รัฐดันการส่งออกไทย RCEP ขยายตัวต่อเนื่อง พร้อมขยายตลาดออนไลน์
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ผลสำเร็จของรัฐบาลในการเดินหน้าผลักดันการส่งออกของไทย ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับประเทศสมาชิก RCEP หรือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership) ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

โดยเฉพาะสินค้าเกษตร-เกษตรแปรรูปไทย โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ อาเซียน จีน และญี่ปุ่น รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในช่วง 5 เดือนแรกปี 2566 การส่งออกของกลุ่มสินค้าเกษตรแปรรูปไปตลาด RCEP ขยายตัวได้ดี อาทิ น้ำตาลทราย ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผักกระป๋องและผักแปรรูป และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ส่วนกลุ่มสินค้าเกษตรที่ขยายตัว อาทิ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ด้านกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งขยายตัวได้ดี คือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง
เปิดตัวรถไฟมาบตาพุด-พนมเปญ เพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายโลจิสติกส์
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ส่งเสริมช่องทางการขนส่งสินค้าทั้งในและระหว่างประเทศ โดยชื่นชมความร่วมมือของพันธมิตรทุกฝ่ายจากไทย – กัมพูชา พัฒนาการขนส่งสินค้าทางระบบรางให้มีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น เพิ่มให้เป็นอีกทางเลือกในการขนส่งสินค้าให้ผู้ประกอบการค้าระหว่างไทยและกัมพูชา และถือเป็นโอกาสเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของไทยในอนาคต

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งไทยและกัมพูชา ร่วมกันเปิดตัวรถไฟขบวนปฐมฤกษ์ ไทย – กัมพูชา ณ สถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เป็นขบวนรถไฟขนส่งสินค้าระบบรางที่จะเดินทางจากประเทศไทยไปยังประเทศกัมพูชา ในเส้นทาง มาบตาพุด – คลองลึก – ปอยเปต – พนมเปญ โดยการรถไฟแห่งประเทศ (รฟท.) ได้ร่วมผลักดันการบริการขนส่งทางราง หนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญของนายกรัฐมนตรี ให้สามารถเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าทางระบบรางในประเทศไทย เข้ากับการขนส่งสินค้าทางระบบรางของภูมิภาคอาเซียน โดยเริ่มจากการขยายขีดความสามารถการขนส่งสินค้าทางระบบรางของ ไทย – กัมพูชา ผ่านการเปิดขบวนรถไฟขนส่งสินค้ารอบปฐมฤกษ์ในครั้งนี้ ซึ่งรถไฟขบวนปฐมฤกษ์ ไทย – กัมพูชา เกิดจากความร่วมมือที่ดีของพันธมิตรทุกฝ่าย ร่วมกันผลักดันการขนส่งสินค้าทางระบบรางให้มีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น ราคาลดลง เกิดการพัฒนาการขนส่งสินค้าผ่านระบบรางระหว่างกัน เชื่อมโยงถึงประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนต่อไป
รองโฆษกฯ แจ้ง รถ-เรือโดยสาร สมัครเป็นผู้ให้บริการ ตามโครงการสวัสดิการรัฐได้แล้ววันนี้
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงการคลังได้ร่วมกับหน่วยงานภายใต้กระทรวงคมนาคม ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก และกรมเจ้าท่า เชิญชวนผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะ ประกอบเด้วย รถเอกชนร่วม ขสมก. , บขส. , รถสองแถวรับจ้าง และ เรือโดยสารสาธารณะ ที่ประสงค์จะเข้าร่วมเป็นผู้ให้บริการแก่ผู้มีสิทธิตามโครงการเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 สามารถสมัครเข้าร่วมได้ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2566 ที่ผ่านมา เพื่อเปิดให้บริการ รับชำระเงินจากผู้มีสิทธิตามโครงการฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2566 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ รถเอกชนร่วม ขสมก. , บขส. , รถสองแถวรับจ้าง สามารถสมัครเพื่อเข้าร่วมเป็นผู้ให้บริการตามโครงการฯ ได้ที่สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด โดยเบื้องต้น กรมการขนส่งทางบก ได้แบ่งรอบการรับสมัครเป็น 4 รอบ รอบแรกเปิดรับสมัคร ระหว่างวันที่ 1 – 7 ส.ค. 66 คาดว่าสามารถเปิดให้บริการได้วันที่ 1 ต.ค. 66 รอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 8 – 31 ส.ค. 66 คาดว่าสามารถเปิดให้บริการได้วันที่ 1 พ.ย. 66 รอบที่ 3 ระหว่างวันที่ 1-30 ก.ย. 66 คาดว่าสามารถเปิดให้บริการได้วันที่ 1 ธ.ค. 66 และรอบที่ 4 ระหว่างวันที่ 1 – 31 ต.ค. 66 คาดว่าสามารถเปิดให้บริการได้วันที่ 1 ม.ค. 67
คนไทยมีงานทำมากขึ้น เผยไตรมาส 2 เพิ่ม 6.6 แสนคน
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัวจากโควิด19 รัฐบาลได้ติดตามสถานการณ์การด้านแรงงานทั่วประเทศ ซึ่งพบว่าภาวะการมีงานทำของประชาชนได้ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ(สสช.) ได้แจ้งข้อมูลจากการสำรวจสถานการณ์การมีงานทำของคนไทย ณ ไตรมาสที่ 2(เม.ย.-มิ.ย.) ปี 66 ว่า ทั้งจำนวนผู้มีงานทำ ผู้ทำงานเต็มเวลายังอยู่ในทิศทางปรับตัวขึ้น

