นายกปลื้ม ‘เที่ยวชุมชน ยลวิถี’ ปี 64-65 สร้างรายได้เพิ่มจากการท่องเที่ยวชุมชนแล้ว 311 ล้านบาท
นางสาวทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เร่งขับเคลื่อนเพิ่มมูลค่าซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์ 5 Fได้แก่ Food อาหาร, Film ภาพยนตร์และซีรีส์, Fashion แฟชั่น, Fighting ศิลปะการต่อสู้มวยไทย และ Festival เทศกาล รวมถึงสินค้าและบริการด้านวัฒนธรรมที่คาบเกี่ยวกับภาคท่องเที่ยว ให้เติบโตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ยกระดับรายได้ชุมชน โดยพล.อ.ประยุทธ์ รับทราบรายงานของกระทรวงวัฒนธรรม โครงการ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง

จากการที่ได้มีการคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ในปี 2564 และ 2565 รวม 20 ชุมชน นั้น ทำให้ระดับการพัฒนาของสุดยอดชุมชนต้นแบบฯ ทั้ง 20 ชุมชน มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้น สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวชุมชน จากเดิมการก่อนได้รับคัดเลือก 133,033,148 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 311,659,739 บาท คิดเป็น 134.27% รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) เดิม 8,929,479 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 14,214,750 บาท คิดเป็น 59.19% จำนวนนักท่องเที่ยว เดิม 678,008 คน เพิ่มขึ้นเป็น 1,360,376 คน คิดเป็น 100.64%
ไทยจับมือไต้หวัน พัฒนาหลักสูตรวิจัย-ผลิตบุคลากรเชี่ยวชาญ เชื่อช่วยพัฒนาฐานการผลิต
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ส่งเสริมและผลักดันนโยบายการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ชื่นชมการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล และได้ให้ความสำคัญกับการผลิตกำลังคน Semiconductor ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า เมื่อไทยมีความพร้อมด้านกำลังคนมากขึ้น จะผลักดันให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรม Semiconductor ในไทย ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะส่งผลในการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดด

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยไทย 9 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.เกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ม.ขอนแก่น ม.สงขลานครินทร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยไต้หวัน 6 แห่ง และบริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิปที่ใหญ่ที่สุดในโลก ร่วมมือวิจัยและผลิตบุคลากร โดยจัดทำหลักสูตรในระดับปริญญาตรี-โท ด้านเซมิคอนดักเตอร์ ตั้งเป้าให้มีนิสิตนักศึกษาที่มีศักยภาพสูงในโครงการไม่น้อยกว่า 200 คน/ปี ในสาขาที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ด้านเครื่องมือ ด้านวัสดุ ด้านการออกแบบวงจรรวม (IC) ด้านกระบวนการผลิต ด้านการทดสอบและ Packing เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปีต่อเนื่อง
การลงทุนไทย-จีนเดินหน้าต่อเนื่อง จับคู่ธุรกิจหนุนมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 50,000 ล้านบาท
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีกับผลสำเร็จของการประชุมสัมมนาความร่วมมือเศรษฐกิจการค้าจีน (มณฑลกวางตุ้ง) – และไทย (China (Guangdong) – Thailand Economic Cooperation Conference) โดยสามารถสร้างความร่วมมือระหว่างพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และโครงการอ่าวกวางตุ้ง – ฮ่องกง – มาเก๊า (Guangdong – Hong Kong – Macao Greater Bay Area: GBA) เกิดการจับคู่ธุรกิจผ่านการลงนามในบันทึกความร่วมมือถึง 10 โครงการ คาดการณ์มูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 50,000 ล้านบาท พร้อมส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูง

การประชุมสัมมนาความร่วมมือเศรษฐกิจการค้าฯ จัดขึ้นโดยรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง และคณะกรรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ มณฑลกวางตุ้ง (CCPIT) โดยมีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนของทั้งสองประเทศเข้าร่วมงานกว่า 200 คน ซึ่งได้สร้างโอกาสความร่วมมือระหว่างพื้นที่ EEC และ GBA โดยข้อมูลจาก สกพอ. เผยว่า พื้นที่ GBA จะเป็นพื้นที่สำคัญสำหรับ EEC ที่จะสามารถดึงดูดนักลงทุนที่เป็นผู้ประกอบการชั้นนำและมีความก้าวหน้าในทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
นายกฯ ยินดีธนาคารโลกปรับเพิ่มคาดการณ์จีดีพีไทยปี 2566 เป็น 3.9% จากเดิม 3.6%
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ธนาคารโลก (World Bank : WB) เปิดเผยรายงานตามติดเศรษฐกิจไทย (Thailand Economic Monitor) ประจำเดือนมิถุนายน 2566 ว่าแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะแข็งแกร่งขึ้นในปี 2566 พร้อมปรับคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 2566 เป็น 3.9% จากเดิมคาดไว้ที่ 3.6% และเพิ่มจาก 2.6% ในปี 2565 โดยการประเมินแนวโน้นการฟื้นตัวที่ดีขึ้นนี้ เกิดจากอุปสงค์ต่างประเทศที่แข็งแกร่งเกินคาด โดยเฉพาะในจีน ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ตลอดจนการเติบโตของการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว

ทั้งนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามการทำงานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องมาอย่างต่อเนื่อง ต้องขอบคุณความร่วมมือที่เกิดจากการทำงานของทุกฝ่าย ร่วมกันบูรณาการการทำงานจนเห็นเป็นผลสำเร็จ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นในการกำหนดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ผ่านการประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อผลสูงสุดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่ง จนเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการคาดการณ์ของธนาคารโลก
กรมสรรพากรร่วมขับเคลื่อน Digital Tax Ecosystem ประเทศไทย สู่ระบบดิจิทัล 100%
นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “ที่ผ่านมากรมสรรพากรได้ขับเคลื่อนระบบภาษีอากรอิเล็กทรอนิกส์มาได้ระยะหนึ่ง และวันนี้ เป็นอีกวันหนึ่งที่เป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาระบบภาษีอากรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินการจัดการด้านภาษีอากรของผู้ประกอบการ กรมสรรพากรจึงได้พัฒนา Digital Tax Ecosystem ใหม่ในการดำเนินการทางด้านภาษีอากร โดยได้นำ “ผู้ให้บริการตัวแทน” (Service Provider) เข้ามามีบทบาทสำคัญในการต่อยอดการจัดการด้านภาษีอากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างไร้รอยต่อ ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านการทำธุรกรรมด้านภาษีอากรแบบดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบภายในปี 2571”

อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า “ต่อไปในอนาคต Service Provider จะเป็นตัวกลางสำคัญในการเชื่อมต่อระหว่างผู้ประกอบการและกรมสรรพากร ซึ่ง Service Provider จะเป็นตัวช่วยในการลดความยุ่งยาก ความซับซ้อน และอุปสรรคในทางภาษีอากร ให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการทางภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตั้งแต่ต้นน้ำ สู่ปลายน้ำของกระบวนการทางภาษีอากร โดยในปัจจุบัน กรมสรรพากรได้สร้างแรงจูงใจในการเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการสร้าง Digital Tax Ecosystem ที่เอื้อประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการ เช่น การไม่ต้องจัดเก็บเอกสารในรูปแบบของกระดาษและการคืนภาษีที่รวดเร็ว เป็นต้น นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังได้มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วยการให้หักค่าใช้จ่าย 2 เท่าสำหรับการลงทุนในระบบอิเล็กทรอนิกส์และสำหรับค่าบริการที่จ่ายให้แก่ Service Provider ด้วย