สมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ Facebook (ประเทศไทย) เปิดตัวแคมเปญ “The Story of Anonymous (เรื่องเล่าจากคนดีที่โลกไม่มีวันรู้จัก)” เนื่องในวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก เมื่อวันที่ 10 กันยายน ที่ผ่านมา ซึ่งโครงการดังกล่าว ต้องการให้ผู้คนตระหนักถึงการรับรู้และการดำเนินงานของสมาคมฯ ผ่านเรื่องเล่าของอาสาสมัครที่เล่าเรื่องราวการทำงานผ่านการรับฟัง ผู้ที่มีปัญหาทางจิตและโทรเข้ามาขอคำแนะนำ
นางสาวสโนว์ ไวท์ สเมลเซอร์ ผู้จัดการนโยบายความปลอดภัยประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ของ Facebook ระบุว่า ก่อนหน้าที่จะมาเข้าร่วมกับ Facebook เคยปฏิบัติหน้าที่เพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนมาเป็นระยะเวลา 14 ปี ซึ่งในนั้น 8 ปี ช่วยเหลือเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรู้สึกภาคภูมิใจกับการทำหน้าที่ในการช่วยเหลือส่วนต่างๆของสังคมมาก ดังนั้นสำหรับ Facebook มีกรอบของ “มาตรฐานชุมชน” ในการกำหนดว่าสิ่งไหนผู้ใช้ Facebook สามารถทำได้และทำไม่ได้ สิ่งแรก คือ “นโยบาย” ที่จะเข้ามาบังคับและควบคุมเส้นบางๆที่กั้นระหว่างสิ่งที่ทำได้และไม่ได้บน Facebook ซึ่งอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้ Facebook สามารถที่จะตรวจสอบและดูแลเนื้อหาต่างๆบนฟอร์มของตนเองคือ “เครื่องมือต่าง ๆ” ที่จะให้บุคคลสามารถที่จะใช้งานได้อย่างอิสระและรายงานเนื้อหาที่เป็นภัยต่อตนเอง-สังคมมาสู่ Facebook ได้
สำหรับ Facebook มีบริการข้อมูลต่าง ๆ ที่เปิดให้ผู้คนเข้ามาศึกษาข้อมูลบริการต่างๆของ Facebook อย่างเปิดกว้าง Facebook ให้ความสำคัญกับพันธมิตรต่างๆของบริษัทเป็นอย่างมากเพื่อที่จะทำให้สังคมของ Facebook เป็นสังคมที่น่าอยู่

หลังจากนี้จะแชร์ภาพคนกรีดข้อมือ-ทำร้ายตัวเองไม่ได้อีกต่อไป
หนึ่งในสิ่งที่เข้ามาเป็นนโยบายของ Facebook คือการป้องกันสิ่งที่เป็นภัยต่อบุคคลที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต ซึ่งการป้องกันการฆ่าตัวตายถือเป็นอีกหนึ่งนโยบายหลักของ Facebook เช่นกัน เป้าหมายหลักที่ต้องการคือ การทำให้สังคมของ Facebook ปลอดภัย และการทำให้ผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต ป้องกันไม่ให้มีปัญหาเพิ่มมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันสิ่งที่ Facebook ไม่ยินยอมให้ต้องการให้เนื้อหาต่างๆขึ้นไปอยู่บนแฟลตฟอร์มของตัวเอง คือสิ่งที่สนับสนุนและเนื้อหาต่าง ๆ ในการฆ่าตัวตาย รวมถึงคำแนะนำในการทำร้ายตัวเอง โดยนโยบายใหม่ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาของ Facebook จะพบว่ามุมมองของ Facebook เองและผู้เชี่ยวชาญต่างๆที่แนะนำว่าไม่ควรอนุญาตให้ผู้ใช้ Facebook แชร์ภาพที่ผู้ที่มีปัญหาทางจิตทำร้ายตัวเองหรือไปในทางการฆ่าตัวตาย ซึ่งในอดีตมีเป็นเพียงแค่การเบลอภาพและยังอนุญาตให้แชร์ได้ แต่ในปัจจุบัน Facebook ร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อที่จะรับคำแนะนำและทำงานร่วมกัน ซึ่งคำแนะนำหลังจากที่ได้รับจากพันธมิตรคือนโยบายข้างต้นที่กล่าวไป