ทั้งนี้ พบว่าในไตรมาสที่2 จำนวนผู้มีงานทำอยู่ที่ 39.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น 6.6 แสนคน เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันของปี 65 ขณะที่ชั่วโมงการทำงานก็มากขึ้นสะท้อนถึงปริมาณงานในระบบที่มากขึ้น โดย สสช. พบว่าผู้ที่ทำงานเต็มเวลาหรือทำงาน 35-49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้นประมาณ 5.6 แสนคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 65 ส่วนผู้ที่ทำงาน 50 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้นประมาณ 3.5 แสนคน ในขณะที่ผู้ที่ทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ลดลงประมาณ 2.4 แสนคน
คลอดแล้ว! ระเบียบส่งเสริมรัฐบาล-เอกชนร่วมลงทุน นำงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ให้ความสำคัญมุ่งส่งเสริมการให้สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในกำรแข่งขันของประเทศ เพื่อช่วยเกษตรกรและชุมชน หรือเพื่อเพิ่มมูลค่ำ ทางเศรษฐกิจและสังคมนั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ระเบียบสำนักนำยกรัฐมนตรี ว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์มีผลบังคับใช้แล้ว โดยระเบียบดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(8) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบมาตรการ 31 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สถาบันวิจัย และหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจและวัตถุประสงค์ด้านการวิจัย และนวัตกรรม หน่วยงานอื่นของรัฐตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ กำหนด

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ระเบียบร่วมลงทุน ได้กำหนดวัตถุประสงค์การร่วมทุนเพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ 1) เพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ เชิงสังคม หรือเชิงสาธารณประโยชน์ 2) เพื่อสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน และ 3) เพื่อสร้างธุรกิจฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมรายใหม่ ซึ่งลักษณะโครงการร่วมลงทุน ครอบคลุม โครงการที่นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีความพร้อมไปใช้ดำเนินการ หรือเป็นโครงการที่มีอยู่แล้วและนำไปศึกษาต่อยอด หรือนำไปขยายผลให้เกิดการใช้ประโยชน์ในวงกว้าง สำหรับรูปแบบการร่วมลงทุน ระบุว่า หน่วยงานเจ้าของโครงการร่วมลงทุน สามารถร่วมลงทุนกับเอกชน 1) จัดตั้งบริษัทร่วมทุนที่เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน 2) จัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน (Holding Company) หรือ 3) จัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนใน ‘วิสาหกิจเริ่มต้น’ หรือ สตาร์ทอัพ (Startup) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ได้