HomeBT News"วงแหวนใต้สำนึก" สื่อสารคดีที่จะทำให้คนไทยเข้าใจผู้ป่วยทางจิตมากขึ้น

“วงแหวนใต้สำนึก” สื่อสารคดีที่จะทำให้คนไทยเข้าใจผู้ป่วยทางจิตมากขึ้น

ภายในงานสื่อสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดีแก่ประชาชน เนื่องในวันสุขภาพจิตโลกประจำปี 2562 โดยภายในงานมีการเสวนาในหัวข้อ Me Film : สุขภาพจิตบนแผ่นฟิล์ม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของภาพยนตร์สารคดีชุด “วงแหวนใต้สำนึก” ซึ่งจะออกอากาศในช่วงเดือนมกราคมปี 2563 ทางสถานีโทรทัศน์ Thai PBS เจาะ 6 โรคเกี่ยวกับสุขภาพจิต ทั้ง ไบโพล่าร์ , โรคอัลไซเมอร์

อ่าน : “สื่อสร้างสรรค์” กระตุ้นประชาชนตื่นตัวเรื่อง “สุขภาพจิต”

นายนนทรีย์ นิมิตรบุตร ภาพยนตร์สารคดีตอน Happy Bad day ระบุว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยเริ่มมีการพูดถึงผู้ป่วยทางจิตมากยิ่งขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ มีโอกาสกำกับภาพยนตร์เรื่อง “คนโลกจิต”  เพราะได้มีโอกาสได้พบข้อมูลและพบผู้คนมากมายที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต ซึ่งภาพยนตร์สารคดีชุดที่ได้มีโอกาสกำกับในหัวข้อโรคไบโพล่า ส่วนตัวมองว่าโรคนี้เป็นโรคที่ยากที่สุดและ ทำอย่างไรให้คนนั้นเข้าใจจริงๆว่าโลกเรานี้เป็นอย่างไร  ทั้งนี้เชื่อว่าคนที่อยู่ในกรุงเทพฯสามารถหาข้อมูลและมีแหล่งข้อมูลมากมายอยู่แล้วดังนั้นการนำเสนอภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเป็นการนำเสนอเรื่องราว เกี่ยวกับผู้คนในต่างจังหวัดเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องแบบนี้มากยิ่งขึ้นโดยการนำเสนอภาพนักเรียนคนหนึ่งในต่างจังหวัด ที่รู้สึกว่าตนเอง “ผีเข้า” พร้อมทั้งพยายามให้คนรอบตัวเน้นย้ำ พร้อมทั้งพยายามให้คนรอบตัวเน้นย้ำเรื่องการสังเกตผู้ป่วยเหล่านี้

- Advertisement -

นพ.ดร.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิต ระบุว่า  โรคไบโพลาร์เป็นหนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นกับเคมีในสมองซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดปัญหากับบุคคลคนนั้น ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดอารมณ์สองขั้วซึ่งจะมีทั้งอาการเศร้าที่สุดและมีความสุขที่สุดซึ่งมีเกณฑ์การตัดสินชัดเจนโดยก่อนหน้านี้จะต้องมีโรคซึมเศร้ามาก่อนระยะหนึ่ง มากกว่า 1 สัปดาห์และในสัปดาห์ถัดไปก็มีอารมณ์ตื่นเต้นและมีความสุขช่วงค่ำคืนไม่หลับไม่นอนขึ้นมาเก็บบ้านทำความสะอาดบ้าน ซึ่งปัญหาทางสุขภาพจิตส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายได้แต่จะต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ

นายปรัชญา ปิ่นแก้ว ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดีตอน “เรื่องเล่าของครูประทีป” ระบุว่า ประกาศแล้วทำในหัวข้อโรคอัลไซเมอร์นั้นเกิดจากประสบการณ์ในช่วงวัยรุ่นที่เกิดอุบัติเหตุขณะซ้อนมอเตอร์ไซค์ซึ่งเมื่อรับทราบอาการเสร็จแล้วทำให้สมองไม่สามารถจดจำเหตุการณ์ขณะเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นจึงทำให้ตนเองเข้าใจเรื่องราวเหล่านี้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการสูญเสียความทรงจำที่มีค่ามากจึงทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลนั้น ถึงเมื่อกาลเวลาผ่านไปตัวเองได้มีโอกาสเข้าไปเรียนรู้การจำลองสมองมนุษย์โดยคอมพิวเตอร์ซึ่งพบว่าเมื่อคอมพิวเตอร์ถูกถอดปลั๊กเฉียบพลันก็จะทำให้ข้อมูลเหล่านั้นหายไปเช่นเดียวกับสมองมนุษย์เมื่อถูกกระทบอย่างรุนแรงก็จะทำให้สมองและข้อมูลความทรงจำเหล่านั้นเสียหายจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จำไม่ได้ ขณะเดียวกันสิ่งที่คอมพิวเตอร์สามารถทำได้คือการลบข้อมูลเหล่านั้นแต่สมองไม่สามารถลบความทรงจำได้ซึ่งความจริงแล้วเมื่อกดลบไฟล์ไปแล้วคอมพิวเตอร์ก็สามารถที่จะกู้คืนข้อมูลได้เช่นกัน

