สหรัฐฯ และอิหร่าน มีความขัดแย้งกันมาอย่างยาวนาน และสหรัฐฯ มักใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ เพื่อกดดันอิหร่าน โดยในครั้งแรกที่สหรัฐฯ ใช้มาตรการคว่ำบาตรคือปี 1979 ในสมัยประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ และต่อเนื่องเรื่อยมา ซึ่งการคว่ำบาตรแต่ละครั้งพุ่งเป้าไปตามอุตสาหกรรมต่างๆ ตั้งแต่การเดินเรือ สถาบันการเงิน สายการบิน และบุคคล
ในสมัยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศคว่ำบาตรอิหร่าน 2 ครั้ง และเตรียมพิจารณารอบ 3
เฟสแรก ประกาศคว่ำบาตร เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2018 หลังจากการเจรจาโครงการอาวุธนิวเคลียร์ไม่สามารถตกลงกันได้ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอิหร่าน ครอบคลุมตั้งแต่เครื่องบินไปจนถึงการส่งออกพรม ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญของอิหร่าน

เครื่องบิน 230 ลำ มูลค่ารวม $39.5 พันล้าน
“โบอิ้ง” เลิกสัญญาขายเครื่องบินโบอิ้ง 110 ลำ ให้กับสายการบิน Asaman Airlines มูลค่า $20 พันล้าน
“แอร์บัส” ยกเลิกสัญญาซื้อเครื่องบินแอร์บัส 100 ลำให้กับอิหร่าน มูลค่า 19 พันล้าน
“ATR” ยกเลิกขายเครื่องบิน 20 ลำ ให้กับอิหร่านแอร์ มูลค่า 536 ล้าน
ถั่วพิทาชิโอ มูลค่ารวม $852 ล้าน ปริมาณ 96,000ตัน
สกัดการส่งออกถั่วพิทาชิโอของอิหร่านซึ่งสหรัฐฯ และอิหร่าน เป็นคู่แข่งสำคัญในตลาดโลก ครองส่วนแบ่งตลาดรวม 85% โดยตลาดส่งออกรายสำคัญของอิหร่านคือประเทศจีน
พรมอิหร่าน มูลค่ารวม $424 ล้าน
ระงับการส่งออกพรมจากอิหร่าน พรมนับเป็นสินค้าสำคัญของอิหร่าน ใช้แรงงานมากถึง 2 ล้านคน พรมอิหร่านครองส่วนแบ่งของตลาดโลกถึง 30% และสหรัฐฯ เป็นตลาดใหญ่ที่สุด
ทอง น้ำหนัก 64.5 ตัน
ระงับการซื้อขายทองคำและโลหะมีค่า ทั้งนี้ทองคำเป็นทรัพย์สินสำคัญที่ใช้ซื้อขายน้ำมันกับอิหร่าน เพื่อปกป้องมาตรการคว่ำบาตรที่กระทบต่อการทำธุรกรรมการเงินกับธนาคาร
รถยนต์ จำนวน 1.6 ล้านคัน
ระงับการนำเข้ารถยนต์จำหน่ายในอิหร่าน 1.6 ล้านคัน ทั้งนี้อิหร่านนับว่าเป็นประเทศตลาดรถยนต์ใหญ่อันดับ 12 ของโลก และมีอัตราเติบโต 18% (ข้อมูลปี 2017) โดยบริษัท PSA ผู้ผลิตรถยนต์เปอโยต์ ของฝรั่งเศส เป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ของอิหร่าน ครองส่วนแบ่งการตลาด 34%
ไข่ปลาคาเวียร์ มูลค่า $1.37 ล้าน ปริมาณ 557กก.
ระงับการส่งไข่ปลาคาเวียร์ไปยังตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่งจะเปิดให้มีการส่งทางเรือครั้งแรกในระหว่างปี 2016-2017 หลังจากมีการยกเลิกคว่ำบาตรอิหร่าน จากการที่อิหร่านประณีประนอมเรื่องโครงการนิวเคลียร์
ต่อมาในเฟสที่ 2 สหรัฐประกาศเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2018 ครั้งนี้พุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมน้ำมันและธนาคาร โดยในครั้งนี้ “ทรัมป์” ระบุว่าเป็นการคว่ำบาตรรุนแรงที่สุด
ธุรกิจธนาคารและสถาบันการเงิน
ธนาคาร ได้รับผลกระทบ 50 แห่ง
สถาบันการเงิน ได้รับผลกระทบ 70 แห่ง
อุตสาหกรรมเดินเรือ
การเดินเรือ ได้รับผลกระทบ 122 ลำ (รวมเรือขนส่งน้ำมัน)
อุตสาหกรรมการบิน
สายการบินอิหร่านแอร์ ได้รับผลกระทบ 67 เที่ยวบิน
ขึ้นบัญชีดำ
บุคคล 700 คน และองค์กรพลังงานอะตอม
ทั้งนี้ยังมีรายละเอียดอีกปลีกย่อยที่สหรัฐฯ ใช้กดดันในมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ซึ่งมาตรการต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงฉุดเศรษฐกิจของอิหร่าน ซึ่งแม้จะมีรายได้หลักจากขายน้ำมัน แต่ส่วนใหญ่ก็นำไปใช้หนี้แทบจะทั้งสิ้น
ข้อมูลจากสำนักข่าว Al Jazeera และกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