุมและเชื่อมโยงในทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาคการเกษตรรวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำมาซึ่งแนวทางการขับเคลื่อนภาคการเกษตรที่เป็น Agri Challengeเพื่อรองรับความปกติใหม่ (New Normal to Next Normal) ที่จะเกิดขึ้น และสำหรับหลักสูตร วกส. รุ่นที่ 4 นี้ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคม – 1 ธันวาคม 2566 มีผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรภาครัฐภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และผู้แทนเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมการฝึกอบรม จำนวน 96 คน รวม 3 รุ่น จำนวน 288 คน