“สาเหตุที่เลือกทำเรื่องเล่าจากครูประทีปเนื่องจากว่าปัจจุบันมีการพูดคุยเรื่องเกี่ยวกับบุคลากรในครอบครัวที่หายตัวไปเนื่องจากอาการสูญเสียความทรงจำ ดังนั้นในฐานะผู้กำกับจึงต้องการที่จะฉีกมุมมองออกไป ให้เป็นในส่วนของคุณครูกับลูกศิษย์เพื่อนำเสนอในมุมมองที่แตกต่างออกไป”

นายปรัชญา ปิ่นแก้ว กล่าว

นายบัณฑิต ทองดี ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดีตอน “ชมรมล่าแม่มด” ระบุว่า โจทย์ที่ได้รับเป็นเรื่องของการเลี้ยงดูเยาวชน ที่ได้รับอิทธิพลจากผู้ปกครองในวัยเด็กซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านสุขภาพจิต โดยในภาพยนตร์สารคดีสั้นที่กำกับมีการนำเสนอผ่านรูปแบบของชมรมหนึ่งในโรงเรียนแห่งหนึ่งและเด็กแต่ละคนก็จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันเพื่อให้ผู้ปกครองที่รับชมสารคดีชุดนี้สามารถเห็นได้ถึงกรณีต่างๆที่เกิดขึ้น หนึ่งในตัวอย่างที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์เรื่องนี้คือความรุนแรงในครอบครัวสำหรับครอบครัวที่ใช้ความรุนแรงในการเลี้ยงดูบุตรหลานจนส่งผลให้เกิดผลเสียนอกเหนือจากนี้ยังมีในส่วนของกรณีพ่อแม่รังแกฉันในการตามใจเยาวชนมากจนเกินไปจนเสียนิสัย ซึ่งเป้าหมายของภาพยนตร์สั้นตอนนี้ต้องการที่จะนำเสนอเป็นข้อคิดให้กับผู้ปกครองในการเลี้ยงดูไปในทิศทางที่ถูกต้อง

“สิ่งที่ต้องการไม่ใช่การตบหน้าผู้ร้องโดยการบอกว่าคุณเลี้ยงดูลูกแบบนี้ผิดแต่ต้องการที่จะให้ ผู้ปกครองเข้าใจว่าการเลี้ยงดูและไหนอาจส่งผลอย่างไร”

นายบัณฑิต ทองดี กล่าว

นพ.ดร.วรตม์ กล่าวเสริมว่า ในการรักษาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตจำเป็นที่จะต้องมีหลักการในการดูนั่นก็คือ Bio , Psycho , Social นั่นก็คือการดูภูมิหลังสภาพจิตใจและสังคมที่เขาอยู่ เพื่อใช้วิเคราะห์ในการรักษาซึ่งส่วนตัวมีโอกาสได้ทำการรักษา เด็กและเยาวชนพบว่าแม่ทุกคนจะเข้ามาด้วยปัญหาเดียวกันคือก้าวร้าวและไม่เชื่อฟังพ่อแม่ลูกถึงไม่เข้าเรียนแต่ความจริงแล้ว แต่ละคนต้องมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน

นายพัฒนะ จิรวงศ์ ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดีตอน The Tutor ระบุว่า ปกติแล้วคนไทยจะเข้าใจว่าโรคจิตเภท (SCHIZOPHRENIA) จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับคนบ้ามองเห็นภาพหลอน แต่จริงๆแล้วจำเป็นที่จะต้องเข้าใจว่า โรคจิตเภทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรคทางจิตเวชพบว่าอาการป่วยทางจิตแบบนี้ สามารถออกมาในหลากหลายรูปแบบซึ่งหากเราเห็นตัวอักษรหรือสัญลักษณ์บางอย่างที่อยู่ตามถนนและตู้ไปรษณีย์ก็จะพบว่าบางส่วนเกิดจากผู้ป่วยทางจิตที่เห็นภาพร้อนหรือได้ยินเสียงหลอกหลอนอยู่ในหู ซึ่งอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่สามารถเกิดขึ้นกับวัยรุ่นได้เป็นส่วนใหญ่อีกด้วย บางครั้งการแก้ไขปัญหาไม่ใช่แค่การจับตัวผู้ป่วยเข้าสู่โรงพยาบาลเสมอไป

“สำหรับเรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากการเห็นผู้ปกครองและบุตรหลานของผู้ปกครองรายนั้นที่โดยสารรถไฟฟ้าซึ่งเด็กคนนั้นท่องศัพท์ภาษาอังกฤษไปและร้องไห้ไปเนื่องจากผู้ปกครองกดดันให้เด็กคนนั้นท่องศัพท์ให้ได้ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของชื่อตอนของภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้เพื่อสื่อให้เห็นว่าสังคมกดดันและเยาวชนเรื่องการเรียนมากเกินไปหรือไม่”