เจอเพื่อนอัปฯสเตตัสซึมเศร้า รีพอร์ดได้และยังได้รับคำแนะนำในการช่วยเหลือด้วย
หนึ่งในเครื่องมือที่ Facebook สร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายคือการสร้างเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้ในการตรวจจับคำศัพท์และรูปประโยคบางประเภทที่อาจส่อถึงการตัวตาย ซึ่งนอกเหนือจากการตรวจสอบจากระบบปัญญาประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้รายงานไปยัง Facebook เพื่อตรวจสอบการอัปเดทสถานะของผู้ใช้ดังกล่าวได้ แล้วยิ่งไปกว่านั้นสามารถที่จะให้คำแนะนำกับเพื่อนที่มาเห็นสถานะของผู้ที่โพสต์ในเชิงทำนองที่ต้องการจะฆ่าตัวตาย เช่นวิธีการพูดและช่องทางให้ความช่วยเหลือ
ขณะเดียวกันอีกหนึ่งเครื่องมือที่ Facebook เพิ่มขึ้นมาในขณะการถ่ายทอดสด ซึ่งหากระบบสามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ใช้กำลังถ่ายทอดเรื่องราวที่ใกล้เคียงกับการฆ่าตัวตายหรือเสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเอง ก็จะมีเครื่องหมายหัวใจเล็กๆเพื่อให้คำแนะนำกับบุคคลคนนั้น ขณะเดียวกันผู้ชมก็สามารถที่จะรายงานเนื้อหาดังกล่าวไปยัง Facebook ได้เช่นกัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเกณฑ์เพื่อน ๆ เข้ามารีพอร์ดวีดีโอ แต่ในกรณีของเรื่องราวที่ละเอียดอ่อนเช่นนี้ ผู้ใช้เพียง 1 ผู้ใช้ก็สามารถที่จะรายงานไปยัง Facebook ได้

ซึ่งวิธีการตรวจจับคำของ Facebook ที่ใช้คือการสร้าง ชุดคำสั่ง ที่นำเอาคำต่างๆมาจัดหมวดหมู่ในการให้คะแนนและหากคำเหล่านั้นถูกนำมารวมกันและคำนวณออกมาเป็นคนลบ เจ้่าหน้าที่-ระบบ ก็จะเข้าไปดำเนินการทันที ซึ่งจากข้อมูลตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน 2562 สถิติเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายและการทำร้ายตัวเอง มีการลบโพสต์ต่างๆที่เกี่ยวข้องไปแล้วทั่วโลก ถึง 1.5 ล้านเนื้อหาและระบบสามารถตรวจสอบได้ถึงร้อยละ 95 ก่อนที่จะมีผู้ใช้รายงานเข้ามาอย่างระบบ ขณะเดียวกันไหน Instagram มีเนื้อหาดังกล่าวถึง 8 แสนเนื้อหาและระบบสามารถตรวจสอบได้ถึงร้อยละ 77 แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงต้องอาศัยผู้ใช้ในการรายงานปัญหาต่างๆมายัง Facebook ด้วย
ขณะเดียวกันเนื้อหาที่จะถูกลบใน Facebook ที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตัวเองก็จะต้องมีกระบวนการเงื่อนไขต่างๆ มากมายก่อนที่จะไปถึงขั้นลบโพสต์นั้นซึ่งส่วนใหญ่หากเป็นกรณีที่สื่อสารออกมาเพื่อขอความช่วยเหลือจะไม่ลบเนื้อหาดังกล่าวออกจนกว่าจะทราบว่าผู้โพสต์ปลอดภัยแล้ว
