กำลังซื้อของประชาชนในประเทศเวียดนามและเมียนมาที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมาจากทั้งการเติบโตของเศรษฐกิจจากการลงทุน และการเติบโตของภาคการท่องเที่ยว ทำให้สินค้าในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม มีศักยภาพค่อนข้างสูง และเป็นสินค้าที่ประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญสูง
“อาหารปรุงแต่งและเครื่องดื่ม”
สินค้าในกลุ่มอาหารปรุงแต่งและเครื่องดื่ม ไม่ว่าอาหารปรุงแต่ง ซอสและของปรุงแต่ง ชาและกาแฟ มีโอกาสอย่างมากในตลาดประเทศเมียนมาและเวียดนาม ที่ผู้บริโภคเติบโตอย่างรวดเร็ว และเริ่มมีพฤติกรรมการบริโภคเน้นอาหารพร้อมรับประทานที่สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
ในปี 2561 เมียนมานำเข้าอาหารปรุงแต่งจากไทย มูลค่า 88.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าที่สำคัญได้แก่ อาหารปรุงแต่ง ซอสและของปรุงแต่ง ชาและกาแฟ ชาวเมียนมามีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายเพื่อกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ได้แก่ น้ำผัก น้ำผลไม้ น้ำแร่และน้ำอัดลม ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในประเทศเพิ่มขึ้น
ขณะที่ เวียดนาม ในปีเดียวกันมีการนำเข้าอาหารปรุงแต่งและเครื่องดื่มมูลค่าเกือบ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากกำลังซื้อผู้บริโภคชาวเวียดนามสูงขึ้น และความนิยมอาหารปรุงแต่งและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ภาคการท่องเที่ยวที่เติมโต ก็ทำให้ความต้องการสินค้าเครื่องดื่มอัดลมและแอลกอฮอล์ในเวียดนาม
นอกจากนี้สำหรับตลาดเวียดนาม สินค้ายังมีศักยภาพ คือผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง โดยในปีที่แล้วไทยส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ไปเวียดนามมูลค่า 990.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
แต่ทั้งนี้เกษตรกรและผู้ผลิตของไทยต้องเร่งปรับตัวมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของคุณภาพ และบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลเวียดนามเองก็เร่งสนับสนุนการเพาะปลูกผลไม้สดเพื่อส่งออกเช่นกัน
ขณะที่ตลาดผลไม้ในประเทศเมียนมา ในปี 2561 ปริมาณผลไม้สดที่ถูกส่งเข้าไปยังรองรับผู้บริโภค มีมูลค่าสูงถึง 175.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าไทยที่ควรส่งเสริมไปยังเวียดนาม
อาหารปรุงแต่งและซอสปรุงรส
ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง
ไม้เนื้อแข็งและไม้แปรรูป
สิ่งทอ
สินค้าไทยที่ควรส่งเสริมไปยังเมียนมา
อาหารปรุงแต่งและเครื่องดื่ม
ผลไม้สด
อาหารสัตว์
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ / ธันวาคม 2562