นายพัฒนะ กล่าว

นพ.ดร.วรตม์ กล่าวเสริมว่า ในอดีตโลกนี้ผู้คนมักเข้าใจว่าคนดังกล่าวสติฟั่นเฟือนและต้องใช้โซ่ตรวนขังไว้แต่ความจริงแล้วบุคคลรอบนี้จำเป็นที่จะต้องใช้กันรักษาอย่างถูกวิธีบางครั้งการอยู่ในห้องเงียบที่ไม่มีสิ่งเขาก็อาจทำให้เกิดสภาวะเครียด ซึ่งในอดีตต่างประเทศมีการล่ามโซ่ตรวนเช่นกันไม่ต่างจากประเทศไทยในอดีตแต่ปัจจุบันต่างประเทศและประเทศไทยมีการตื่นตัวเรื่องนี้มากยิ่งขึ้นจนทำให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขเหมือนกับบุคคลทั่วไป ผู้ป่วยเหล่านี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเหมือนในภาพยนตร์และการ์ตูนเรื่อง Batman ที่คนร้ายจะต้องถูกส่งตัวเข้าไปอยู่ใน Arkham Asylum(โรงพยาบาลบ้า)

นายเจนไวยน์ ทองดีนอก ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดี ตอน “พรจำแลง” ระบุว่า หัวข้อที่ตนเองได้รับคือโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ obsessive-compulsive disorder(OCD)  ซึ่งตัวละครในเรื่องเป็นคนที่ชอบย้ำคิดย้ำทำซึ่งบางครั้งโลกนี้ถ้าหากอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมก็สร้างประโยชน์แต่บางครั้งอาจได้รับปัญหาในการใช้ชีวิตหากผู้ป่วยมีการย้ำคิดย้ำทำมากเกินไปจนไม่ได้รับการรักษา ชื่อตัวผู้เขียนบทในเรื่องนี้เองก็ เคยเป็นโรคนี้เช่นกันดังนั้นการทำงานในเรื่องนี้จึงออกมาในทิศทางที่ดีประกอบกับส่วนตัวต้องการที่จะสร้างภาพยนตร์ออกมาเป็นในแนวภาพยนตร์รักจึงออกมาเป็นภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้

นพ.ดร.วรตม์ กล่าวเสริมว่า ปกติแล้วผู้ที่ป่วยโรคนี้จำเป็นที่จะต้องแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือผู้ที่เป็นโรคและบุคลิกที่เกิดขึ้นซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้จะเกิดปัญหาก็ต่อเมื่อ ส่งผลกระทบต่อการทำงานจนไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ

ด้านสินฝ้าย ผู้จุดประกายให้กับโปรเจกต์ “วงแหวนใต้สำนึก” ระบุว่า ส่วนตัวเป็นลูกคนกลางของครอบครัวและครอบครัวมีปัญหาแยกทางกัน จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดสภาวะ Borderline Personality Disorder หรือภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดมาตั้งแต่ช่วงวัยเด็กที่มักทำร้ายตัวเองเพื่อลบล้างความเศร้าบางอย่างออกไป ซึ่งคนที่เป็นปัญหาโลกร้อนแบบนี้มักไม่สามารถแยกโบกสีเทาออกจากโลกสีดำกับขาวได้ โดยก่อนหน้านี้ได้มีการออกหนังสือชื่อ “ใต้รอยกรีด” เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของตนเองผ่านตัวหนังสือให้กับทุกคนได้ตระหนักรู้ว่าโรคนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป แต่มักเริ่มจากเรื่องเล็กๆในครอบครัว ซึ่งตนเองได้ผ่านการฆ่าตัวตายแต่ไม่สำเร็จเอาแล้วถึง 2 ครั้งและเมื่อเข้ารับการรักษาจึงทำให้ตนเองอยากที่จะนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ให้ทุกคนได้รับรู้และไม่ต้องการให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับคนอื่นๆอีก

อ่าน : “ใต้รอยกรีด” เรื่องราวของผู้หญิงที่เคยผ่านการฆ่าตัวตายถึง 2 ครั้ง จากภาวะบุคลิกภาพผิดปกติ

Business Today
Business Todayhttps://businesstoday.co
Supporting Thailand's business communities./ FB Page: Business Today Thai/ Social: Business Today Thai (สำหรับ Twitter, YouTube, Telegram)/ LINE: @Business today/ เว็บที่เกี่ยวข้อง: Thailand Today: www.thailandtoday.co/ FB: Thailantoday.co (English)/ Thailand Today News: www.thailandtoday.news/ FB: Thailandtoday.news (Mandarin Chinese)

Latest

ติดตามข่าวสารอัพเดททันใจจาก Businesstoday ได้โดยกรอกอีเมลด้านล่าง

Related News