ปัจจุบันประเทศไทย มีผู้ใช้งาน Facebook ในแต่ละเดือนถึง 53 ล้านผู้ใช้และในแต่ละวันจะมีผู้ชายอย่างน้อย 38 ล้านผู้ใช้ใช้งาน Facebook สำหรับภารกิจของ Facebook เมื่อผู้คนเข้ามาเพื่อที่จะแบ่งปันเรื่องราวต่างๆให้กับโลกได้รับรู้ผ่านสายตาของคนอื่นและเชื่อมโยงเพื่อนกับครอบครัวไว้ด้วยกัน ดังนั้นการทำให้ผู้คนสามารถที่จะแบ่งปันเรื่องราวต่างๆสู่โลกได้อย่างปลอดภัยคือภารกิจของ Facebook

นายตระการ เชนศรี นายกสมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย ระบุว่า สมาคมสะมาริตันส์ ประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2530 และเป็นองค์กรอิสระที่ไม่ได้ขึ้นกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือศาสนาใด มีพัฒนกิจร่วมกันในการช่วยเหลือชีวิตผู้คนและป้องกันการฆ่าตัวตาย ซึ่งในระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมาสมาคมได้ให้กำลังใจผู้คนที่เป็นทุกข์เป็นโรคซึมเศร้าและต้องการฆ่าตัวตายทั่วประเทศอย่างไม่มีเงื่อนไขและไม่ตัดสิน โดยศูนย์การช่วยเหลือทางโทรศัพท์(Call Center)เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย โดยในปัจจุบันให้บริการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายผ่านอาสาสมัคร 100 คนที่ให้ความช่วยเหลืออย่างมืออาชีพแก่ผู้คนคราว 10,000 คนต่อปี โดยอาสาสมัครของสมาคมเป็นผู้ที่ไม่เอ่ยนาม ซึ่งสิ่งที่หวังว่าจะได้เห็นในอนาคตภายหลังจากปล่อยแคมเปญนี้ไปคือการเพิ่มจำนวนอาสาสมัครได้เป็น 2 เท่าของเงินที่มีอยู่เพื่อรองรับจำนวนเคสต่างๆที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายต่อปีเฉลี่ยอยู่ที่ 6-7 แสนบาท ซึ่งเป็นค่าสาธารณูปโภคเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา มีการปล่อยสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นและทำให้ผู้ที่มีปัญหาทางจิตและมีความทุกข์สามารถที่จะติดต่อเข้ามาขอความช่วยเหลือได้ ซึ่งเดิมมีเพียงการติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ แต่ปัจจุบันมีการติดต่อผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในปี 2560 มีการติดต่อประสานข้อความของ Facebook เพียง 1,000 กว่าผู้ใช้ และในปี 2561 เพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ผู้ใช้ และในปี 2562 จนถึงปัจจุบัน(กันยายน)ก็สูงถึงกว่า 3,000 ผู้ใช้แล้ว ผู้ที่ทำการตอบข้อความต่างๆเป็นอาสาสมัครที่ต้องการเข้ามาเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีความทุกข์และรับฟังปัญหาของผู้ที่ส่งข้อความเข้ามาขอความช่วยเหลือ แต่ขณะเดียวกันเมื่อเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้นก็ทำให้บุคลากรไม่เพียงพอ
ซึ่งในปีที่ผ่านมามีการเพิ่มในส่วนของ การรับฝากข้อความในกรณีที่ผู้ที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือติดต่อเข้ามายัง Call Center และติดสาย ซึ่งหากผู้ที่มีปัญหายินดีที่จะฝากหมายเลขโทรกลับทางสมาคมก็จะโทรกลับไปเพื่อรับฟังปัญหาของพวกเขาเหล่านี้

