กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดงานตลาดต่อยอดงานวิจัยสู่อุตสาหกรรม โชว์นวัตกรรม และผลงานวิจัย พร้อมเปิดพื้นที่ซื้อขายไอเดียระหว่างนักวิจัย และผู้ประกอบการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมใหม่ที่ขายได้จริง
ภายในงานนั้นมีงานวิจัยถึง 50 งานวิจัยที่พัฒนาโดยฝีมือคนไทย ซึ่งทาง businesstoday.co ได้พูดคุยกับ 3 บริษัทนักวิจัยที่พัฒนาเพื่อแก้ปัญหาขยะล้นโลก, การเพิ่มประสิทธิภาพของการเก็บพลังงานทดแทน และ อุปกรณ์ IoT สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

หลอดกินได้ ลดปัญหาขยะพลาสติก
หลอดพลาสติก เป็นหนึ่งในปัญหาขยะพลาสติกระดับโลก เพราะมันถูกใช้ประโยชน์ในเวลาสั้นมาก แต่กลับต้องใช้เวลาย่อยสลายมากถึง 200 ปี
ปัจจุบันมีการรณรงค์เลิกใช้หลอดพลาสติกในหลายรูปแบบ เช่น การที่ร้านค้าไม่ให้บริการหลอด ยกเว้นลูกค้าจะขอเท่านั้น, การปฏิเสธที่จะรับหลอดจากตัวลูกค้าเอง และ การเปลี่ยนมาใช้หลอดกระดาษทดแทน

‘คุณสุรพร กัญจนานภานิช’ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กัญจนาพร(สยาม) จำกัด เปิดเผยว่า “เราตั้งใจจะให้หลอดกินได้เป็นสินค้าทดแทน เพื่อที่จะช่วยกันลดขยะพลาสติก ที่เป็นปัญหาทั่วโลกในตอนนี้ เราใช้วัตถุดิบจากข้าวและธัญพืชหลายชนิด ซึ่งสามารถทดสอบได้กับทาง อย. ตัวหลอดสามารถอยู่ในน้ำเย็นได้ถึง 6 ชม. โดยไม่มีการเปลี่ยนรูป ส่วนในน้ำร้อนสามารถทนความร้อน 90 องศาเซลเซียส ได้ 3-5 นาที หลังจากใช้ดูดน้ำเสร็จก็สามารถนำมาเคี้ยวกินเล่นได้ แต่หากไม่กินก็สามารถย่อยสลายได้ภายใน 30 วัน
ส่วนราคาที่ตั้งไว้ ณ ตอนนี้คือให้ต่ำกว่า 1 บาท และจะพยายามทำให้ราคาต่ำที่สุดเพื่อให้คนได้ใช้ทดแทนการใช้หลอดพลาสติก”
ชุดควบคุมการติดตามดวงอาทิตย์ 2 แกน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำชุดควบคุมการติดตามดวงอาทิตย์ 2 แกน ราคาประหยัด มาแสดงโชว์ในงาน ‘ตลาดต่อยอดงานวิจัยสู่อุตสาหกรรม’

‘ผศ.ดร.ธนิท เรืองรุ่งชัยกุล’ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยว่า ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่มีแดดทั้งปี แต่เนื่องจากดวงอาทิตย์มีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้พัฒนาระบบติดตามดวงอาทิตย์ขึ้นเพื่อปรับแผงรับแสงอาทิตย์ให้ตั้งฉากกับทิศทางของรังสีดวงอาทิตย์ตกกระทบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการนำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งในระบบติดตามแบบสองแกนนี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าระบบที่ติดตั้งอยู่กับที่ถึงร้อยละ 35-40
อุปกรณ์ที่เราพัฒนาขึ้นนั้นราคาถูกกว่าที่ขายกันในต่างประเทศมาก ที่เคยเช็คมามีตั้งแต่ราคา 2,500-8,000 บาท แต่ของเราอยู่ที่ราคาประมาณ 1,500 บาท และสามารถทำงานได้เหมือนกัน
จุดเด่นที่ทำให้ชุดควบคุมการติดตามดวงอาทิตย์ 2 แกน มีราคาถูกคือ
- ใช้วัสดุ/อุปกรณ์พื้นฐานที่มีในท้องตลาด หาได้ง่าย ราคาถูก
- ไม่มีชิ้นส่วนที่ซับซ้อน
- ไม่ต้องใช้ซอฟท์แวร์ในการควบคุม
- ผลิตง่าย คนทั่วไปสามารถเรียนรู้และผลิตขึ้นใช้เองได้

นอกจากนี้ยังเคยได้รับรางวัล เหรียญทอง การประกวดสิ่งประดิษฐ์ในงาน 45th International Exhibition of Invention of Geneva ณ กรุงเจนีา สวิตเซอร์แลนด์ ในปี 2560
นาฬิกา ติดตามภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างผิดปกติ มักทำให้เกิดอาการสั่นและอ่อนเพลีย จนถึงขึ้นช็อกหมดสติ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะดังกล่าวนั้นมีอยู่สูงในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

คุณทักษพล ทองดี จากบริษัท Johnsolar Energy เผยว่า ได้ร่วมวิจัย นาฬิกา ติดตามภาวะน้ำตาลต่ำ ร่วมกับโรงพยาบาลราชวิถี มาประมาณ 4 ปี และเมื่อปี 2561 ได้นำผลิตภัณฑ์ไปร่วมงานเบาหวานโลกที่สิงคโปร์ ปัจจุบันที่ใช้กันอยู่จะเป็นเวอร์ชั่นที่ 4 โดยเราจะวัด 3 ค่า คือ หัวใจ, อุณหภูมิร่างกาย และความชื้น โดยข้อมูลจะถูกส่งไปที่สมาร์ทโฟนตลอดเวลา และจะลิงค์ข้อมูล พร้อมโลเคชั่นไปที่ศูนย์ของโรงพยาบาล
นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถกดปุ่มฉุกเฉินได้ ในกรณีที่มีค่าใดค่าหนึ่งในร่างกายไม่ปกติ
และในปลายปีนี้จะได้เห็นเวอร์ชั่นที่ 5 ที่จะพัฒนาหน้าตาให้ดูดีขึ้น คล้ายกับสมาร์ทวอทช์ เป็นอุปกรณ์ IoT ตัวหนึ่งที่ช่วยดูแลผู้ป่วยอย่างยั่งยืน ในราคาที่ไม่สูงมาก
koeman deutschland trikot
Very nice koeman deutschland trikot depth .