ขณะเดียวกันการที่จะเข้ามาเป็นอาสาสมัครก็จำเป็นที่จะต้องมีการอบรมในการรับฟังปัญหาของผู้ที่มีความทุกข์ และจะมีการคัดเลือกอีกครั้งหนึ่งเพื่อ ป้องกันผู้ที่มีจิตใจที่อ่อนไหวซึ่งอาจเป็นปัญหาในการรับฟังปัญหาของผู้อื่นเพราะเนื่องจากการทำงานอาสาในส่วนนี้เป็นงานที่ต้องรับฟังปัญหาของผู้อื่นตลอดเวลา และพระลักษณ์จะได้รับการคัดเลือกแล้ว จะมีการอบรมต่ออีก 3 สัปดาห์และการอบรมผ่านสถานการณ์จำลองจริง จากพี่เลี้ยงเพื่อทดสอบว่าสามารถรับสถานการณ์จริงได้มากน้อยแค่ไหน แต่ในขณะเดียวกันหากไม่สามารถที่จะเข้ามาเป็นอาสาสมัครอสสามารถที่จะสมทบทุนเป็นเงินได้
นายสาธิต จันทร์ทวีวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายครีเอทีฟ Cheil (ประเทศไทย) เอเจนซี่โฆษณาสัญชาติเกาหลีซึ่งเข้ามาในประเทศไทยในปี 2560 ระบุว่า การร่วมมือกับสมาคมในการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆทำให้เกิดความรู้และความจริงต่าง ๆ มากมาย และพบกับความมุมานะของอาสาสมัครที่ทำงานให้กับสมาคมนี้อย่างไม่ลดละ สิ่งที่ผ่านมาเมื่อองค์กรไม่เป็นที่รู้จักก็ไม่มีอาสาสมัครเข้ามาอาสาในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหา ทั้งนั้นไม่เห็นแบบนี้แล้วจึงต้องการที่จะทำให้เรื่องราวเหล่านี้เป็นที่รู้จักมากขึ้นต่อสังคม
ซึ่งภายในแคมเปญนี้จะเป็นการปล่อยคลิปวีดีโอสั้นในรูปแบบแนวตั้ง จำนวน 10 คลิป เพื่อสื่อถึงเรื่องราวของกรมอาสาสมัครที่ทำงานเพื่อสังคมและรับฟังปัญหาของผู้ที่มองว่าตัวเองถึงทางตันและมีทางออกเดียวคือการฆ่าตัวตาย ดังนั้นเป้าหมายของที่ประชาสัมพันธ์นี้คือการสื่อสารให้บุคลากรและประชาชนในสังคมได้ทราบว่าก็ยังมีเรื่องราวดีๆแบบนี้อยู่ในสังคม
ส่วนตัวคาดหวังว่าแคมเปญนี้จะช่วยเหลือสมาคมให้เป็นที่รู้จักและทำให้มีอาสาสมัครเข้ามาช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาและผู้ที่มีความทุกข์เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันค่ะสมัครรุ่นเก่ากองอาจมีข้อจำกัดในด้านของความรู้บนโลกออนไลน์ดังนั้นการที่จะมีอาสาสมัครรุ่นใหม่เข้ามาผ่านแคมเปญที่สร้างขึ้นก็จะเป็นเรื่องที่ดีมากยิ่งขึ้น

นางสาวสโนว์ ไวท์ สเมลเซอร์ กล่าวทิ้งท้ายว่า เรารู้ว่าการทำให้ สังคมของผู้ใช้ Facebook ปลอดภัยและมีเรื่องราวที่ดีเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับ Facebook ซึ่งทำให้ภาพระดับโลก มีการปรับให้โยมหมายเพื่อให้สอดคล้องกับการป้องกันการทำร้ายตัวเองและการฆ่าตัวตายที่มีอัตราเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นที่ภาคภูมิใจสำหรับพวกเรา มากๆเมื่อเราสามารถที่จะช่วยเหลือ ทุกคนที่ตกอยู่ในมุมมืดและมองเห็นแต่ปัญหาได้ออกมาสู่โลกที่มีความช่วยเหลือและทุกคนที่พร้อมจะให้การช่วยเหลืออยู่เสมอ